ปัญหาทางกฎมหายและอุปสรรคในการขอรับ การส่งเสริมการลงทุนโดยตรงภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2544

Main Article Content

ประสิทธิ์ ประวรรณะ

Abstract

ในปัจจุบันประเทศไทยมีการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการโน้มน้าว ดึงดูดให้นักลงทุนที่เป็นชาวต่างชาติหรือนักลงทุนชาวไทย เข้ามาทำการลงทุนโดยตรง ในภาคอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ดังนั้นเพื่อเป็นการรองรับการเข้ามาลงทุน จึงต้องมีการทบทวน จึงพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 เพื่อให้มีความสอดคล้อง ทันสมัย และเอื้อประโยชน์ โน้มน้าวดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาทำการลงทุน เพราะเนื่องจากพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฉบับดังกล่าวนั้น มีการประกาศใช้เป็นระยะเวลานานพอสมควรซึ่งข้อความบางประการ ตลอดจนบทบาทหน้าที่การพิจารณาของเจ้าหน้าที่ อำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการ ไม่มีความคล่องตัว และอาจจะยังไม่มีความทันสมัย ทันต่อสภาพ การตลาดของโลกที่มีการเจริญ เติบโตที่รวดเร็ว

พระราชบัญญัติล่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบันนั้น มีจุดอ่อน จุดด้อยอยู่หลายประการ ซึ่งทำให้ประเทศไทยไม่สามารถดึงดูด โน้มน้าว ให้นักลงทุนต่างชาติ เข้ามาทำการลงทุนเท่าที่ควร หรือแม้กระทั้งนักลงทุนที่เป็นคนไทย เองก็ตาม เพราะปัญหาทางกฎหมายและอุปสรรคในการขอรับการส่งเสริมการลงทุนตามสิทธิและ ประโยชน์ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฉบับดังกล่าว ยังไม่เอื้ออำนวยต่อนักลงทุน เท่าไหร่นักการพิจารณาของเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งได้รับ มอบหมายจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนนั้น

ยังเป็นการยึดติดกับระเบียบสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่กำหนด เวลาในการปฏิบัติงานส่งเสริมการลงทุน ตลอดจนเป็นการใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาอนุมัติในแต่ละเรื่องไม่ว่าจะเป็นปัญหาและอุปสรรคการพิจารณาคำขอรับการส่งเสริม ปัญหาและอุปสรรคด้านการนำเข้าเครื่องจักรที่จะนำมาทำการผลิต ตามกระบวน การผลิตที่ได้ระบุไว้ในคำขอรับการส่งเสริมปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับกรณีการขออนุมัตินำเข้าาวัตถุดิบที่จะนำมาทำการผลิต ปัญหาและอุปสรรคกรณีการขออนุมัตินำเข้าช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการ เข้ามาปฏิบัติงาน เพื่อทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่คนไทย ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคกรณีที่ผู้รับการส่งเสริมการลงทุนขอใช้ลิทธิและประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลเองก็ตาม ซึ่งระเบียบสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้กำหนดระยะเวลาปฏิบัติงานส่งเสริมการลงทุนนั้น ควรที่จะได้รับการปรับเปลี่ยน แก้ไข เพื่อให้มีความสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน ซึ่งการนำส่งข้อมูล หรือการนำส่ง เอกสารการขอพิจารณาอนุมัติในด้านต่างๆ นั้นได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันสามารถ ที่จะทำการนำส่งคำขอต่างๆ ได้โดยการส่ง ผ่านระบบออนไลน์ได้ ซึ่งไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ ระยะเวลายาวนานตามที่ประกาศของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมได้ประกาศไว้ ตลอดจน อำนาจในการพิจารณาคำขอต่างๆ นั้น คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนก็ได้มีการมอบหมายให้ เจ้าหน้าที่สามารถพิจารณาอนุมัติได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องนำเช้าคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน พิจารณาแต่อย่างใด  สำหรับงานวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาในกรณีเป็นปัญหาและอุปสรรคในการขอรับการส่งเสริม การลงทุน จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและการขอใช้ลิทธิและประโยชน์ด้านต่างๆ โดยศึกษาประเด็นที่มีผลกระทบต่อนักลงทุนโดยตรง และผู้เขียนยังได้ศึกษากฎหมายและนโยบาย การส่งเสริมการลงทุนของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศสังคมนิยมเวียดนาม เพื่อศึกษาแนวทาง การลงทุนต่างประเทศ ตลอดจนลิทธิและประโยชน์ต่างๆ ที่ประเทศดังกล่าว กำหนดไว้เป็นนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เอี้อประโยชน์ โน้มน้าวต่อนักลงทุน เพื่อประโยชน์ ต่อนักลงทุนที่มีความสนใจที่จะทำการลงทุนในประเทศดังกล่าวต่อไป

ดังนั้นผู้เขียนได้สรุปปัญหาทางกฎหมายและอุปสรรคในการขอรับการส่งเสริมการลงทุน และแนวทางแก้ไข เพื่อเป็นแนวทางในการแก่ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฉบับดังกล่าวเพื่อเป็นประโยชน์ ต่อนักลงทุนต่างชาติหรือนักลงทุนชาวไทย ที่จะทำขอใช้ลิทธิและประโยชน์ด้านการลงทุนโดยตรงต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนต่อไป

Article Details

How to Cite
ประวรรณะ ประสิทธิ์. “ปัญหาทางกฎมหายและอุปสรรคในการขอรับ การส่งเสริมการลงทุนโดยตรงภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2544”. Naresuan University Law Journal 3, no. 1 (March 27, 2014): 150–167. Accessed April 27, 2024. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawnujournal/article/view/98614.
Section
Research Articles