บทความย้อนหลัง
-
กรกฎาคม – ธันวาคม 2567
ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (2567)วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2567
ISSN: 2985-2552 (Online)วารสารนี้ เป็นวารสารวิชาการสำหรับนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการทั้งภายในและภายนอก เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการในรูปแบบของบทความวิชาการและบทความวิจัย เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการในสาขานิติศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวกับสังคมศาสตร์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จัดตีพิมพ์เผยแพร่สู่วงการวิชาการและสาธารณชนผู้สนใจทั่วไป พร้อมทั้งวางเป้าหมายยกระดับให้เป็นวารสารนานาชาติ
-
มกราคม - มิถุนายน 2567
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (2567)วารสารนิติศาตร์และสังคมท้องถิ่น ISSN 2985-2552 (Online)
วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี เป็นวารสารวิชาการสำหรับนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการทั้งภายในและภายนอก เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการในรูปแบบของบทความวิชาการและบทความวิจัย เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการในสาขานิติศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวกับสังคมศาสตร์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จัดตีพิมพ์เผยแพร่สู่วงการวิชาการและสาธารณชนผู้สนใจทั่วไป พร้อมทั้งวางเป้าหมายยกระดับให้เป็นวารสารนานาชาติ
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ด้วยรูปแบบ Semi-Blind Peer Review เฉพาะสาขานิติศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน จำนวน 3 คน
-
กรกฎาคม - ธันวาคม 2566
ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (2566)วารสารนิติศาตร์และสังคมท้องถิ่น ISSN 2985-2552 (Online)
วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี เป็นวารสารวิชาการสำหรับนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการทั้งภายในและภายนอก เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการในรูปแบบของบทความวิชาการและบทความวิจัย เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการในสาขานิติศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวกับสังคมศาสตร์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จัดตีพิมพ์เผยแพร่สู่วงการวิชาการและสาธารณชนผู้สนใจทั่วไป พร้อมทั้งต้องการยกระดับให้เป็นวารสารระดับชาติและนานาชาติ
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ด้วยรูปแบบ Semi-Blind Peer Review เฉพาะสาขานิติศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน จำนวน 3 คน
-
มกราคม - มิถุนายน 2566
ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (2566)วารสารนิติศาตร์และสังคมท้องถิ่น Print ISSN: 2586-8802 Online ISSN: 2651-2157
วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี เป็นวารสารทางวิชาการสำหรับนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชา การทั้งภายในและภายนอก เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านนิติศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวกับสังคมท้องถิ่นภาคใต้ รวมทั้งในประเทศไทย ตลอดถึงเผยแพร่งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาตามคุณภาพบัณฑิตศึกษา
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ด้วยรูปแบบ Anonymous Reviewer/Anonymous Author เฉพาะสาขานิติศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน อย่างน้อย 3 คน
-
กรกฎาคม - ธันวาคม 2565
ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (2565)วารสารนี้ เป็นวารสารทางวิชาการสำหรับนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการทั้งภายในและภายนอก เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านนิติศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวกับสังคมท้องถิ่นภาคใต้ รวมทั้งในประเทศไทยตลอดถึงเผยแพร่งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาตามคุณภาพบัณฑิตศึกษา
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ด้วยรูปแบบ Double - blind Peer review เฉพาะสาขานิติศาสตร์และสังคมศาสตร์
-
มกราคม - มิถุนายน 2565
ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (2565)วารสารนิติศาตร์และสังคมท้องถิ่น Print ISSN: 2586-8802 Online ISSN: 2651-2157
วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี เป็นวารสารทางวิชาการสำหรับนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการทั้งภายในและภายนอก เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านนิติศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวกับสังคมท้องถิ่นภาคใต้ รวมทั้งในประเทศไทย ตลอดถึงเผยแพร่งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาตามคุณภาพบัณฑิตศึกษา
-
กรกฎาคม - ธันวาคม 2564
ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (2021)วารสารนิติศาตร์และสังคมท้องถิ่น Print ISSN: 2586-8802 Online ISSN: 2651-2157
วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี เป็นวารสารทางวิชาการสำหรับนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการทั้งภายในและภายนอก เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านนิติศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวกับสังคมท้องถิ่นภาคใต้ รวมทั้งในประเทศไทย ตลอดถึงเผยแพร่งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาตามคุณภาพบัณฑิตศึกษา
-
มกราคม - มิถุนายน 2564
ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (2021)วารสารนิติศาตร์และสังคมท้องถิ่น Print ISSN: 2586-8802 Online ISSN: 2651-2157
วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี เป็นวารสารทางวิชาการสำหรับนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการทั้งภายในและภายนอก เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านนิติศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวกับสังคมท้องถิ่นภาคใต้ รวมทั้งในประเทศไทย ตลอดถึงเผยแพร่งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาตามคุณภาพบัณฑิตศึกษา
-
กรกฎาคม - ธันวาคม 2563
ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (2563)วารสารนี้ เป็นวารสารทางวิชาการสำหรับนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการทั้งภายในและภายนอก เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านนิติศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวกับสังคมท้องถิ่นภาคใต้ รวมทั้งในประเทศไทยตลอดถึงเผยแพร่งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาตามคุณภาพบัณฑิตศึกษา
-
มกราคม - มิถุนายน 2563
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (2563)วารสารนี้ เป็นวารสารทางวิชาการสำหรับนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการทั้งภายในและภายนอก เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านนิติศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวกับสังคมท้องถิ่นภาคใต้ รวมทั้งในประเทศไทยตลอดถึงเผยแพร่งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาตามคุณภาพบัณฑิตศึกษา
-
July - December 2562
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (2562)วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น
วารสารนี้ เป็นวารสารทางวิชาการสำหรับนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการทั้งภายในและภายนอก เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านนิติศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวกับสังคมท้องถิ่นภาคใต้ รวมทั้งในประเทศไทยตลอดถึงเผยแพร่งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาตามคุณภาพบัณฑิตศึกษา
