ปัจจัยห่วงโซ่คุณค่าของงานบริการด้านการบินที่ส่งผลต่อความคาดหวังของผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย ในระยะฟื้นตัวหลังวิกฤติโรคโควิด-19

ผู้แต่ง

  • นิวัฒน์ ธานินทราวัฒน์ คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
  • ฑัตษภร ศรีสุข คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น

คำสำคัญ:

ห่วงโซ่คุณค่า, บริการด้านการบิน, สายการบินต้นทุนต่ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยกิจกรรมหลักในห่วงโซ่คุณค่าของงานบริการด้านการบิน ศึกษาระดับความคาดหวังของผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย และศึกษาปัจจัยกิจกรรมหลักในห่วงโซ่คุณค่าของงานบริการด้านการบินที่ส่งผลต่อความคาดหวังของผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย ในระยะฟื้นตัวหลังวิกฤติโรคโควิด-19 ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ที่ได้จากวิธีสุ่มแบบบังเอิญ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและสถิติวิเคราะห์ถดถอย ผลการวิจัย พบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 20-30 ปี การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี เป็นนักศึกษา รายได้ไม่เกิน 10,000 บาท มีวัตถุประสงค์การเดินทางเพื่อท่องเที่ยว ความคิดเห็นต่อปัจจัยกิจกรรมหลักในห่วงโซ่คุณค่างานบริการด้านการบินของสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย โดยรวมมีค่าระดับมาก ด้านที่มีค่าจากมากไปน้อย ได้แก่ บริการที่ตอบสนองลูกค้า ส่งมอบคุณค่างานบริการ การตลาดและการขาย ความพร้อมปฏิบัติการ และปัจจัยนำเข้าในงานบริการ ตามลำดับ ความคิดเห็นต่อความคาดหวังของผู้ใช้บริการ โดยรวมมีค่าระดับมากที่สุด ลำดับค่าจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความปลอดภัย ด้านความสะดวก ด้านประสิทธิภาพของระบบเทคโนโลยี และด้านความรวดเร็ว ผลทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยกิจกรรมหลักในห่วงโซ่คุณค่างานบริการด้านการบินทุกด้านส่งต่อความคาดหวังของผู้ใช้บริการ ร้อยละ 79 ส่งผลมากสุดคือ บริการที่ตอบสนองลูกค้า รองลงมาคือ การตลาดและการขาย ความพร้อมปฏิบัติการ ปัจจัยนำเข้าในงานบริการทางการบิน และส่งมอบคุณค่างานบริการ ตามลำดับ คาดหวังมากที่สุดคือ ด้านความปลอดภัย รองลงมาคือ ด้านความสะดวก ด้านความรวดเร็ว และด้านประสิทธิภาพของระบบเทคโนโลยี ตามลำดับ

References

กฤษฎา เสกตระกูล. (13 เมษายน 2563). โลกหลังวิกฤติ Covid-19 (ตอนที่ 5). สืบค้น จาก https://www.set.or.th/dat/vdoArticle/attachFile/AttachFile1589948963548.pdf. เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565.

จาตุรงค์ สืบสำราญ. (2563). ปัจจัยด้านคุณภาพบริการที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อบริการซ้ำของสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศ. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทาคาโยชิ อูเอซึจิ. (2562). ความยั่งยืนต่อคุณภาพการบริการของสายการบินต้นทุนต่ำ ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการบิน สถาบันการบินพลเรือน สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

นพดล บุรณนัฏ และคณะ. (2561). ประสิทธิภาพในการให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561), หน้า 101-110.

น้ำฝน จันทร์นวล และคณะ. (2562). การรับรู้ข้อมูลเชิงธุรกิจผ่านสื่อออนไลน์และถ่ายทอดสู่บุคคลอื่น กรณีศึกษา: ผู้ใช้สายการบินต้นทุนต่ำ ณ ท่าอากาศยายจังหวัดนครศรีธรรมราช. ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยปีงบประมาณ พ.ศ.2562 วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

มนสินี เลิศคชสีห์ .(2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสายการบินการบินไทยสาหรับการให้บริการภายในประเทศ. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภัพแพร อ่วมอินทร์. (2562). ปัจจัยห่วงโซ่คุณค่าทางการบินที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้สายการบินต้นทุนต่ำ ในประเทศไทย. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2562, หน้า 152-163.

สันติพงศ์ จิโรจน์กุลกิจ และคณะ. (2563). ทัศนคติต่อคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้โดยสารสายการบินไทยแอร์เอเชีย. ในการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5 “การวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Research to Make A CHANGE)” วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2563.

สุภาพร อรรคพิณ และคณะ. (2565). การวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดการสายการบินต้นทุนต่ำที่ให้บริการในประเทศไทยด้วยทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาด (7PS). วารสารศิลปศาสตร์ มทร.กรุงเทพ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2565), หน้า 13-28.

อานนท์ จันจิตร. (2563). การพัฒนาคุณภาพบริการเพื่อการตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำของสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต (การจัดการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ) คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อาริยา สุขโต. (2563). วิกฤติโควิด-19 กับการปรับตัวของธุรกิจการบิน. สืบค้นจาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/article/article_20210120134825.pdf. เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2565.

Christopher, Vandermerwe & Lewis. (1996). The service quality handbook: (With contributions from 57 international expert). New York: Amacom.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3d ed. New York: John Wiley and Sons Inc.

Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”, Reading in Attitude Theory and Measurement. P.90-95. Fishbeic, Matin, Ed. New York: Wiley & Son.

Parasuraman, A, Zeithaml, V.A.; & Berry, L.L. (1998). SERQUAL: A multiple-item scale for measuring customer perceptions of service quality. Journal of retailing 64:12-40.

Porter, Michael, E. (1985). Competitive advantage: Creating and sustaining superior performance: with a new introduction, New York: Free Press.

Porter, Michael, E.. (2008). “The Five Competitive Forces That Shape Strategy”. Harvard Business Review. January 2008: p.79-93.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-01