ความรับผิดทางแพ่งเพื่อความเสียหายอันเกิดจากสุนัขชุมชน

Main Article Content

เฉลิมวุฒิ ศรีพรหม

บทคัดย่อ

                   บทความฉบับนี้ มุ่งศึกษาประเด็นปัญหาในทางกฎหมาย ว่าด้วยความรับผิดในทางละเมิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากสุนัขชุมชน สุนัขชุมชนเป็นสุนัขจรจัดที่มีลักษณะเฉพาะตรงที่มักอยู่ใกล้ชิดกับผู้คนจนทำให้มีหลายกรณีที่ประชาชนถูกสุนัขชุมชนก่อความเสียหาย แต่ด้วยการที่สุนัขชุมชนเป็นสุนัขที่ไม่มีเจ้าของ ในทางกฎหมายจึงมีปัญหาว่า ผู้ใดต้องรับผิดเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้น


                   ประเด็นปัญหาดังกล่าว จึงได้ศึกษาความรับผิดเพื่อละเมิดของบุคคลสามกลุ่ม ได้แก่ (1) บุคคลผู้ให้น้ำและอาหารสุนัขชุมชนเป็นกิจวัตร (2) เจ้าของเดิมผู้นำสุนัขมาปล่อยทิ้งในที่สาธารณะ และ (3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สุนัขมีถิ่นที่อยู่ประจำจากการวิเคราะห์พบว่า บุคคลทั้งสามกลุ่มนี้ไม่มีความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 433 เนื่องจากมิใช่เจ้าของหรือผู้รับเลี้ยงรับรักษาสุนัขชุมชน


                   แต่อย่างไรก็ดี บุคคลทั้งสามกลุ่มข้างต้นอาจมีความรับผิดตามมาตรา 420 ได้   ในบางกรณี กล่าวคือ (1) บุคคลผู้ให้น้ำและอาหารสุนัขชุมชนเป็นกิจวัตรอาจต้องรับผิด ในกรณีที่ได้ยั่วหรือเร้าสุนัขจนไปก่อความเสียหายแก่ผู้อื่น (2) เจ้าของเดิมผู้นำสุนัขมาปล่อยทิ้งในที่สาธารณะอาจต้องรับผิดในกรณีที่รู้หรือคาดหมายได้ว่าการทอดทิ้งสุนัขนั้นอาจ ก่อความเสียหายต่อผู้อื่นได้ในอนาคต และ (3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจต้องรับผิดในกรณีที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดในการควบคุมสุนัขจรจัดใน  ที่หรือทางสาธารณะ โดยรู้หรือควรคาดเห็นได้ว่าสุนัขนั้นจะก่อความเสียหายขึ้นแก่ประชาชน

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biography

เฉลิมวุฒิ ศรีพรหม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายแพ่ง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

References

1. Alaskan Village, Inc. v. Smalley, for and on Behalf of Smalley.720 P.2d
945, 948 (Alaska, 1986) at [947]-[948] [Online]. Available from: ฐานข้อมูลออนไลน์ Westlaw Next. Retrieved 22 August 2018.

2. Bangkokbiznews. (2018). People who are exposed to rabies can requestreimbursement from Social Security Fund [Online]. Available from: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/795053 Retrieved 22 August 2018.

3. Civil and Commercial Code.

4. Cruelty Prevention and Welfare of Animals Act, B.E. 2557(2014).

5. Dailynews. (2018). Who will be responsible for dog bite? [Online]. Available from:
https://www.dailynews.co.th Retrieved 22 August 2018.

6. Jid Setthabutr. (2013). Principles of Civil Law on Torts. 8th Edition. Bangkok: Project of Textbooks and Documents Used in Teaching, Faculty of Law, Thammasat University.

7. Jitti Tingsabadh. (2012). Commentaries of the Civil and Commercial Codeon Torts, Management of Affairs without Mandate, and Undue Enrichment (Sections 395-452). Revised by KhemapoomBhumithavara.

8. ChawinOunpat. and AmnartTangkiriphimarn. Bangkok: Duen Tula Publishing House.

9. Khaosod. (2017). A vendor was bitten by a dangerous dog named ‘James’, resulting in serious injury [Online]. Available from: https://www.khaosod.co.th /around thailand/news_670482 Retrieved 22 August 2018.

10. Khaosod. (2018). A 5-year-old girl almost loses her arm after being hit byThree Straydogs(Clip) [Online]. Available from: https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_874207 Retrieved 22 August 2018.

11. MN ST § 347.22 [Online]. Available from: https://www.revisor.mn.gov/Statutes/cite/347.22 Retrieved 22 August 2018.

12. PPTV. (2017). Dog – cat owners should be aware of their pets running away because of being frightened by firework displays in New Year’s Eve [Online]. Available from: https://www.pptvhd36.com Retrieved 22 August 2018.

13. Sanankorn Sodthiphan.(2017). Explanation of the Law of Torts, Management of Affairs without Mandate, and Undue Enrichment.7th Edition. Bangkok: Winyuchon.

14. Seni Pramoj. (B.E.2559). Civil and Commercial Code on Juristic Acts and Obligations Part 1 (Parts 1-2). Revised by MuninPongsapan. Bangkok: Winyuchon.

15. Municipalities Act. B.E. 2496 (1953)

16. Ordinance of Bangkok Metropolis on Control of Keeping or Dumping Dogs. B.E. (2548) 2005.

17. Public Health Act. B.E. 2535 (1992).

18. Rabies Act. B.E.2535 (1992).