การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกกล้วยหอมทองปลอดสารพิษ ในเขตพื้นที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
Cost Return Hom Thong Bananasบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมทอง 2) ศึกษาขั้นตอน วิธีการปลูกกล้วยหอมทองแบบปลอดสารพิษ 3) ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกกล้วยหอมทองในเขตพื้นที่บ้านหนองปลวก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกจากเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมทอง จำนวน 10 ราย และรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก โดยการขอเข้าสัมภาษณ์และสังเกตการณ์เป็นเวลา 5 วัน ภายในไร่ของเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมทอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละและค่าเฉลี่ย และใช้วิธีการวิเคราะห์ทางการบัญชีและการเงิน ประกอบ หลักการคำนวณต้นทุนการผลิต รายได้ กำไรสุทธิ การวิเคราะห์ผลตอบแทน ประกอบด้วย จุดคุ้มทุน (Break-event point) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period : PB) อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment : ROI)
ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมทอง บ้านหนองปลวก ตำบลแก่งคอย อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 10 ราย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 70 อายุอยู่ระหว่าง 50-59 ปี คิดเป็นร้อยละ 60 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 70 ข้อมูลการปลูกพืชต่างๆ ในไร่ของเกษตรกร พบว่า ปลูกพืชชนิดอื่นผสมกับการปลูกกล้วยหอมทอง คิดเป็นร้อยละ 60 ปลูกกล้วยหอมทองชนิดเดียว คิดเป็นร้อยละ 40 แหล่งเงินทุนของเกษตรกรพบว่า ใช้ทุนของตนเองในการลงทุนปลูกกล้วยหอมทอง คิดเป็นร้อยละ 80 และ ประสบการณ์ในการปลูกกล้วยหอมทอง 10 ปี ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 60 ขั้นตอนการปลูกกล้วยหอมทองประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การเตรียมดิน 2) การติดตั้งระบบน้ำ 3) การปลูกกล้วย 4) การดูแลรักษา 5) การตัดกล้วย รอบระยะเวลาการปลูกเริ่มปี 2564-2565 ต้นทุนรวมในปีที่ 1 46,313 บาท แบ่งเป็นต้นทุนผันแปร 43,075 บาท ต้นทุนคงที่ 3,238 บาท ต้นทุนรวมในปีที่ 2 23,975 บาท แบ่งเป็นต้นทุนผันแปร 20,925 บาท ต้นทุนคงที่ 3,050 บาท รายได้รวมในปีที่ 1 157,500 บาท รายได้รวมในปีที่ 2 95,040 บาท กำไรสุทธิในปีที่ 1 111,187 บาท กำไรสุทธิในปีที่ 2 71,065 บาท การวิเคราะห์ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นในปีที่ 1 พบว่า จุดคุ้มทุนของราคาขายกล้วยหอมทอง 13.23 บาทต่อหวี มูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 151,438.63 บาท ระยะเวลาคืนทุน จากการสัมภาษณ์เกษตรกรพบว่าสามารถตัดกล้วยเพื่อจำหน่ายได้ต้องรอระยะเวลา 10 เดือนขึ้นไปแต่เมื่อวิเคราะห์ทางการเงินแล้ว ระยะเวลาคืนทุน เท่ากับ 107.33 วัน อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในปีที่ 1 เท่ากับ 3.40 ในปีที่ 2 เท่ากับ 3.96
References
กองบรรณาธิการ HD. (2563). ประโยชน์ของกล้วยหอมทอง ไอเดียการกินการใช้เพื่อสุขภาพและข้อควรระวัง, สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 19, 2566 จาก https://hd.co.th/benefits-of-banana-and-caution
นเรศ จันอู๊ด. (2563, กรกฎาคม-ธันวาคม). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนในการปลูกกล้วยหอมทองของเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวิบูลย์สงคราม, 14(2), 564.
วสันต์ ชุณห์วิจิตรา. (2557, ตุลาคม-มกราคม). การปลูกกล้วยหอมทอง. ข่าวสารเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 60(2), 69-70. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 1, 2566 จากhttps://bec.nu. ac.th/newbpm/jquery/pages/new_link/20190605111514.pdf
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี. (2565). ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดเพชรบุรี มกราคม 2565, สืบค้นเมื่อกุมภาพันธ์ 25, 2566 จาก https://www.opsmoac.go.th/phetchaburi-dwl-files-
สำนักเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). ข้อมูลการนำเข้าและส่งออกกล้วยหอมทองของประเทศไทยปี 2563-2564, สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 19, 2566 จาก https://mis-app.oae.go.th/product/กล้วย
อธิสิทธิ์ นุชเนตร, และสุภาพร เพชรัตน์กูล. (2556, กรกฎาคม-ธันวาคม). กล้วยหอมทองบ้านลาด : ต้นทุนการผลิตกับความคุ้มค่าในการลงทุน. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 6(2), 1.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารลวะศรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