ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างพหุปัจจัยและความตั้งใจใช้เทคโนโลยีทางบัญชี: หลักฐานเชิงประจักษ์ของนักบัญชีในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ทิพยาภรณ์ ปัตถา สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • สนธิญา สุวรรณราช สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • สรัชนุช บุญวุฒิ สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • กาญจนา คุมา สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • สุธีรา ทิพย์วิวัฒน์พจนา สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

พหุปัจจัย, ความตั้งใจใช้เทคโนโลยีทางบัญชี, เทคโนโลยีทางบัญชี, ผลกระทบ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทดสอบผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างพหุปัจจัยและความตั้งใจใช้เทคโนโลยีทางบัญชี:หลักฐานเชิงประจักษ์ของนักบัญชีในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ Google form ผ่านระบบออนไลน์จากนักบัญชีในเขตภาคเหนือตอนบน จำนวน 390 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า พหุปัจจัยด้านสมรรถนะของตนเอง ด้านความพึงพอใจต่องานที่ทำ ด้านการรับรู้ประโยชน์มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกต่อความตั้งใจใช้เทคโนโลยีทางบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสถานการณ์โควิด 19 มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างพหุปัจจัยโดยรวมและความตั้งใจใช้เทคโนโลยีทางการบัญชี และรายด้าน ได้แก่ ด้านสมรรถะของตนเองร่วม ด้านความพึงพอใจต่องานที่ทำ และด้านคุณภาพของข้อมูลที่ได้รับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น นักบัญชีควรเร่งพัฒนาตนเองในประเด็นดังกล่าวเพื่อให้สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีคุณภาพ

References

กุลธิดา ธนสมบัติศิริ และดารณี เอื้อชนะจิต. (2565). คุณลักษณะของนักบัญชียุคใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีในสำนักงานรับทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 9 (2), 12-23.

จุรีพร ทองทะวัย. (2555). ปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับของผู้ว่าจ้างในวิสาหกิจขนาดกลาง และขยาดย่อม (SMEs) กรณีผู้ให้บริการด้านการพัฒนาระบบงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ชลธิชา ศรีแสง. (2555). การยอมรับการใช้งานของระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษาธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน). วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 4(1), 35-51.

บุษรา ประกอบธรรม. (2554). การศึกษาการยอมรับเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษา: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสารสุทธิปริทัศน์. 27(81), 93-108.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ธีรวุฒิเอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี

นรินทิพย์ ฉลาดพจนพร. (2564). วิชาชีพบัญชีในภาวะวิกฤตโรคระบาด: ผลกระทบและการปรับตัวในภาวะแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19). วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 4 (3), 33–42.

สุทิพย์ ประทุม และสรัญญี อุเส็นยาง. (2565). การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในยุควิถีชีวิตใหม่. วารสารลวะศรี. 6(1), 1-18.

Chen, L. (2008). A Model of Consumer Acceptance of Mobile Payment. Int. J. Mobile

Communications. 6(1), 32-52.

CPA Collective. (2021, October 17). การเสวนา RPA หุ่นยนต์นักบัญชี ย่างก้าวสำคัญ ยกระดับงานบัญชีสู่ยุค

Digital Accounting [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=ESTtY7ASqiE

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B., Anderson, R. E., and Tatham, R. L. (2006). Multivariate Data Analysis, 6th Ed. New Jersey. Pearson Education.

Kigongo, N. (2011). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, Behavioral, Intention to Use and Actual System Usage in Centenary Bank. Thesis the Master Degree. Makerere University.

Lai, V. S., & Li, H. (2005). Technology acceptance model for internet banking: an invariance analysis. Information & Management. 42, 373-386.

Shroff, R. H., Deneen, C. D. & Ng, E. M. W. (2011). Analysis of the technology acceptance model in examining students’ behavioral intention to use a portfolio system. Australasian Journal of Educational Technology. 27(4), 600-618.

Venkatesh,V., & Davis, F. D. (2000). A theoretical extension of the technology acceptance model: Four longitudinal field studies. Management Science. 46(2), 186-204.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-01