This is an outdated version published on 2023-06-30. Read the most recent version.

อิทธิพลของปัจจัยองค์ประกอบผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์สื่อสารการตลาดผ่านเฟซบุ๊ก ที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการชำระสินค้าผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • อมลวรรณ กรณ์ปรีชาวงศ์ -
  • ฑัตษภร ศรีสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยองค์ประกอบผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์สื่อสารการตลาดผ่านเฟซบุ๊ก และความเชื่อมั่นในการชำระค่าสินค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยองค์ประกอบผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์สื่อสารการตลาดผ่านเฟซบุ๊กที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการชำระค่าสินค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ได้จากการสุ่มแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและสถิติวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ

          ผลการวิจัย พบว่า ระดับความสำคัญของปัจจัยองค์ประกอบผลิตภัณฑ์  ได้แก่ ด้านศักยภาพของผลิตภัณฑ์มีค่ามากที่สุด รองลงมา คือ ด้านรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ ด้านผลิตภัณฑ์ควบ ด้านผลิตภัณฑ์หลัก และด้านผลิตภัณฑ์ที่คาดหวัง ตามลำดับ ระดับความสำคัญของกลยุทธ์สื่อสารการตลาดผ่านเฟซบุ๊ก ได้แก่ ด้านการไลฟ์สดมีค่ามากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการโฆษณา และด้านการขายโดยใช้ตัวบุคคลด้วยวิธีการไลฟ์สด ตามลำดับ และระดับความสำคัญของความเชื่อมั่นในการชำระค่าสินค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ด้านทัศนคติในการใช้งานมีค่ามากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการรับรู้และเข้าใจประโยชน์จากการใช้งาน และ ด้านการรับรู้และเข้าใจความง่ายในการใช้งาน ตามลำดับ

          ปัจจัยองค์ประกอบผลิตภัณฑ์มีผลต่อความเชื่อมั่นในการชำระค่าสินค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์          ของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง มีอำนาจในการทำนายผลความเชื่อมั่นในการชำระสินค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็นร้อยละ 28.30 ( R2= .283) โดยปัจจัยองค์ประกอบผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อความเชื่อมั่น คือ ด้านผลิตภัณฑ์ที่คาดหวัง ด้านศักยภาพของผลิตภัณฑ์ ด้านผลิตภัณฑ์หลัก ด้านผลิตภัณฑ์ควบ  กลยุทธ์สื่อสารการตลาดผ่าน       เฟซบุ๊กมีผลต่อความเชื่อมั่นในการชำระค่าสินค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง มีอำนาจในการทำนายผลความเชื่อมั่นในการชำระสินค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์คิดเป็นร้อยละ 46.30 ( R2= .463)

            โดยกลยุทธ์สื่อสารการตลาดผ่านเฟซบุ๊กมีผลต่อความเชื่อมั่น คือ ด้านการขายโดยใช้ตัวบุคคลผ่านช่องทางเฟซบุ๊กด้วยวิธีการไลฟ์สด ด้านการไลฟ์สด ด้านการประชาสัมพันธ์ผ่านเฟซบุ๊ก และด้านการโฆษณาผ่านเฟซบุ๊ก

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). เปิด 4 โมเดลใหม่พัฒนาเศรษฐกิจ ดึงไทยพ้นกับดัก. สืบค้น มิถุนายน 9, 2564 จาก http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/711494,2564.

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562) e-Commerce ซื้อขายปลอดภัย ไม่โดนลวง. สืบค้น สิงหาคม2, 2565 จาก https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/knowledge-sharing/articles/IFBL/ e-Commerce.aspx.

____________________________. (2565). Thailand Internet User Behavior 2022 รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2565. สืบค้น สิงหาคม2, 2565 จากhttps://www.etda.or.th/getattachment/78750426-4a58-4c36-85d3-d1c11c3db1f3/IUB-65-Final.pdf.aspx.

จุดารัตน์ ฟีสันเทียะและสุรเสกข์ พงษ์หาญยุทธ. (2561).พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าผ่านทางไลฟ์ สดบนเว็บไซต์ออนไลน์เฟสบุค. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จีรพัฒน์ พิชัยกมลศิลป์. (2563).การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์และความไว้วางใจที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรองเท้าผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊คไลฟ์ของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ. (2544). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ; เหรียญบุญการพิมพ์.

ชลลดา มงคลวนิช. (2563). ปัจจัยความเชื่อมั่นที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของเยาวชนไทย. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ. 27(2), 189-214.

นันทภัค แต่รุ่งเรือง. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นในการใช้แอปพลิเคชัน KMA ของลูกค้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัสพล เฉลิมบงกช .(2564). การตัดสินใจซื้อของสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์เสริมความงามในกลุ่มลูกค้าผู้หญิงที่ซื้อสินค้าออนไลน์กรณีศึกษา Central Online .สารนิพนธ์.การศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

มาลินี คำเครือ. (2562). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าโอทอป ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 6(1), 1–8.

วฤตดา วรอาคม. (2552) . FACEBOOK ทำตลาดได้จริง? Positioning Magazine Online. สืบค้น มิถุนายน 12, 2565 จาก http://www.positioningmag.com/content/facebook-.

วริสรา วรยศ (2562). การรับรู้และพฤติกรรมการใช้บริการ KTB Netbank ของลูกค้าในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

วิไลภรณ์ สำเภาทอง. (2561). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์และการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจผลิตภัณฑ์เวชสำอาง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศศิวิภา หาสุข. (2556). การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับช่าวกีฬาและความคิดเห็นด้านปัจจัยที่มีต่อการติดตามข่าวกีฬาผ่านสังคมออนไลน์ เพื่อหาแนวทางการพัฒนางานประชาสัมพันธ์ทางสื่อ ออนไลน์ ของแกรมมี่ สปอร์ต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

สิทธาวุฒิ ขุนมธุรส ธัมมะทินนา ศรีสุพรรณ และประสิทธิชัย นรากรณ์. (2564). ส่วนประสมทางการตลาดบริการและการรับรู้คุณภาพบริการที่ส่งผลต่อการสื่อสารแบบปากต่อปากของผู้ใช้บริการที่พักให้เช่าในอำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2564. หน้า 445-467.

สำนักงานสถิติจังหวัดลำปาง. (2564). ข้อมูลประชากรจังหวัดลำปาง. สืบค้น สิงหาคม 2, 2565 จากhttp://www.oic.go.th/INFOCENTER4/401/

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3d ed. New York: John Wiley and Sons Inc.

Kotler P. (2003). Marketing management. 11th Edition. Prentice-Hall. Upper Saddle River.

Kotler, Philip and Keller, Kevin Lane (2006). Marketing Management. 12th ed. New Jersey: Prentice-Hall.

Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”, Reading in Attitude Theory and Measurement. P.90-95. Fishbeic, Matin, Ed. New York: Wiley & Son.

Marketing Oops. (2559). DIGITAL IN AILAND. Retrieved June 30, 2022, from https://www. marketingoops.com/reports/research/thai-digital-in-2016/

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research. Journal of Marketing, 49, pp. 41 - 50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

Versions