พฤติกรรมการออมของพนักงานฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

ผู้แต่ง

  • กนกลักษณ์ วิลเลียมส์ -
  • บรรดิษฐ พระประทานพร

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการออม, การส่งเสริมการออม, พนักงานฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายวิชาการ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของพนักงานฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และ 2) พฤติกรรมการออมของพนักงานฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 350 ราย โดยคำนวณจากสูตรทาโร่ ยามาเน่ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ พนักงานมหาวิทยาลัยฝ่ายสนับสนุน จำนวน 245 คน คิดเป็นร้อยละ 70.0 และฝ่ายวิชาการ จำนวน 105 คน คิดเป็นร้อยละ 30.0 ด้วยการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของพนักงานมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชฝ่ายสนับสนุน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 21-30 ปี สถานภาพโสด จบการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี อยู่ในตำแหน่งระดับปฏิบัติการ/ ปฏิบัติงาน สังกัดสำนักงานอธิการบดี อายุงาน 1 – 5 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท สำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยฝ่ายวิชาการ ส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ อายุงาน 1 – 5 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,000 – 40,000 บาท และ 2) พฤติกรรมการออมของพนักงานฝ่ายสนับสนุนโดยส่วนใหญ่ จะมีการออมทั้งสถาบันการเงิน และรูปแบบอื่น ๆ โดยเงินออมที่คาดว่าจะออม        อยู่ระหว่าง 1,001-5,000 บาทต่อเดือน และเป้าหมายในการออม เพื่อใช้เป็นแหล่งเงินทุนในอนาคต และใช้จ่าย   ในยามชรา/ เจ็บป่วย สำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยฝ่ายวิชาการ รูปแบบการออมเป็นการออมทั้งในสถาบันการเงิน และรูปแบบอื่น ๆ ทั้งนี้ จากผลการวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยคิดว่าควรให้ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลการออม รูปแบบการออมที่มีความหลากหลายให้มากขึ้น และควรส่งเสริมให้พนักงานมหาวิทยาลัยมีรายได้จากช่องทางอื่น ๆ เพิ่มขึ้น โดยอาจให้หน่วยงานภายนอกมาให้ความรู้ในการพัฒนาทักษะอาชีพด้านต่าง ๆ

References

กฤตภาส เลิศสงคราม. (2555). พฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีผลต่อการออมของพนักงานบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์. สารนิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ลำไพร พ้นทุกข์. (2556). พฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีผลต่อการออมของเจ้าหน้าที่เทศบาลในเขตอำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สกุณา หวังเอียด. (2558). พฤติกรรมการอมเพื่อเตรียมตัวในการใช้ชีวิตหลังเกษียณของประชาชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สิรินดา กลิ่นจันทร์หอม. (2555). พฤติกรรมการออมเงินของนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การออมภาคครัวเรือนของไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2559 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2564, จาก : http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขารายได้/การออมภาคครัวเรือน/ไตรมาส_4_2559.pdf

อนงนาฏ ศุภกิจวณิชกุล และประสพชัย พสุนนท์. (2559). การเปรียบเทียบพฤติกรรมการออมกับการบริหารการเงินก่อนเกษียณอายุกรณีศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Silpakorn University, 9(2), 375.

Likert, R.N. (1970). A technique for the measurement of attitude. Attitude Measurement. Chicago : Ronal McNally & Company.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3th edition). New York : Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30