การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตกะหรี่ปั๊บ ของบ้านสวนพันจิตร ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • นันทนา แจ้งสว่าง -

คำสำคัญ:

ต้นทุนการผลิต, ผลตอบแทน, กะหรี่ปั๊บ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน กำหนดราคาขายและวางแผนกำไร    ที่เหมาะสม และศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ จากการผลิตและจำหน่ายกะหรี่ปั๊บของบ้านสวนพันจิตร ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ประกอบการและผู้ผลิตกะหรี่ปั๊บของร้านพันจิตร โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 2 คน ได้แก่ คนที่ 1 เป็นผู้ประกอบการและผู้ผลิต คนที่ 2 เป็นผู้ผลิต ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล เดือนธันวาคม2565 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (Deep interview) และการสังเกตการณ์ ในวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนการผลิตและผลตอบแทน   การกำหนดราคาขายและการวางแผนกำไรในรูปแบบการคำนวณทางการบัญชี ผลการวิจัยพบว่า พบว่าการผลิตกะหรี่ปั๊บ 1 ครั้ง จะได้กะหรี่ปั๊บจำนวน 615 ชิ้น นำมาบรรจุกล่องๆ ละ 12 ชิ้น จะได้จำนวน 51 กล่องต่อครั้ง    โดยการผลิตกะหรี่ปั๊บมีต้นทุนการผลิตเท่ากับ 51.75 บาทต่อกล่อง ประกอบด้วยต้นทุนวัตถุดิบทางตรง 29.84 บาทต่อกล่อง ต้นทุนค่าแรงงานทางตรง 14.71 บาทต่อกล่อง และค่าใช้จ่ายในการผลิต 7.20 บาทต่อกล่อง          มีต้นทุนการผลิตรวมเท่ากับ  2,639.25 บาทต่อครั้ง ส่วนการวิเคราะห์ผลตอบแทนการจำหน่ายกะหรี่ปั๊บ พบว่าปัจจุบันราคาขายเท่ากับ 100 บาทต่อกล่อง มีกำไรจากการขาย 48.25 บาทต่อกล่อง คิดเป็นร้อยละ 93.23 ของต้นทุนรวมต่อกล่อง หากจำหน่ายได้ทั้งหมด 51 กล่อง จะมีรายได้จากการขายเท่ากับ 5,100 บาท กำไรจากการขายเท่ากับ 2,460.75 บาทต่อครั้ง ซึ่งเป็นกำไรที่ผู้ประกอบการต้องการ ทั้งนี้บ้านสวนพันจิตรยังคงมีค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ได้แก่ ค่าขนส่งขนมให้ลูกค้าถึงบ้านประมาณ 1,000 บาทต่อครั้ง หรือประมาณ 19.20 บาทต่อกล่อง   มีผลทำให้กำไรจากการขายลดลงจาก 48.25 บาทต่อกล่อง เป็น 29.05 บาทต่อกล่อง คิดเป็นกำไรจากการขายร้อยละ 56.14 ของต้นทุนรวมต่อกล่อง ซึ่งกำไรจากการขายนี้ไม่เป็นไปตามที่ผู้ประกอบการต้องการ ผู้วิจัยเสนอแนวทางในการกำหนดราคาขายที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์กะหรี่ปั๊บว่าควรอยู่ที่ราคา 120 บาทต่อกล่อง ทำให้มีกำไรจากการขายเท่ากับ 52.52 บาทต่อกล่อง คิดเป็นกำไรจากการขายร้อยละ 77.83 ของต้นทุนรวมต่อกล่อง หากจำหน่ายได้ทั้งหมด 51 กล่อง จะมีรายได้จากการขายเท่ากับ 6,120 บาทต่อครั้ง กำไรจากการขายเท่ากับ 2,678.52 บาทต่อครั้ง ซึ่งเป็นกำไรจากการขายที่ผู้ประกอบการต้องการไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของต้นทุนรวม    ต่อกล่อง หากผู้ประกอบการไม่ปรับเพิ่มราคาขาย อาจพิจารณาปรับลดจำนวนชิ้นต่อกล่องลงหรือลดขนาดของชิ้น เพี่อลดต้นทุนการผลิต ทั้งนี้ยังมีปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับราคาวัตถุดิบที่มีแนวโน้มสูงขึ้น จำนวนแรงงานและอุปกรณ์การผลิตไม่เพียงพอเมื่อต้องการขยายกำลังการผลิต และความกรอบอร่อยของกะหรี่ปั๊บลดลง ซึ่งอาจต้องจัดหาเครื่องกวนใส้กะหรี่ปั๊บพร้อมอุปกรณ์การผลิตเพิ่มเติม รวมถึงเทคนิคในการทำให้กะหรี่ปั๊บคงความอร่อยเหมือนวันแรกที่ทำเสร็จ

References

กฤติยา ยงวณิชย์. (2563). การบัญชีบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กินอร่อยต้องกะหรี่ปั๊บ. (2565). กะหรี่ปั๊บ สืบค้น ตุลาคม 3, 2565, จาก https://sites.google. com/site/final56520762/kin-xrxy-txng-kahri-pab

ธัญปวีณ์ รัตน์พงศ์พร. (2562). นโยบายและกลยุทธ์ราคา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2564). ทฤษฎีการบัญชี. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีเอ็น เพรส.

เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ. (2562). การบัญชีต้นทุน1. กรุงเทพมหานคร: แพนด้าเลิร์นนิ่งบุ๊ค

พรรณนิภา รอดวรรณะ. (2560). การบัญชีต้นทุน : หลักและกระบวนการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพ็ญนภา หวังที่ชอบ. (2561). การวิเคราะห์ต้นทุนและระบบบัญชีต้นทุนผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษา: กลุ่มจักสานหวาย บ้านวัดนาค ตำบลปากกราน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 20(1), 74-81.

ภาวินีย์ ธนาอนวัช (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ขนมไทยโบราณของวิสาหกิจชุมชน จ.พระนครศรียุธยา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 22(2). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

รุ่งนภา ทองพันชั่ง (2558). ต้นทุนและผลตอบแทนของการแปรรูปสตรอเบอรี่ ของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปไม้ผลเมืองหนาวบ่อแก้ว อำเภอสะเมิงจังหวัดเชียงใหม่. ค้นคว้าแบบอิสระตามหลักสูตรปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2565). กะหรี่ปั๊บ. สืบค้น ตุลาคม 3, 2565, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/กระหรี่ปั๊บ

ศศิวิมล มีอำพล. (2560). การบัญชีเพื่อการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพมหานคร : เสมาธรรม จำกัด.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2563). การบัญชีบริหาร. กรุงเทพมหานคร: บริษัท กรีนไลฟ์ พริ้นติ้งเฮ้าส์ จำกัด.

สุฑามาศ ไชยคำ และคณะ (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตข้าวเม่า : กรณีศึกษา ผู้ประกอบการในเขตบ้านกลางใหญ่ ตําบลกลางใหญ่ อําเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

อำนาจ รัตนสุวรรณ และธีรเสฏฐ์ ศิรธนานนท์. (2564). การบัญชีขั้นต้น. กรุงเทพฯ: หจก. พิมพ์พรรณการพิมพ์.

PEAK. (2563). วิธีการคำนวณต้นทุนขาย ก่อนตั้งราคาขายให้คุ้ม. สืบค้น ตุลาคม 3, 2565, จาก https://peakaccount.com/blog/คำนวณต้นทุนขาย/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30