อัตลักษณ์ของชุมชนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์แบบยั่งยืนของ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
-
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์, อัตลักษณ์ของชุมชน, ความยั่งยืนบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “อัตลักษณ์ของชุมชนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์แบบยั่งยืนของอำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง” เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาอัตลักษณ์และความโดดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ในอำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ในด้านประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิตและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง มี 3 อัตลักษณ์อันโดดเด่นที่เกิดจากประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิตและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่สามารถนำมาเป็นคุณค่าเชิงลึกของท้องถิ่นเพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ได้ 3 อัตลักษณ์อันโดดเด่นนี้ประกอบไปด้วย อัตลักษณ์ที่หนึ่ง อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นพื้นที่ทางด้านประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการรบที่บ้านสระเกศของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในคราวสงครามไทย-พม่าในปี พ.ศ. 2128 จึงปรากฏหลักฐานเป็นสถานที่สำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ของอำเภอที่เกี่ยวข้องกับสงครามในครั้งนั้น คือ วัดสระเกศและวัดมหานาม อัตลักษณ์ที่สอง เทศกาลงานวัดไชโยวรวิหาร เป็นอัตลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรมที่มีความเป็นมาทางด้านประวัติศาสตร์ควบคู่กับอำเภอไชโย เพราะด้วยความศรัทธาของคนในอำเภอที่มีต่อพระมหาพุทธพิมพ์ และรูปหล่อเหมือนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ของวัดไชโยวรวิหาร อัตลักษณ์ที่สาม ชาวอำเภอไชโยมีภูมิปัญญาการถนอมอาหารประเภทเนื้อและหมู รวมไปถึงพืชผักท้องถิ่น ถือได้ว่าเป็นมรดกทางด้านภูมิปัญญาของชุมชนที่ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์ จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและของฝากที่ขึ้นชื่อของอำเภอ คือ เนื้อและหมุทุบไชโย และผลมะกรูดเชื่อมฝีมือกลุ่มแม่บ้านดงพิกุล
ส่วนแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โดยใช้อัตลักษณ์ของอำเภอไชโย มีดังนี้1) กลยุทธ์การพัฒนาพื้นที่ของอำเภอไชโย ด้วยการอนุรักษ์ฟื้นฟูตัวโบราณสถาน และสภาพแวดล้อมรอบๆ พื้นที่การจัดการภูมิทัศน์ในพื้นที่โบราณสถาน พัฒนารระบบการคมนาคม เพื่อรองรับการท่องเที่ยวชมโบราณสถานในอำเภอ เป็นต้น 2) กลยุทธ์การส่งเสริมและพัฒนาเรื่องราวที่บ่งบอกอัตลักษณ์ของอำเภอ ด้วยการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลสำหรับนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอคือ วัดไชโยวรวิหาร จัดตั้งหมู่บ้านและแหล่งเรียนรู้ผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่น เป็นต้น และ 3) กลยุทธ์สื่อสารเพื่อการตลาด ด้วยการสร้างตราสินค้าการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์อำเภอไชโยให้เป็นที่รู้จัก และใช้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ผสมผสานสื่อต่าง ๆ เป็นต้น
References
กนกณิศา ธนาโชคพิสิษฐ์ และ อลงกรณ์ อรรคแสง. (2564). รายงานการวิจัยแนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. มหาสารคาม: กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ขวัญนภา สุขคร และคณะ. (2557). ประเพณี อารยธรรมล้านนา: คุณค่าศรัทธาและความเชื่อ. แม่ฮ่องสอน:โครงการเสริมสร้างและปรับแต่งอัตลักษณ์เพื่อส่งสร้างเสน่ห์การท่องเที่ยว.
โบราณราชธานินทร์, พระยา. (2504). ระยะทางเสด็จประพาสลำแม่น้ำน้อยและลำแม่น้ำใหญ่. กรุงเทพฯ: บุญส่ง การพิมพ์.
แผ่นดิน อุ่นจะนำ. (2552). การส่งเสริมอัตลักษณ์พื้นถิ่นของกาดวัวควายทุ่งฟ้าบด เชียงใหม่ เพื่อการท่องเที่ยวชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.
พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์. (2553). การท่องเที่ยวชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์. (2534). แหล่งท่องเที่ยวเมืองอ่างทอง. อ่างทอง: ประกายพรึก.
วัชรี วัชรสินธุ์. (2551). สัดส่วนสัมพันธ์งดงาม ในงานออกแบบสถาปัตยกรรมไทย (สายสกุลช่างอยุธยา). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีรพร รอดทัศนา. (2557) การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มไทยพวน : กรณีศึกษาชุมชนเก้าห้อง อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุขเกษม ขุนทอง และวชิระ พิมพ์ทอง. (2561). พฤติกรรมการปรับตัวของมนุษย์บนฐานประวัติศาสตร์วิถีจารีตม้ง ชุมชน บ้านเจดีย์โคะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กำแพงเพชร : คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด.
สันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์. (2549). การบริหารท่องเที่ยวเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) จำกัด.
หวน พินธุพันธ์. (2514). อ่างทองของเรา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
อธิณัฏฐ์ ด่านภัทรวรวัฒน์. (2561). การใช้อัตลักษณ์ในการสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยว: กรณีศึกษาอำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Ashley C. & Roe D. (1998). Enhancing community involvement in wildlife tourism: issues and challenges. UK: International Institute for Environment and Development (IIED).
Baristic,P.andothers.(2012). The Image and Identity of Croatia as A Tourist Destination :An Exploratory Study. Enterprise Odyssey. International Conference Proceedings. Online Available at http://search.proquest.com/docview/1350307774?accountid=32082 [เข้าถึงเมื่อ 21/10/2021]
Burns G. L. & Sofield T. (2001). The host community: Social and Cultural Issues concerning wildlife tourism. Australia: CRC for sustainable Tourism Pty Ltd.
Jafari J. (2000). Encyclopedia of Tourism. London and New York: Routledge.
Timothy D. J. (2002). Tourism and Community Development Issues In Tourism and Development: Concept and Issues. R. Sharpley & D. J. Telfer, 149-164. UK: Channel View Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารลวะศรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