-
มกราคม - มิถุนายน 2562
ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (2562)วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
Law and Local Society Journal
Suratthani Rajabhat University
ISSN 2586 – 8802 ISSN 2651 – 2157 (Online)
วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น
วารสารนี้ เป็นวารสารทางวิชาการสำหรับนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการทั้งภายในและภายนอก เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านนิติศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวกับสังคมท้องถิ่นภาคใต้ รวมทั้งในประเทศไทยตลอดถึงเผยแพร่งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาตามคุณภาพบัณฑิตศึกษาเจ้าของ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ที่ปรึกษา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
-
กรกฎาคม - ธันวาคม 2561
ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
Law and Local Society Journal
Suratthani Rajabhat University
ISSN 2586 – 8802 ISSN 2651 – 2157 (Online)
วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น
วารสารนี้ เป็นวารสารทางวิชาการสำหรับนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการทั้งภายในและภายนอก เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านนิติศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวกับสังคมท้องถิ่นภาคใต้ รวมทั้งในประเทศไทยตลอดถึงเผยแพร่งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาตามคุณภาพบัณฑิตศึกษาเจ้าของ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ที่ปรึกษา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
-
มกราคม - มิถุนายน 2561
ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (2561)บทบรรณาธิการ
การเผยแพร่กฎหมายที่สื่อถึงปัญหาของสังคมอย่างหลากหลาย เป็นภารกิจสำคัญของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น เพื่อทำความเข้าใจ ให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ความเคลื่อนไหวทางกฎหมายแก่ประชาชนและเป็นมิติหนึ่งของการแสดงแนวคิดสำหรับนักวิชาการอันนำไปสู่การบูรณาการ ทั้งในส่วนที่เป็นกฎหมายหลัก กฎหมายเฉพาะ เพื่อเกิดเป็นองค์ความรู้สู่การพัฒนาในด้านต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม
บทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารฉบับนี้ ประกอบด้วยบทความวิชาการ 5 เรื่องและบทความวิจัย 3 เรื่อง โดยได้นำเสนอบทความวิชาการเรื่อง“ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560” ซึ่งผู้เขียน ได้วิเคราะห์รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันว่า มีประเด็นขัดแย้งกับระบอบประชาธิปไตยในส่วนของการแบ่งแยกอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ซึ่งจะต้องมีความเป็นอิสระ มีลักษณะของการตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและกัน แต่พบว่าอำนาจทั้งสามส่วน มิได้เป็นไปตามทฤษฎีการเมืองแบบประชาธิปไตย ส่วนบทความวิชาการเรื่อง “ปัญหาทางกฎหมายของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่37/2560” ผู้นิพนธ์กล่าวถึงคำสั่งฉบับนี้ว่า ได้แก้ไขปัญหาการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษา ด้วยการปลดระยะเวลารักษาราชการแทนอธิการบดีไม่เกิน 180 วัน เป็นไม่มีระยะเวลา ในระหว่างการดำเนินการสรรหา หรือดำเนินการเพื่อแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการบริหารมหาวิทยาลัย และเป็นกลไกสำคัญในการธำรงไว้ ซึ่งธรรมาภิบาล ในการบริหารสถาบันอุดมศึกษา บทความวิชาการถัดมา เรื่อง “ผู้ดูแลสุขภาพนักกีฬาและกฎหมายสหรัฐอเมริกา” ซึ่งผู้ศึกษาได้กล่าวถึง