ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกข้าวของเกษตรกรจังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
การปลูกข้าว, ต้นทุน, ผลตอบแทนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการปลูกข้าวของเกษตรกรจังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดลพบุรี 380 ครัวเรือน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากอำเภอเมือง อำเภอโคกสำโรง อำเภอบ้านหมี่และอำเภอท่าวุ้ง อำเภอละ 95 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา หลังจากนั้นจึงนำต้นทุนมาวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีการย่อส่วนแนวดิ่ง วิเคราะห์อัตราผลตอบแทนต่อยอดขาย และอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนการปลูกข้าวต่อไร่ของเกษตรกรในจังหวัดลพบุรีมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5,720.66 บาท ในกรณีที่เกษตรเช่าพื้นที่ทำนา และ 4,689.29 บาท ในกรณีที่ดินเป็นของตนเอง เมื่อพิจารณาองค์ประกอบต้นทุนพบว่า กลุ่มวัสดุมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ 2,203.46 บาท หรือร้อยละ 38.52 รองลงมา คือ กลุ่มค่าใช้จ่ายอื่น ๆ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2,065.53 บาท หรือร้อยละ 36.10 สุดท้ายเป็นกลุ่มค่าแรงงานมีค่าเฉลี่ย คือ 1,451.67 บาท หรือร้อยละ 25.38 เมื่อพิจารณาผลตอบแทนในการปลูกข้าว พบว่า ผลผลิตข้าวเปลือกมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.83 เกวียนต่อไร่ ราคาขายเฉลี่ย 8,182.28 บาทต่อเกวียน ซึ่งคิดเป็นเงิน 6,770.96 บาทต่อไร่ คำนวณกำไรสุทธิเฉลี่ย 1,050.30 บาทต่อไร่ และพบว่าอัตราผลตอบแทนต่อยอดขายเฉลี่ย เท่ากับ ร้อยละ 15.51 และอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนเฉลี่ย เท่ากับ ร้อยละ 18.36
References
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก จังหวัดลพบุรี. https://www.idd.go.th.
ทวีศักดิ์ บุญกมล. (2560). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการลงทุนปลูกข้าวพันธ์ กข.31 ของเกษตรกรในพื้นที่องค์การบริการส่วนตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. http://grad.vru.ac.th.
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา.(2564). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม 2565-2567: อุตสาหกรรมข้าว. https://krungsri.com/th/research/Industry/rice.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
นีรนาท เสนาจันทร์และสัมฤทธิ์ ศิริคะเณรัตน์. (2565).การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยที่มีผลต่อการลดต้นทุนการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ของเกษตรกรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. https://li01.tci-thaijo.org/index
พงศ์ศิรภพ ทองดีรวิสุรเกตุ. (2559). การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนการปลูกข้าวของกลุ่มเกษตรกร ในจังหวัดกาญจนบุรี. (รายงานการวิจัย).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. http://grad.vru.ac.th.
พญาไอยรา. (2563). 4 ปัจจัยกำหนดราคาข้าวที่เราควรรู้. https://www.phayaayara.com.
พิธาน แสนภักดีและนฤพล อ่อนวิมล. (2564). ต้นทุนและผลตอบแทนในการลงทุนปลูกข้าวหอมมะลิของเกษตรกรอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชพฤกษ์. 7(1), 121-135.
เพ็ญนภา เชาวนา, ศุภสุตา ตันชะโร และอำมรรัตน์ คงกะโชติ. (2564). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกข้าวของเกษตรกรในอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. (รายงานการวิจัย). สงขลา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. http://riss.rmutsv.ac.th.
ศิริพร โสมคำภา, กาญจนา วงค์หมื่น, เกวลี พันธุ์บัว, สิริกุล จันทิมาและเกศสุดา แก่นจันทร์. (2562). ต้นทุนและ ผลตอบแทนจากการปลูกข้าวเจ้าพันธ์ กข 29 (ชัยนาท 80) ในเขตพื้นที่หมู่ 4 บ้านไร่สุขุม ตำบลห้วยยั้ง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ วันที่ 20 ธันวาคม 2562. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. https://research.kpru.ac.th.
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี. (2565). ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดลพบุรี. https://www.opsmoc.go.th.
สำนักงานจังหวัดลพบุรี, กลุ่มยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. 2565. แผนพัฒนาจังหวัดลพบุรี (พ.ศ. 2561–2565) ฉบับทบทวน พ.ศ. 2565. https://www.oic.go.th.
สุรัตน์ อัตตะ. (4 มีนาคม 2556). ปัจจัยอิทธิพลต่อผลผลิตข้าว ทางออกชาวนาสู่ 'มืออาชีพ'. คมชัดลึก. https://www.komchadluek.net.
สุรินทร์ เจนพิทยา. (24 กรกฎาคม 2566). ‘ข้าวส่งออกไทย’ อยู่จุดไหนในตลาดโลกในยุคที่ ‘อินเดีย-เวียตนามยังแกร่ง’. กรุงเทพธุรกิจ. www.bangkokbiznews.com.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารลวะศรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