ภาษาในกฎหมายลักษณะอาญากับประมวลกฎหมายอาญา : การศึกษาเชิงเปรียบเทียบต่างสมัย
Main Article Content
Abstract
สังคมในแต่ละยุคสมัยที่มีการร่างกฎหมายบังคับใช้ มีความแตกต่างกันมากบ้างน้อยบ้าง ในด้านต่างๆ เช่น ด้านการเมืองการปกครองเศรษฐกิจ และ,ระบบการสืกษาภาษาซึ่งเป็นถ้อยคำ สำนวนที่ปรากฏใช้อยู่ในกฎหมายในแต่ละสมัยจึงมีความแตกต่างกัน ด้วยเพราะแนวความคิด ความเชื่อ และวิถีชีวิตของคนในสังคม ย่อมมีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาในทุกรูปแบบ รวมถึงภาษา กฎหมายด้วย
บทความนี้เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบต่างสมัยเพี่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง การใช้คำ วสี และถ้อยคำสำนวนกับบริบททางการเมีอง สังคมและวัฒนธรรมของประมวลกฎหมาย ข้อมูลเก็บจากกฎหมายลักษณะอาญาฉบับประกาศใช้ใน ร.ศ. 127 (ค.ศ. 1908) และประมวล กฎหมายอาญา ประกาศใช้โดยพระราชบัญญัติใหใช้ใน พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) โดยไม่รวมส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติมภายหลัง
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าภาษาที่ใช้ในกฎหมายสามารถสะท้อนให้เห็นความแตกต่าง ของสภาพสังคมและระบอบการปกครองของสังคมนั้นได้ เช่น ภาษาในกฎหมายลักษณะอาญา สะท้อนให้เห็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์และระบบชนชั้นทางสังคมที่ชัดเจน ส่วนภาษา ในประมวลกฎหมายอาญาสะท้อนสถานะของพระมหากษัตริย์ที่ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญและ ความเท่าเทียมกันของสังคม