กฎหมายสหรัฐอเมริกาว่าด้วยมาตรฐานของผู้ดูแลสุขภาพนักกีฬาที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพนักกีฬาและสะท้อน ถึงวงการกีฬาไทยที่ควรจะต้องมีผู้ดูแลสุขภาพนักกีฬาให้ทัดเทียมมาตรฐานสากล ต่อมาบทความวิชาการเรื่อง“ประวัติศาสตร์กฎหมายศาลและกระบวนการยุติธรรมของไทย” ผู้เรียบเรียงได้นำเสนอถึง ประวัติความเป็นมาของกฎหมาย ศาล และกระบวนการยุติธรรม ที่มีความสัมพันธ์กับระบบการปกครองในแต่ละยุคสมัยอย่างแนบแน่น การทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว ย่อมนำกฎหมายไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับบริบทของสังคม และบทความวิชาการเรื่อง “ธรรมาธิปไตยในฐานะเป็นเครื่องมือพัฒนาประชาธิปไตย” ผู้ประพันธ์ได้นำเสนอหลักการว่าธรรมาธิปไตยเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการพัฒนาระบบประชาธิปไตย และเป็นเครื่องมือในการสร้างรัฐ เพื่อนำไปสู่การสร้างประชาธิปไตยที่สมบูรณ์
บทความวิจัยที่เป็นเรื่องสะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำของกฎหมายในสังคม ได้แก่“มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ” และเรื่อง “มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรม เนื่องจากคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการ” ซึ่งผู้วิจัยได้เสนอรูปแบบมาตรการความช่วยเหลือผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมไว้อย่างน่าสนใจ
บทความวิจัยทางสังคมเรื่อง “พฤติกรรมหลังผ่านการบำบัดรักษาของผู้เสพยาเสพติด: กรณีศึกษาเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย” ได้ตอกย้ำถึงปัญหายาเสพติดที่ผู้เสพส่วนใหญ่ไม่สามารถเลิกได้ ถึงแม้จะได้รับการบำบัดรักษามาแล้ว ซึ่งปัญหาในเรื่องนี้ รัฐบาลและทุกภาคส่วนควรต้องแก้ไขอย่างจริงจัง เพื่อให้ปัญหาผู้เสพยาเสพติดทุเลาเบาบางลงหรือหมดสิ้นไปในอนาคต
กองบรรณาธิการและผู้จัดทำวารสารหวังอย่างยิ่งว่า บทความที่นำเสนอในฉบับนี้ ช่วยทำความกระจ่างทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครองสิทธิของบุคคล ชุมชน ทั้งนำไปสู่การกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ อย่างยั่งยืนต่อไป
ฉัตตมาศ วิเศษสินธุ์
-
กรกฎาคม - ธันวาคม 2560
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (2560)บทบรรณาธิการ
วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ฉบับนี้เป็นปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กองบรรณาธิการได้ใช้ความพยายามอย่างยิ่งที่จะให้ออกตรงเวลา ซึ่งในที่สุดก็สามารถดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี หน้าปกของวารสารเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ทั้งนี้เพื่อความเป็นสิริมงคล และแสดงถึงความจงรักภักดีต่อพระองค์ท่าน อีกทั้งเพื่อน้อมรำลึกถึงการที่พระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ ด้วยพระวิริยะอุตสาหะตลอดระยะเวลายาวนาน 70 ปี ที่ทรงครองสิริราชย์สมบัติ ได้ก่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชนชาวไทยและผู้ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารทุกหมู่เหล่า นอกจากตระหนักดังกล่าวแล้ว ผู้จัดทำวารสารฉบับนี้ ได้น้อมนำพระราชดำรัสและพระราชคุณธรรมจรรยามาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งในส่วนตนและการดำเนินงานวารสารด้วย โดยมีจุดหมายปลายทางที่หนักแน่น มั่นคง คือ ความก้าวหน้าทางวิชาการ และการใช้ประโยชน์จากผลงานให้เกิดความสุขของสังคมทั้งปัจจุบันและอนาคต
