นวัตกรรมการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมในองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • ไพฑูรย์ อินต๊ะขัน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

การกำจัดขยะอินทรีย์, การมีส่วนร่วม, ถังขจัดขยะ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครัวเรือนจำนวน 26 ครัวเรือนในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุผาแดง สุ่มตัวอย่างโดยวิธีเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อย

            ผลการวิจัยพบว่านวัตกรรมการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุผาแดง เป็นนวัตกรรมเชิงกระบวนการ โดยประยุกต์ใช้ถังขจัดขยะเป็นตัวขับเคลื่อน นวัตกรรมดังกล่าวประกอบด้วย (1) กระบวนการจัดเตรียมถังขจัดขยะที่ต้องเจาะรูส่วนก้นถังเพื่อให้ระบายน้ำได้ (2) กระบวนการคัดแยกขยะ ที่ต้องคัดแยกเป็นขยะอินทรีย์ ขยะบุญ และขยะอันตราย (3) กระบวนการกำจัดกลิ่นและหนอน ที่สามารถใช้ดินละเอียดหรือ แกลบดำในการลดกลิ่นและหนอน และ (4) กระบวนการในการนำปุ๋ยออกจากถังขจัดขยะ เมื่อประเมินถึงประสิทธิผลในการใช้ถังขจัดขยะในการกำจัดขยะอินทรีย์ พบว่าได้ผลเป็นอย่างดี สามารถลดปริมาณขยะอินทรีย์ได้เกือบทั้งหมด ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุผาแดงควรมีโครงการขยายผลและดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป

References

กรมควบคุมมลพิษ (2561). ถังหมักขยะอินทรีย์ เปลี่ยนขยะให้เป็นปุ๋ย. สืบค้น กุมภาพันธ์ 21, 2562, จาก http://pcd.go.th/info_serv/envi_compost.html.

กุลวดี เถนว่อง. (2554). การมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีต่อการจัดการขยะมูลฝอย ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 1(2), 71-76.

ณัชพล นิลนพคุณ เพ็ญศรี ฉิรินัง และ ศิริวัฒน์ เปลี่ยนบางยาง. (2562). แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยแบบมี

ส่วนร่วมของชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองไร่ขิง จังหวัดนครปฐม. การประชุมวิชาการราชภัฏรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 2 “การเมือง การบริหาร และสังคมในยุคดิจิทัลกับการพัฒนาที่ยั่งยืน” วันที่ 21-22 มีนาคม 2562, 408-418.

นภัทร์ แก้วนาค และ สัมพันธ์ สุกใส. (2563). ระบบการมีส่วนร่วมการจัดการขยะในชุมชนเชิงบูรณาการเขตพื้นที่ จังหวัดภาคกลาง. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(8), 89-104.

ละอองทิพย์ บุณยเกียรติ. (2556). ความสำคัญของนวัตกรรมต่อการพัฒนาองค์กร. สืบค้น กันยายน 15, 2563, จาก https://goo.gl/74w8pc

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2552). การวิจัยและการพัฒนา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 1(2), 1-12.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, พักตร์ผจร วัฒนศิลป์, อัจฉรา จันทร์ฉาย, และประกอบ คุปรัตน์. (2553). นวัตกรรม: ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการ. วารสารบริหารธุรกิจ, 33 (4), 49-65.

สุริยะ หาญพิชัย และจันทร์ฉาย จันทร์ลา. (2561). การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 12(1), 67-85.

สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชน. สืบค้น กุมภาพันธ์ 21, 2562, จาก http://www.onep.go.th

สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม.กรุงเทพฯ : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

อภิเดช สิทธิพรม และ เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธ์. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลรอบเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 8 (1), 137-149.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30