การพัฒนาระบบสนับสนุนทางการตลาดเพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า กรณีศึกษา กลุ่มผ้าทอมือปกาเกอะญอ บ้านป่าตึงงาม ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ชัยวิชิต ไพรินทราภา -

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, ระบบสนับสนุนการตลาด, ผ้าทอมือกะเหรี่ยง

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการระบบสนับสนุนทางการตลาดเพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า กลุ่มผ้าทอมือปกาเกอะญอ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบสนับสนุนทางการตลาดเพื่อเพิ่มช่องทาง  การจำหน่ายสินค้า กลุ่มผ้าทอมือปกาเกอะญอ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ระบบสนับสนุนทางการตลาดเพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า กลุ่มผ้าทอมือปกาเกอะญอ และแบบสอบถามเพื่อประเมินประสิทธิภาพระบบสนับสนุนทางการตลาดเพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า กลุ่มผ้าทอมือปกาเกอะญอ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้ใช้งานระบบจำนวน 50 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental simple) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การพัฒนาระบบใช้วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (System Develop Life Cycle : SDLC) ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอนได้แก่ 1) การกำหนดความต้องการของระบบ 2) การวิเคราะห์ระบบ 3)การออกแบบระบบ 4) การพัฒนาระบบ 5) การทดสอบระบบ และ 6) การติดตั้งระบบ (Deployment) ระบบสนับสนุนทางการตลาดเพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า กลุ่มผ้าทอมือปกาเกอะญอ       สร้างโดยซอฟต์แวร์เวิร์ดเพรสส์ (WordPress)  ที่เขียนด้วยภาษา PHP ติดต่อฐานข้อมูล MySQL และการประเมินประสิทธิภาพของระบบ ใช้แบบสอบถามที่ประยุกต์จากทฤษฎีความสำเร็จของระบบสารสนเทศ (Information System Success Model) ของ Delone และ McLean โดยใช้ปัจจัย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณภาพสารสนเทศ (information quality) 2) ด้านคุณภาพระบบ (system quality) 3) ด้านคุณภาพบริการ (service quality) และ      4) ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้ (user satisfaction)

            ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของระบบสนับสนุนทางการตลาดเพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า กลุ่มผ้าทอมือปกาเกอะญอ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.51) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.61)  ด้านคุณภาพการบริการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.53) ด้านคุณภาพสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}=4.51)  และด้านคุณภาพระบบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.44)

References

กนกวรรณ ไทยประดิษฐ และ กรวินท์ เขมะพันธุ์มนัส. (2563). รูปแบบการตลาดออนไลน์บนเครื่องมือเครือข่ายสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก) สำหรับวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าทอนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง. BU Academic Review.19(1).155-172

เกษม ตริตระการ, อมลณัฐ โชติกิจนุสรณ์, บุญญาพร บุญชัย, นิศากร เถาสมบัติ, เนตรนภา แซ่ตั้ง.(2561). การพัฒนาและศึกษาผลการใช้ระบบบริหารจัดการสารสนเทศและเครื่องมือออนไลน์สำหรับศูนย์วิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์.18(2).158-174

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2562). วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC). สืบค้น กันยายน 12, 2565 จาก https://dol.dip.go.th/th/category/2019-02-08-08-57-30/2019-03-15-11-06-29

ชลิดา จันทจิรโกวิท และศรีนวล ฟองมณี. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อขายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในเขตเทศบาลตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. ประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 9 วันที่ี่ 20 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2561.

นิสรา กิตติวงษ์กำจร. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าออนไลน์ : กรณีศึกษาเว็บไซต์ลาซาด้า.ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกรกิจมหาบัณฑิต สำหรับผู้บริหาร มหาวิทยาลัยบูรพา

ณรงค์ ล่ำดี. (2561).การพัฒนาระบบติดตามความก้าวหน้างานวิจัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี(วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี).2(1).33-43.

ณัฐธยาน หนูหลง. (2560). การประเมินความสำเร็จตามแนวทางของ DeLone and McLean กรณีศึกษา : ระบบลงทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. ปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ณิชนันทน์ จงใจสิทธิ์ และวัชรีภรณ์ ดีสุทธิ.(2564). การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ OTOP อำเภอผาขาว จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย .16(57).100-109

วัชระ เวชประสิทธิ์, ฐานิดา สุริยะวงศ์, ชนิดาภา อาษาบาล, มณฑนา สมพงษ์, อารยา จงใจรักษ์.(2564). คุณภาพการบริการทางอเล็กทรอนิกส์ของผู้จำหน่ายสินค้าออนไลน์ที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าในจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.11(1).115-123

วิไลรัตน์ ยาทองไชย.(2562). การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis). สืบค้น กันยายน 12, 2565 จาก http://blog.bru.ac.th/document/

สุริยา ภูศรี. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการระบบแจ้งซ่อมบำรุงวัสดุ-ครุภัณฑ์ออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. สืบค้น กันยายน 13, 2565 จากhttp://cms.dru.ac.th/jspui/bitstream/ 123456789/1687/6/Unit%202.pdf

อัจฉราพรรณ ภิรมย์กิจ และอุษณา แจ้งคล้อย. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ e-LAAS มาใช้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.วารสารวิจัย มข. มส. (บศ.), 3 (2), 52-64

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2560). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (Systems Analysis and Design) (ฉบับ

ปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น

Delone, W. H., & Mclean, E. R. (2003). The DeLone and McLean model of information system success: a ten-year update. Journal of management information system. 19(4).9-30. Likert, Rensis. 1967. “The Method of Constructing and Attitude Scale”, Reading in Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Matin, Ed. New York : Wiley & Son.90-95.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessmentof criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research,2, 49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-08 — Updated on 2023-01-04

Versions