ด้านความก้าวหน้าทางวิชาการ มีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพและมาตรฐานทางวิชาการ ทั้งบทความวิชาการทั่วไปและบทความวิจัย โดยเฉพาะประเด็นของศาสตร์แห่งกฎหมายและสังคมที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งในจังหวัด สุราษฎร์ธานี และพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศ โดยสิ่งที่นำเสนอนั้น จักเป็นเงาสะท้อนให้หลายฝ่ายซึ่งดูแลประเทศ ได้นำไปใช้ทบทวนการทำงานอย่างละเอียดลึกซึ้ง เห็นถึงแก่นแท้อันเป็นปมแห่งอุปสรรค เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ถูกต้องตรงจุด ทำให้ปัญหาต่าง ๆ จะได้คลี่คลายลง ซึ่งสอดคล้องกับสุภาษิตกฎหมายบทหนึ่งที่ว่า “ประโยชน์สุขของประชาชนย่อมเป็นกฎหมายสูงสุด” อันเป็นหลักที่เตือนใจให้บุคลากรในองค์กรพึงเคารพและปฏิบัติตนอยู่ภายใต้กฎหมาย ด้วยการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เป็นที่ตั้ง ไม่พยายามบิดเบือนหรือตีความเพื่อแก้ไข กฎ กติกาให้เข้าข้างตนเองโดยหวังประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องจนกลายเป็นความทุกข์ ความเดือดร้อนแก่หมู่คณะและสาธารณชน ซึ่งหากหน่วยงานใดมีบุคคลใช้อำนาจ ที่รัฐมอบให้เช่นนี้ ย่อมนำมาซึ่งความแตกแยกสามัคคีและความไม่สงบสุขของสังคม ที่สำคัญยิ่ง คือ องค์กรนั้นไม่อาจขับเคลื่อนองคาพยพให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างราบรื่น ลักษณะเช่นที่ว่านี้ ทำให้ระลึกถึงคำกล่าวของรักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี (รศ.ดร.ชูศักดิ์ เอกเพชร) เมื่อคราวที่ท่านมาเยี่ยมเยือนคณะนิติศาสตร์ ตอนหนึ่งของโอวาทที่ท่านให้แก่บุคลากรในวันนั้น ว่า “ต้นไม้ตายแต่นกกาอ้วนพี” เป็นสิ่งเตือนใจมิให้ชาวนิติศาสตร์ลุ่มหลง ในประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวกจนลืมนึกถึงประโยชน์ส่วนรวม เพราะถ้าองค์กร มีแต่บุคลากรที่แสวงหาเพียงอามิส ลุ่มหลง มัวเมาในลาภยศ สรรเสริญ หรือลุต่อการใช้อำนาจ ขาดเมตตาธรรม องค์กรก็ย่อมล่มสลาย
บทความที่เผยแพร่ในวารสารฉบับนี้ ประกอบด้วยบทความวิจัย 4 เรื่อง บทความวิชาการ 3 เรื่อง และบทปริทัศน์หนังสือ 1 เรื่อง ซึ่งมีสาระหลากหลาย ทั้งด้านเนื้อหา แนวคิด และการโต้แย้งปัญหาข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่รอการแก้ไขจากรัฐ รวมทั้งปัญหาสังคมในท้องถิ่นตลอดถึงหลักการดำเนินชีวิตที่เข้มแข็งของมนุษย์
บทความวิชาการเรื่อง ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับกฎหมายพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ได้กล่าวถึง บทบาทของพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันเป็นระบบรัฐสภา ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 นั้น ปรากฏว่า บางมาตรามีประเด็นเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองที่ไม่เป็นไปตามหลักสากล ในขณะที่บทความวิจัย เรื่อง การบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 กรณีศึกษา อำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า อัตรากำลังของพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับจิตวิทยาเด็กในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีไม่เพียงพอ และปัญหาที่เกี่ยวอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่มีไม่ครบถ้วน ตลอดถึงเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ยังไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างทั่วถึง และบทความวิจัยเรื่อง การนำหลักสุจริตมาใช้กับการให้ความเห็นทางกฎหมายภาษีอากรของเจ้าหน้าที่รัฐ ได้เสนอแนวทางให้นำหลักเกณฑ์ของหลักสุจริตมาใช้ในการให้ความเห็นทางกฎหมายภาษีอากรของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อความเหมาะสมและเป็นธรรม
