ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ของอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
การจัดทำบัญชี, ร้านค้าปลีก, บัญชีแบบดั้งเดิมบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีของร้านค้าปลีก แบบดั้งเดิมของอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมของอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมของ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 240 ร้านค้า ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมของอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.80, S.D.=1.16) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีร้านค้า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (=3.85, S.D.=1.20) ด้านข้อมูลในการจัดทำบัญชีร้านค้าและรูปแบบการจัดทำบัญชี อยู่ในระดับมาก (=3.81, S.D.=1.16) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีร้านค้า อยู่ในระดับมาก (=3.74, S.D.=1.11) 2) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม พบว่า กลุ่มร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม มีการบันทึกบัญชีที่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้ไม่ทราบถึงรายได้และค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่แท้จริง อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีร้านค้า แบบดั้งเดิม ควรมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หรือบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีร้านค้าที่ถูกต้อง ตลอดจนมีการดูแลติดตามผลและให้คำปรึกษาการจัดทำบัญชีร้านค้า หรือจัดให้มีการอบรมเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีร้านค้าให้กับกลุ่มร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพฯ :ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชลกนก โฆษิตคณิน, ชนิดาภา ดีสุขอนันต์ และวรเทพ ตรีวิจิตร. (2560). ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาการจัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครปฐม. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(3), 2138 - 2151.
ชลลดา เหมะธุลิน, นฤมล ชินวงศ์ และยุทธนา จันทร์ปิตุ. (2561). ปัญหาในการจัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ประเภทจักสาน ในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 8(1), 51 – 57.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
นิรมล จำนงศรี. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของงานการเงินและบัญชี คณะสาธารณสุขศาตร์. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 5(4), 112 – 120.
นภาพร อุดมลาภ. (2563). ความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง, 10 (1), 238 – 252.
พิมพ์พิศา วรรณวิจิตร และปวีนา กองจันทร์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ,10(3), 1926 - 1942.
ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา (Education Research). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์. สืบค้น 18 กันยายน 2564, จาก http://autolib.rmutl.ac.th/catalog/BibItem.aspx?BibID
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และประยุทธ ชูสอน (2557). ภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัฒน์ : แนวคิดและการวิจัย พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานเทศบาลนครพิษณุโลก. (2564). จำนวนร้านค้าปลีก (ร้านขายของชำ) ที่จดทะเบียนพานิชย์ในอำเภอเมือง ในปี พ.ศ. 2564. สืบค้น สิงหาคม 10, 2564, จาก http://phitsanulok.nso.go.th.
ไฮดา สุดินปรีดา. (2563). ปัญหาและอุปสรรคของผู้จัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชนในอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. หน้า 1735 – 1745.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารลวะศรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