การพัฒนาบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์สำหรับผลิตภัณฑ์ปลาร้า 5 วันของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปและการถนอมอาหารบ้านทุ่งสาธารณ์ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • จิราวรรณ สมหวัง -
  • อุษณี จิตติมณี
  • กิตติวัลย์ ทองอร่าม
  • ฑัชวงษ์ จุลสวัสดิ์

คำสำคัญ:

บรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์, ผลิตภัณฑ์ปลาร้า 5 วัน, กลุ่มวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปและการถนอมอาหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการรูปแบบบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์สำหรับผลิตภัณฑ์ปลาร้า 5 วันของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปและการถนอมอาหารบ้านทุ่งสาธารณ์ 2) ออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์ต้นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์ปลาร้า 5 วัน และ 3) สำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ที่มีต่อบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์ต้นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์ปลาร้า 5 วัน กลุ่มอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปและการถนอมอาหารบ้านทุ่งสาธารณ์ และเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จำนวน 22 คน โดยจัดการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึก และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณในครั้งนี้  ได้แก่ ผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ปลาร้า 5 วัน จำนวน 100 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการรูปแบบบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์ของผลิตภัณฑ์ปลาร้า 5 วันของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปและการถนอมอาหารบ้านทุ่งสาธารณ์ ได้แก่ มีความง่ายและสะดวกในการบรรจุปลาร้าลงบรรจุภัณฑ์ มีขนาดและรูปแบบที่สวยงามและดึงดูดความสนใจ มีความแข็งแรง ปกป้องสินค้าได้ดีระหว่างการจัดเก็บและการขนส่ง สามารถมองเห็นผลิตภัณฑ์ปลาร้าได้ มีความง่ายและสะดวกต่อ    ผู้ซื้อ เช่น การถือหิ้ว หรือการเปิดรับประทาน และมีต้นทุนบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม 2) การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์สำหรับผลิตภัณฑ์ปลาร้า 5 วัน มี 3 ต้นแบบ ได้แก่ แบบกล่องพลาสติก แบบถุงซีลสุญญากาศแบบใส และแบบโถเครื่องปั้นดินเผา และ 3) ผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปและการถนอมอาหารบ้านทุ่งสาธารณ์ มีความพึงพอใจในบรรจุภัณฑ์ต้นแบบของผลิตภัณฑ์ปลาร้า 5 วัน อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้บริโภคมีความ    พึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์ต้นแบบและกราฟิกฉลากบนบรรจุภัณฑ์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

จิตราพร ลีละวัฒน์. (2547). รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร : กรณีศึกษาประเภทธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ชาตรี บัวคลี่ (2561). การออกแบบและพัฒนาฉลากสินค้าด้วยกระบวนการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน. วารสารวิจิตรศิลป์, 9(2), 93 - 144.

ฐิตาวรรณ สุประพาส, ศุภานันท์ สู้ณรงค์, และณัฐกร สงคราม. (2561). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวสินเหล็กอินทรีย์ กรณีศึกษาภายใต้ยี่ห้อใหม่ หอมกรุ่นออร์แกนิคไรซ์. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 36(1), 30 - 39.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, กนกอร บุญมี, วสุธิดา นุริตมนต์, และเจนศึก โพธิศาสตร์. (2562). การพัฒนาแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ข้าวทอดกระทงทอง ตำบลตาหลวง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการรับใช้สังคม มทร. ล้านนา, 3(2), 25 – 32.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 17). นนทบุรี: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

บ้านเมืองออนไลน์. (2563). ชวนช้อปออนไลน์ “OTOP Today” ช่วยผู้ประกอบการฝ่าภัยโควิด. สืบค้น มิถุนายน 5, 2563, จาก https://www.banmuang.co.th/news/politic/194 072

ผู้จัดการออนไลน์. (2560). พัฒนาผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ เชิงสร้างสรรค์ที่มีอัตลักษณ์ของภูมิภาคสู่สากล 4.0. สืบค้น พฤษภาคม 28, 2563, จาก https://mgronline.com/onlinesection/detail/960000011 1141

มติชนออนไลน์. (2560). สพภ. เดินหน้าดึงวิสาหกิจชุมชนออกแบบบรรจุภัณฑ์ท้องถิ่นใหม่เสริมแกร่งชิงตลาด. สืบค้น พฤษภาคม 28, 2563, จาก https://www.matichon.co.th/pu blicize/news_667332

ศรัญญ์ทิตา ชนะชัยภูวพัฒน์. (2562). บรรจุภัณฑ์ ตราสัญลักษณ์ และแผนกลยุทธ์การสื่อสารปลาสลิดบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 11(3), 250 - 269.

สถาบันพลาสติก. (2556). รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อรองรับการขยายตัวในภูมิภาคอาเซียน. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม

อุษา ทรงหอม. (2563, มีนาคม 12). ประธานกลุ่มกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปและการถนอมอาหารบ้านทุ่งสาธารณ์. สัมภาษณ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-27