ในส่วนของบทความที่กล่าวถึงปัญหา ได้แก่ บทความวิชาการ เรื่อง ปัญหาการดำเนินคดีอาญา นายจ้างตามมาตรา 124/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กล่าวถึง ปัญหาข้อพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง กรณีนายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้ลูกจ้างที่อยู่ในสถานะที่ด้อยกว่าเสียเปรียบและหาแนวทางเพื่อการแก้ไขที่เหมาะสมเป็นธรรมต่อไป ส่วนบทความวิจัยเรื่อง ปัญหาผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550: ศึกษากรณีการรับโทษตามกฎหมายอื่นได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับปัญหา ผู้กระทำความรุนแรงแก่บุคคลในครอบครัว ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ซึ่งยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้จริง จึงต้องอาศัยการแก้ไขกฎหมายเพื่อนำไปบังคับ ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและบทความวิจัยเรื่อง รูปแบบการค้าประเวณีในพื้นที่อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ได้ตีแผ่รูปแบบการค้าประเวณีในพื้นที่ของจังหวัดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าประเวณีที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น หากปัญหาเหล่านี้ลุกลามจนหาทางแก้ไขเยียวยาไม่ได้ และทุกฝ่ายต่างยอมรับกับความพ่ายแพ้ ต่อไปอนาคตของเด็กและเยาวชนอันเป็นกำลังหลักของประเทศชาติ และวัฒนธรรมไทยอันดีงามที่บรรพบุรุษร่วมปลูกฝังกันมา คงจะสูญหาย ปพร้อม ๆ กัน
สำหรับบทความวิชาการเรื่อง เทคนิคการเขียนตอบข้อสอบวิชากฎหมายเขียนตอบอย่างไรให้ได้คะแนน ผู้เขียนได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการสอบแข่งขันในชั้นเนติบัณฑิตและสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ ซึ่งได้รับความสำเร็จมาถ่ายทอดโดยมุ่งหวังให้นิสิต นักศึกษากฎหมายได้เรียนรู้เพื่อนำไปปรับใช้ให้ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง
ปิดท้ายเล่มด้วยบทปริทัศน์หนังสือเรื่อง ทางสู้ในชีวิตผลงานของหลวงวิจิตรวาทการ ได้บอกเล่าเรื่องราวถึงการต่อสู้ของชีวิตที่อาจจะล้มเหลวหรือสำเร็จ ลงได้ ด้วยการนำตัวอย่างชีวิตการต่อสู้ของบุคคลในโลกตะวันตกและเอเชีย มากล่าวถึงอย่างน่าสนใจ เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจในยามที่เกิดความท้อแท้สิ้นหวังและเป็นกำลังใจให้แก่ทุกคนที่ต่อสู้และใช้ชีวิตอยู่ในโลกใบนี้ให้ได้ อย่างมีความหวัง หน้าที่ของพลเมืองในชาติอาจจะปฏิบัติแตกต่างกัน แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ การพัฒนาชาติให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ และการอยู่ร่วมกันอย่างสงบ วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก็เช่นเดียวกัน ได้ทำหน้าที่บอกกล่าวเพื่อหวังให้กฎหมายได้บังคับใช้ให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม ควบคู่ไปกับการทำให้สังคมที่ไม่รู้กฎหมาย สามารถรู้และเข้าใจกฎหมาย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสังคมบางส่วนไม่รู้ ไม่เข้าใจกฎหมาย และไม่อาจยกเอาความไม่รู้กฎหมายมาเป็นข้อแก้ตัวได้ และเห็นความจำเป็นต่อการเรียนรู้เรื่องนี้ ดังนั้น หน้าที่ทั้งสองประการจึงต้องปฏิบัติไปพร้อมกัน เพื่อให้สังคมได้บรรลุเป้าหมาย คือ การอยู่ร่วมกันด้วยสันติสุขอย่างแท้จริง
ภูภณัช รัตนชัย
-
มกราคม-มิถุนายน 2560
ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (2560)บทบรรณาธิการ
“ขอฝันใฝ่ ในฝันอันเหลือเชื่อ ขอสู้ศึก ทุกเมื่อ ไม่หวั่นไหว ขอทนทุกข์รุกโรมโหมกายใจ ขอฝ่าฟัน ผองภัย ด้วยใจทะนง” เนื้อหาในท่อนนำของเพลง“ความฝันอันสูงสุด” ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ในปี พ.ศ. 2514 ได้ปลุกเร้าผู้ดำเนินการจัดทำวารสารให้เกิดวิริยะในการมุ่งมั่นสรรค์สร้างงาน “วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น”เพื่อหวังให้เป็นวารสารปฐมฤกษ์แห่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ถ้อยคำแห่งบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่เปี่ยมล้นด้วยความหมายอันทรงพลัง เสมือนดั่งเสริมความแกร่งแห่งชีวิต ได้สถิตเป็นขวัญและกำลังใจในการต่อสู้กับภาระอันใหญ่หลวงโดยไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคใด ๆ แต่ด้วยบริบทในการก่อตั้งวารสารที่มีกระบวนการที่สลับซับซ้อน และเป็นงานที่เกี่ยวกับเอกสาร จึงต้องพิจารณาอย่างละเอียดรัดกุม ประกอบกับประสบการณ์ในการทำงานด้านวารสารยังอ่อนด้อยคล้ายเด็กที่หัดเดิน จึงก่อความยุ่งยากในการเดินหน้าต่อไปอยู่มิใช่น้อย มีบางครั้งที่เกิดหดหู่ท้อถอย เกิดฟุ้งซ่านจนไม่สามารถเรียบเรียงความคิดในการจัดการความสำคัญของงานให้ลำดับก่อนหน้าหลังได้นั่นหมายถึง นิวรณ์อันเป็นเครื่องกั้นขวางมิให้บรรลุความดีเข้ามาครอบงำเหนือจิตตกัมมัญญตาเสียสิ้นแล้ว ส่งผลให้ใช้เวลาอยู่กับการตั้งสติเพื่อขับไล่ความอันธการให้พ้นจากวังวนแห่งความวิบากอยู่พอควร
