ปัจจัยด้านอุปสงค์ของผู้บริโภคที่มีต่อการตัดสินใจลงทุนในธุรกิจฟู้ดทรัค (Food Truck) กรณีศึกษา : เขตห้วยขวาง จตุจักร และลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • เขม อภิภัทรวโรดม สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ณิชกานต์ กลับดี สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ปรัชญา แพมงคล สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

อุปสงค์ของผู้บริโภค, พฤติกรรมผู้บริโภค, ฟู้ดทรัค (Food Truck)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปสงค์ของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารฟู้ดทรัคและเพื่อศึกษาแนวทางในการลงทุนในธุรกิจอาหารฟู้ดทรัค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริโภคสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในเขตห้วยขวาง จตุจักร และลาดพร้าว กรุงเทพมหานครที่เคยใช้บริการฟู้ดทรัค (Food Truck) กรุงเทพมหานคร ในเขตดังกล่าว อย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา จำนวน 402 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test, F-test และ Chi-Square โดยนำมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 21-30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพนักเรียน/นักศึกษา ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการต่อครั้ง 101-500 บาท ความถี่ที่ใช้บริการ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ โดยผลการศึกษาปัจจัยด้านอุปสงค์ของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารฟู้ดทรัค พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยพบว่า มากที่สุดเป็นปัจจัยด้านราคา (gif.latex?\bar{X} = 4.36) รองลงมาเป็นปัจจัยด้านสภาพเศรษฐกิจ (gif.latex?\bar{X} = 4.35) และน้อยที่สุดเป็นปัจจัยด้านราคาสินค้าแทนกัน และด้านแฟชั่น/ความนิยม (gif.latex?\bar{X} = 4.32) ตามลำดับ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมการเลือกใช้บริการฟู้ดทรัค (Food Truck) ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการฟู้ดทรัคในด้านค่าใช้จ่ายแต่ละครั้ง และด้านความถี่ในการใช้บริการฟู้ดทรัค อีกทั้งอาชีพส่งผลต่อพฤติกรรม ด้านแหล่งข้อมูลข่าวสารที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการฟู๊ดทรัค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กนกพรรณ สุขฤทธิ์ (2557). ส่วนประสมทางการตลาดบริการและพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่น

ย่าน Community Mall ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร, ศรีนครินทรวิโรฒ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.

เกียรติยศ คงประดิษฐ (2558). ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.

ฉัตยาพร เสมอใจ (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร, ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ฉัตยาพร เสมอใจ (2558). การจัดการธุรกิจขนาดย่อม. กรุงเทพมหานคร, ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ดนุรัตน์ ใจดี (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกใช้บริการร้านอาหารในจังหวัด สุราษฎร์ธานี, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.

ธธีร์ธร ธีรขวัญโรจน์ (2550). การตลาดบริการ. กรุงเทพมหานคร, ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพมหานคร,

เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.

ธีรกิติ นวรัตน ณ อยุธยา. (2557). การตลาดบริการ แนวคิดและกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภวรรณ คณานุรักษ์ (2554). กลยุทธ์การตลาด. กรุงเทพมหานคร, ซีวีแอลการพิมพ์.

นฤทธิ์ วงษ์มณฑา (2554). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสายการบินภายในประเทศของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร, ศรีนครินทรวิโรฒ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.

พัชรินทร์พร ภู่อภิสิทธิ์ และวัชราภรณ์ ชัยวรรณ (2558). การสร้างดัชนีชี้วัดและปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนของธุรกิจร้านอาหารทั่วไปในเขตพื้นที่เทเวศร์ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร, เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ภราดร ปรีดาศักดิ์. (2558). หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์. (2551). จิตวิทยาการบริการ. กรุงเทพมหานคร, โอเดียนสโตร์.

วรวีร์ แต้มคงคา. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ตราไวไว ในเขตกรุงเทพมหานคร, เกษตรศาสตร์. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.

วิไลวรรณ บุญวิเซ็นต์ (2556). ศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการของร้านริวชาบู ชาบู สาขาสยามสแควร์, มหาวิทยาลัยศรีปทุม. ปริญญาธุรกิจมหาบัณฑิต.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร, ธรรมสาร จำกัด.

ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง. (2562). Street Food กรุงเทพฯ ถึงเวลา (รัฐ) ประหารหรือส่งเสริม. from https://www.tcijthai.com/news/2019/07/scoop/9191

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (2558). ปี'58 ร้านอาหารแข่งขันรุนแรง...คาดเชนร้านอาหารเติบโตโดดเด่น 6.9 8.9%. from https://www.kasikornresearch.com/th/k-econanalysis/pages/ViewSummary.aspx?docid=33507

สุธิสา รับศิริเจริญ (2557). การประเมินความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจส่วนประสมทางการตลาดกับความจงรักภักดีในการเข้าใช้บริการในร้านอาหาร กรณีศึกษา ร้านจุ่มแซ่บลูกสาว จังหวัดฉะเชิงเทรา, หอการค้าไทย. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.

อดุลย์ จาตุรงคกุล และดลยา จาตุรงคกุล. (2549). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Lovelock, C.; Wright, L. (2002). Principles of Service Marketing and Management. New Jersey, Prentice Hall.

Osterwalder, A., Pignuer, Y., In Clark, T., & Smith, A. (2010). Business Model generation:A handbook for visionaries, game changers, and challengers. Wiley Published.

Philip Kotler (2012). Marketing Management. New Jersey, Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-01