ผลตอบแทนทางสังคมจากการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจชุมชนเพื่อส่งเสริม การท่องเที่ยวเชิงกีฬาในการจัดงานวิ่งจอมบึงมาราธอน กรณีศึกษา ศูนย์การเรียนรู้อยู่เย็นเป็นสุข วิถีไทยรามัญ

ผู้แต่ง

  • ทัศนีย์ นาคเสนีย์ -
  • รุจิรา แสงแข
  • อมรพิมล พิทักษ์

คำสำคัญ:

ผลตอบแทนทางสังคม , การท่องเที่ยวเชิงกีฬา, จอมบึงมาราธอน, การดำเนินการธุรกิจวิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินธุรกิจของศูนย์การเรียนรู้อยู่เย็นเป็นสุขที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในการจัดงานวิ่งจอมบึงมาราธอน และ 2) วิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของศูนย์การเรียนรู้อยู่เย็นเป็นสุข เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะจงและสุ่มแบบลูกบอลหิมะ (Snowball) เพื่อค้นหาข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนสีย จำนวน 21 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) กึ่งโครงสร้างและการประชุมกลุ่มย่อย ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินธุรกิจของศูนย์การเรียนรู้อยู่เย็นเป็นสุข มี 9 องค์ประกอบ คือ 1) ลูกค้า  2) บริการ 3) ทุน 4) แรงงานในชุมชน  5) สินค้าชุมชน 6) องค์ความรู้ 7) เครือข่าย 8) สื่อสังคมออนไลน์และการตลาด  และ 9) ตราสินค้าของศูนย์ ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม (SROI) เป็นผลบวกมีค่าเท่ากับ 6.73 หมายความว่า เงินมูลค่า 1 บาทจากการดำเนินงานของศูนย์ฯ ได้ทำประโยชน์ให้กับสังคมเท่ากับ 6.73 บาท และจากการดำเนินธุรกิจของศูนย์การเรียนรู้อยู่เย็นเป็นสุขได้ก่อให้เกิดผลตอบแทนทางสังคมรวม 838,114.11 บาท ซึ่งเป็นผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจมากที่สุด รองลงมาคือ ผลตอบแทนด้านสิ่งแวดล้อมและผลตอบแทนด้านสังคม ตามลำดับ

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). หวงโซอุปทาน (Supply Chain) ของการทองเที่ยวเชิงกีฬา รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการพัฒนารูปแบบทางธุรกิจของการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของไทย (Sports Tourism) ประจำปี 2560. หน้า 23-24.

จอมบึงมาราธอน. (2564). สสส. จอมบึงมาราธอน ครั้งที่ 36, สืบค้น มีนาคม 2, 2564. จาก.https://www. facebook.com/chombuengmarathon.

จิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2562). การประชุมวิ่งมาราธอนระดับโลกครั้งที่ 1 ” เชียงราย โกลบอล รันนิ่ง ซัมมิท 2019“ (Chiang Rai Global Running Summit 2019).กรุงเทพฯ : บริษัท มูฟเอเชีย จำกัด.เอกสารประกอบการประชุม.

ดวงรัตน์ ประจักษ์ศิลป์ไทย. (2561). วิสาหกิจเพื่อสังคม. สืบค้น มีนาคม 2, 2564 จากhttps://library2.parliament. go.th/ebook /content-issue/2558/hi2558-010.pdf.

ถนอมศักดิ์ ศรีจันทรา. (2562). การประเมินผลลัพธ์และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนสำหรับงานบริการวิชาการแก่ชุมชน กรณีศึกษาโครงการสร้างองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมวิชาชีพแก่ชุมชน : การนวดเพื่อสุขภาพจังหวัดนครนายกและจังหวัดสระแก้ว. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 17(2), 118-125.

ทัศนีย์ นาคเสนีย์. (2564). นวัตกรรมเทคโนโลยีแพลตฟอร์มเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจเชิงแบ่งปันในการจัดกิจกรรมงานวิ่งจอมบึงมาราธอน. ราชบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. ราชภัฏจอมบึงวิจัย ครั้งที่ 10.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ : บริษัท วี.อินเตอร์ พริ้นท์.

พรพิมล อริยะวงษ์. (2564). การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) เพื่อสร้างความยั่งยืนของกลุ่มทอผ้ากี่กระตุกไหล่หินตะวันตก อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 10(2), 147-166.

ไพโรจน์ เสาน่วม. (2562). การประชุมวิ่งมาราธอนระดับโลกครั้งที่ 1 “เชียงราย โกลบอล รันนิ่ง ซัมมิท 2019” (Chiang Rai Global Running Summit 2019).กรุงเทพฯ : บริษัท มูฟเอเชีย จำกัด.เอกสารประกอบการประชุม.

วัชนีพร เศรษฐสักโก (2563). ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน : กรณีศึกษาโรงแรมรักษ์สิ่งแวดล้อมในประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี. 16(50) ,5-22.

สัจจา ไกรศรรัตน์ และคณะ. (2562). การพัฒนาต้นแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในกลุ่มกิจกรรม มวยไทย ปั่นจักรยาน และวิ่ง (Fight Ride Run) สู่การท่องเที่ยวดิจิทัลของประเทศไทย (ปีที่ 1). สำนักงานสนับสนุนกองทุนวิจัย.

สัจจา ไกรศรรัตน์ และคณะ. (2563). รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยว เชิงกีฬาเพื่อพัฒนา เศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจกรรมการวิ่งบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่น. สำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.).

Getz, D., & Carlsen, J. (2005). Family business in tourism : State of the art. Annals of tourism research, 32(1), 237-258.

Saito, O., & Ryu, H. (2020). What and How Are We Sharing? The Academic Landscape of the

Sharing Paradigm and Practices: Objectives and Organization of the Book. In Sharing Ecosystem Services (pp. 1-19). Springer, Singapore.

Social Value Thailand. (2563). SROI Practitioner Workshop. เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตร SROI for Strategic Social Value Integration towards Competitiveness and Sustainability. ระหว่างวันที่ 29-30 ตุลาคม 2563

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-27