อย่างไรก็ตาม ทุกสิ่งอย่างย่อมมีการเริ่มต้นดั่งดวงตะวันลับล่วงขอบฟ้าไปแล้ว ก็หวนคืนกลับมาเยือนกันใหม่ วารสารฉบับนี้ก็เช่นเดียวกัน อย่างไรเสียจะต้องมีการเริ่มต้นเพื่อจะได้มีก้าวต่อ ๆ ไป ถูกต้องที่สุดกับสุภาษิตที่ว่า “คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย” เป็นการเตือนสติให้ร่วมกันทำงานอย่างเป็นทีมจะให้สถานการณ์ที่ดียิ่งกว่า เมื่อคิดได้ดังนี้จึงเกิดทีมงานก่อตั้งวารสารขึ้น โดยร่วมประชุมตกลงกันเพื่อเร่งแข่งกับเวลาให้วารสารฉบับปฐมฤกษ์แห่งคณะนิติศาสตร์ได้สำเร็จ ดังนั้นการศึกษาปัจจัยทุก ๆ ด้านของการก่อตั้งวารสารการพยายามศึกษาทำความเข้าใจและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เพื่อให้เข้าสู่ผลการประเมินคุณภาพวารสารในฐานข้อมูลในฐาน TCI จึงเป็นโจทย์ท้าทายความสำเร็จอยู่ตลอดเวลา นับแต่ผู้เขียนและทีมงานได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่แบกรับภาระอันสำคัญยิ่งในครั้งนี้
คณะนิติศาสตร์ ก่อตั้งมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2547 ปัจจุบันคณะนี้ได้เติบโตขึ้นตามลำดับ มีคณาจารย์หลายท่านได้เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และอีกหลายท่านได้ไปศึกษาระดับปริญญาเอกทั้งในและต่างประเทศ ตลอดถึงเหล่าบัณฑิตจำนวนมากที่จบการศึกษาแล้ว ได้ออกไปประกอบสัมมาอาชีพอยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จอีกระดับหนึ่งที่นำมาซึ่งความภาคภูมิใจแก่คณะนิติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งอนาคตจะมีการเปิดหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิตซึ่งคงจะไม่ไกลเกินฝันนัก การก่อตั้งวารสารประจำคณะจึงเปรียบเสมือนการสร้างหลังคาไว้เป็นที่คุ้มแดดกันฝนและเป็นรากฐานแห่งความมั่นคงให้กับบ้านของพวกเราชาวนิติศาสตร์ทุกคน ยิ่งกว่านั้น เพื่อเป็นศูนย์รวมให้นักวิชาการและบุคคลผู้สนใจทั่วไป ได้มีโอกาสปลูกต้นกล้าทางวิชาการให้งอกงามไพบูลย์อยู่บนผืนนาแห่งวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ครั้นสิ้นรอบหนึ่งเพียงครึ่งปีตามที่กำหนดระยะเวลาไว้ เมล็ดข้าวแห่งปัญญาจักออกรวงมาให้เก็บเกี่ยวเกิดเป็นคุณค่าตอบสนองแก่สังคมและชาติบ้านเมืองอย่างน่าภาคภูมิใจ
อนึ่ง เนื้อหาสาระของบทความในวารสารฉบับนี้มีอยู่ 7 เรื่อง และเป็นบทวิจารณ์หนังสืออีก 1 เรื่อง ทุกเรื่องผ่านการประเมินจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิอย่างครบถ้วน แม้ว่าบทความวารสารนี้จะมีเนื้อหาหลากหลายก็ตาม แต่ก็คงไว้อยู่บนพื้นฐานแห่งแนวทางพัฒนาด้านกฎหมายที่ทรงคุณค่าอีกทั้งในการเผยแพร่บทความในฉบับต่อ ๆ ไปนั้น ทางวารสารได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสังคมไทย จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการผดุงมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี อันเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ที่มีภาระมากมายหลายด้าน อาทิ การเชิดชูภูมิปัญญาท้องถิ่น การบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม การเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา นักการเมืองท้องถิ่น ให้มีจิตสำนึกประชาธิปไตย คุณธรรม จริยธรรมและความสามารถในการบริหารงานพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น เป็นต้น ด้วยการเปิดโอกาสให้คณาจารย์ นักวิชาการ ตลอดถึงประชาชนผู้ให้ความสนใจที่ฝักใฝ่ในผลงานวารสาร ได้มีโอกาสนำปัญหาหรือประเด็นต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนี้สร้างสรรค์เป็นบทความในแง่ของศาสตร์แห่งสังคม นำมาพิมพ์เผยแพร่ อาจนำมาสู่การโต้แย้งวิพากษ์ วิจารณ์ จนกระทั่งตกผลึก เป็นหนทางในการแก้ปัญหาให้กับสังคมได้อีกโสดหนึ่งด้วย
