พฤติกรรมของผู้บริโภคและกลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการใช้บริการร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ประเภทร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อร่าม เขตคาม วิทยาลัยสหวิทยาการ, มหาวิทยาลัยเนชั่น
  • ฑัตษภร ศรีสุข วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเนชั่น
  • นภสินธุ์ พรมวิเศษ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเนชั่น

คำสำคัญ:

พฤติกรรมของผู้บริโภค, กลยุทธ์การตลาด, ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ประเภทร้านสะดวกซื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการใช้บริการร้านค้าปลีกสมัยใหม่ประเภทร้านสะดวกซื้อ ศึกษากลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการใช้บริการร้านค้าปลีกสมัยใหม่ประเภทร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น และศึกษาแนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมต่อการตอบสนองโดยตรงกับพฤติกรรมผู้บริโภคและเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันในกลุ่มธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่ประเภทร้านสะดวกซื้อในจังหวัดขอนแก่น ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล 400 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านค้าปลีกสมัยใหม่ประเภทร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อในร้านสะดวกซื้อ จำนวนครั้งที่เข้าใช้บริการร้านสะดวกซื้อ ผลการศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดที่ส่งผลต่อการใช้บริการร้านค้าปลีกสมัยใหม่ประเภทร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น พบว่า ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านค้าปลีกสมัยใหม่ประเภทร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ ด้านการสื่อสารกับผู้บริโภค ด้านความสะดวกในการซื้อ และด้านความต้องการของผู้บริโภค ตามลำดับ ควรให้ความสำคัญต่อการอำนวยความสะดวกเพราะมีผลต่อการตัดสินใจเข้าใช้บริการในร้านสะดวกซื้อมากที่สุด และวิธีการสื่อสารที่เหมาะสมกับผู้บริโภคจะสามารถโน้มน้าวการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้มากขึ้น ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมต่อการตอบสนองได้ตรงกับพฤติกรรมผู้บริโภคและเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันในกลุ่มธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่ประเภทร้านสะดวกซื้อในจังหวัดขอนแก่น พบว่า กลยุทธ์การตลาดทั้ง 4 ด้านตอบสนองได้ตรงกับพฤติกรรมผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น คือ ด้านความสะดวกในการซื้อตอบสนองพฤติกรรมที่มุ่งเน้นความสะดวกสบาย ด้านความต้องการของผู้บริโภคตอบสนองพฤติกรรมที่เน้นได้รับการตอบสนองตรงความต้องการ ด้านต้นทุนของผู้บริโภคตอบสนองพฤติกรรมที่มีค่าใช้จ่ายเหมาะสมกับระดับค่าครองชีพ และด้านการสื่อสารกับผู้บริโภคตอบสนองพฤติกรรมตัดสินใจซื้อเมื่อถูก  โน้มน้าวผ่านการสื่อสารที่เข้าถึงตัวผู้บริโภค

คำสำคัญ: พฤติกรรมของผู้บริโภค, กลยุทธ์การตลาด, ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ประเภทร้านสะดวกซื้อ

References

กนกวรรณ หงส์เอี่ยม. (2563). ศึกษาพฤติกรรมซี้อสินค้าที่ส่งผลต่อส่วนประสมการตลาดของร้านสะดวกซื้อในอำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์. (2561). ปิดปมทำไมค้าปลีกไชด์เล็กเป็นดาวรุ่งคาปลีกไทย?พร้อมถอดกลยุทธ์ 5 ร้านสะดวกซื้อ. สืบค้นจาก https://today.line.me. เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2565. เข้าถึงโดยhttps://today.line.me/th/v2/article/5JKlnE.

ชาญวิทย์ ดูเรืองรัมย์ และดนัยพงศ์ เชษฐโชติศักดิ. (2565). กลยุทธ์การตลาดร้านค้าปลีกและค้าส่งห้างหุ้นส่วนจำกัดกวงฮง อำเภอเจริญศิลป์จังหวัดสกลนคร. Journal of Modern Learning Development. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2565. หน้า 97-111.

ฐิติเมธ โภคชัย. (2564). เลือกลงทุนแบบไหน เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคหลัง COVID-19 ไม่เหมือนเดิม. ฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ลงทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.setinvestnow.com. เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2565.

ณฐมน กัสปะ. (2564). ส่วนประสมทางการตลาด 4C’s ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (เฟสบุ๊ค) ของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (11) (1). มกราคม – เมษายน 2564. หน้า 100-114.

นรินทร์ ตันไพบูลย์. (2564). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2564-2566: ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่. สืบค้นจาก https://www.krungsri.comg. เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2565.

มาริสา ชนมานะวัตร. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผักและผลไม้สดของผู้บริโภคในระบบสายโซ่ความเย็น (Cold Chain) จากร้านค้าปลีกสมัยใหม่. สารนิพนธ์ ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศูนย์วิจัยกสิกร. (2564). ค้าปลีกโค้งสุดท้ายปี’ 64 ส่งสัญญาณฟื้นตัวแต่กำลังซื้อยังเปราะบาง. สืบค้นจากhttps://moneyandbanking.co.th. เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2565.

สำนักบริหารการทะเบียน. (2564). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. สืบค้นใน https://www.bora.dopa.go.th/. เมื่อวันที่เมื่อ 6 พฤษภาคม 2565.

สิรภัทร พุตติ. (2562). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านค้าปลีกสมัยใหม่ของประชาชน ในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2546). พฤติกรรมผบู้ริโภค. กรุงเทพฯ : โรงพิมพว์สิิทธ์ิวัฒนา.

อัญชลี เยาวราช. (2562). ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีก รูปแบบโมเดิร์นเทรดของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. (21) (1), มกราคม-มิถุนายน 2562.

อัญชลี เยาวราช. (2564). กลยุทธ์การตลาดในมุมมองของลูกค้า(4C’s) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของผู้บริโภค ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). (11) (3), กันยายน-ธันวาคม 2564. หน้า 163-175.

Kotler, P. (2000). Marketing management: Analyzing consumer marketing and Buyer behavior (The Millennium). New Jersey: Prentice Hall.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2014). “Principles of marketing (15th ed.)”. New Jersey: Prentice Hall.

Kotler and Keller (2016). Marketing management. 15th Edition. New Jersey: Prentice Hall.

Lauterborn, B. (1990). New Marketing litany; Four Ps passe; C-words take over. Advertising Age,61(41), 26.

Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York. Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31