การพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านกองแหะ ตำบลโป่งแยก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ผลิตภัณฑ์ชุมชน, เทคโนโลยีสารสนเทศ, กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านกองแหะบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาวการณ์และความต้องการใช้งานเทคโนโลยี และนวัตกรรมดิจิทัลของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนบ้านกองแหะ และ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมศักยภาพ การแข่งขันทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนบ้านกองแหะ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนบ้านกองแหะในเขตพื้นที่ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ในการใช้งานระบบรูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันทางการตลาด โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ผู้นำชุมชน และสมาชิกในชุมชน จำนวน 50 คน โดยการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนบ้านกองแหะ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและการทำธุรกิจออนไลน์อยู่ระดับน้อย ใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลทางด้านธุรกิจ และใช้เฟซบุ๊กและไลน์ในการติดต่อสื่อสารแต่ยังไม่สามารถเพิ่มยอดขาย ทางธุรกิจได้ จึงมีความต้องการ 3 ด้าน ได้แก่ 1.1) ด้านผู้ส่งสารหรือผู้ประกอบการ ต้องการการพัฒนารูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์และการตลาดออนไลน์ 1.2) ด้านเนื้อหาสาร (กลยุทธ์การสื่อสารและการตลาด) และ 1.3) ด้านช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม ได้แก่ เว็บไซต์และรูปแบบการสื่อสารออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์ โดยใช้ภาษาพีเอชพี (PHP) และระบบฐานข้อมูล MySQL เป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาระบบที่สามารถดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานเพื่อช่วยในการจัดการตรวจสอบสินค้าลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลและความผิดพลาดในการจัดเก็บข้อมูลสินค้า 2) รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการโดยใช้ เฟซบุ๊กและ ทวิตเตอร์เพื่อเพิ่มช่องทางที่หลากหลายในการประชาสัมพันธ์ และ 3) การประเมินความพึงพอใจของวิสาหกิจชุมชน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.88)
References
กนกวรรณ ไทยประดิษฐ และ กรวินท์ เขมะพันธุ์มนัส. (2563). รูปแบบการตลาดออนไลน์บนเครื่องมือเครือข่ายสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก) สำหรับวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าทอนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง. BU Academic Review.19(1).155-172
กมลวรรณ กาศลุน. (2560). กลยุทธ์การสร้างตราอินเทอร์เน็ตสำหรับเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์.วารสารวิจัย มสด. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10(1).77-96.
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559).แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ
โกสินทร์ ชําานาญพล. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายการตลาดวิสาหกิจชุมชน ท่องเที่ยวไทยเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ศิลปากร).
กิตติสิริ พัลลภ. (2543). การตลาดอิเล็กทรอนิกส์. วารสารบริหารธุรกิจ. 23(87 ).43-56.
ทัศนา หงษ์มา. (2555). รายงานการวิจัย เรื่อง ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้า OTOP ที่ผลิตโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพ.
ธนาคารไทยพาณิชย์. (2562). SME ทำธุรกิจออนไลน์ รู้ไว้! คนไทยใช้โซเชียลเวลาไหน. สืบค้น สิงหาคม 12, 2565 จาก https://scbsme.scb.co.th/sme-inspiration-detail/Socail_Media.
นภณต์ คุณะนิติสาร. (2562). WEB DESIGN. สืบค้น สิงหาคม 13, 2565 จากhttp://www.ict.up.ac.th/ thammaratt/data/uploads/webtechWEB-DESIGN.pdf
นิอาอีดา นราพิทักษ์กุล. (2559). องค์ประกอบของเว็บไซต์ที่มีผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าผ่านการสร้างความพึงพอใจของลูกค้า:กรณีเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบธุรกิจสู่ผู้บริโภคในประเทศไทย.วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ(JISB).2(1).15-31.
สำนักงานวิจัยแห่งชาติ(2560). สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.(2565). โอกาสและผลกระทบของ OTOP กับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC). สืบค้น สิงหาคม 13, 2565 จากhttp://www.sme.go.th/ Lists/EditorInput/DispF.aspx?List=15dca7fb-bf2e-464e-97e5-440321040570&ID=1760
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological(3rd ed.). New York: Harper and Row.
Delone, W. H., & Mclean, E. R. (2003). The DeLone and McLean model of information system
success: a ten-year update. Journal of management information system. 19(4).9-30.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). DeterminingSample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.v.30, pp. 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารลวะศรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