ประการสำคัญ วารสารวิชาการเพื่อรับใช้สังคมฉบับนี้ ย่อมเกิดขึ้นมิได้ถ้าไม่ได้รับความอนุเคราะห์จากครูผู้เป็นเมธีอันเปี่ยมด้วยความเมตตาท่านหนึ่งซึ่งหลังจากที่ผู้เขียนได้เข้าพบท่านและปรารภเรื่องการก่อตั้งงานวารสาร ท่านได้ให้คำแนะนำและถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ของท่านที่ดำรงตำแหน่งเป็นบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มาอย่างยาวนาน ทำให้แสงสว่างได้ปรากฏขึ้นท่ามกลางความมืดมนในมโนสำนึก ขับไล่ทุปปัญญาให้ห่างไกลจากใจผู้เขียนไปอักโข ประกอบกับ ก่อนหน้านี้ท่านได้ถ่ายทอดศิลป์และศาสตร์แห่งภาษาไทยให้แก่ผู้เขียนได้มีโอกาสรังสรรค์บทความนำผลงานวิชาการสู่เวทีวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในช่วงปีกลายที่ผ่านมา ถือได้ว่า เป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดสำนึก เล็งเห็นถึงคุณค่าในการจัดทำวารสารฉบับนี้ยิ่งขึ้น
แม้นว่า ผู้เขียนจะมีความมุ่งมาดปรารถนาให้งานวารสารเกิดผลสัมฤทธิ์สักเพียงใดก็ตาม หากไร้ซึ่งผู้คอยชี้นำแนวทาง คงยากยิ่งนักที่จะสำเร็จ ดุจเรือเดินทะเลที่ปราศจากเข็มทิศ อาจพุ่งชนเอากับหินโสโครกถึงขั้นอับปางลงได้ ฉะนี้ผู้เขียนจึงขอความเมตตาจากท่าน ให้ท่านกรุณาเป็นเสาหลักประดุจปริณายกด้วยการดำรงเป็นกองบรรณาธิการให้กับวารสารฉบับนี้ ท้ายที่สุด ท่านได้ตกปากรับคำ นำมาซึ่งความปีติยินดีให้กับผู้เขียนยิ่งนัก ครั้งหนึ่งในวาระการประชุมงานวารสาร ท่านให้โอวาทแก่ทุกคนว่า พึงตั้งมั่นอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยยึดหลักธรรม คือ พละ 5 อันได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา เพื่อเป็นแนวทางประคองจิตใจในขณะเจออุปสรรค ท่านเล่าถึงอัตชีวประวัติของท่านเมื่อต้องผจญกับปัญหานานัปการ นับแต่เริ่มต้นเข้าสู่วงการวิชาการจนกระทั่งไต่เต้าขึ้นมาเป็นศาสตราจารย์ว่า “ท่านไม่ได้โตอย่างเขียดที่พยายามก้าวกระโดดขึ้นไปจับเกาะที่ใดก็ได้ แต่ท่านใช้ความมุมานะเพียรพยายามอย่างค่อยเป็นค่อยไปต่างหากเล่าจึงสำเร็จ” ท่านได้ตักเตือนพวกเราต่อไปว่า “เมื่อปรารถนาจะเป็นนักวิชาการที่ดีมีคุณธรรมให้พึงระวังมาร 4 จำพวก ได้แก่ ธนมารา ศฤงคารมาราทุปปัญญามารา และอหังการมารา พวกมารเหล่านี้จะเป็นผู้เข้ามากั้นขวางคุณงามความดีในขณะปฏิบัติหน้าที่อยู่” ด้วยจิตเมตตาของท่านที่มอบความรู้ให้แก่ทีมงานวารสารประหนึ่งศิษย์ผู้มีครูที่พร้อมจะต่อสู้กับความเหนื่อยยากทั้งกายและใจ หวังให้ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงานที่ได้มุ่งประสงค์เอาไว้ด้วยการร่วมกันนำพาวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นให้พัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อรับใช้สังคมและท้องถิ่น ร่วมกันเชิดชูชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีให้เป็นที่เชื่อถือ ศรัทธา ของชาวลุ่มแม่น้ำตาปี และประชาชนคนทั้งประเทศ สมกับเจตนารมณ์ของครูผู้อยู่ในดวงใจของพวกเราตลอดไป
ขอขอบคุณ อาจารย์นนทชัย โมรา คณบดีนิติศาสตร์ อาจารย์ทศพรจินดาวรรณ รองคณบดีฝ่ายนโยบายและแผน ผู้มีส่วนผลักดัน ส่งเสริม และสนับสนุนให้วารสารฉบับนี้มีโอกาสก้าวสู่วงการวิชาการ ขอขอบคุณ ผศ.ดร.จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี อดีตคณบดีนิติศาสตร์ ผู้ริเริ่มให้เกิดวารสารประจำคณะ และนางสาวอัมพวรรณ หนูพระอินทร์ นักวิชาการวารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผู้ให้คำปรึกษาที่ดีเสมอมา ตลอดถึงเจ้าหน้าที่สำนักงานคณบดีนิติศาสตร์ที่ให้การสนับสนุนและขอขอบคุณนักวิชาการทุกท่าน ที่ยอมสละเวลาสร้างผลงานวิชาการให้เกิดขึ้น เบื้องหน้าต่อจากนี้ พวกเราจะพยายามอย่างเต็มที่จักทุ่มเททั้งพลังกายและพลังใจ เพื่อให้วารสารในฉบับต่อไปได้รับใช้สังคมในท้องถิ่นอย่างแท้จริง
ภูภณัช รัตนชัย