จริยธรรมการตีพิมพ์ (Ethics)

จริยธรรมของการตีพิมพ์(Publication Ethics)
วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

จริยธรรมการตีพิมพ์

            การดำเนินงานของกองบรรณาธิการวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ได้กำหนดจริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ สำหรับบรรณาธิการ ผู้ประเมินบทความ และผู้เขียนบทความ

สำหรับบรรณาธิการ (For Editor)

1.บรรณาธิการมีหน้าที่ในการพิจารณาคุณภาพของบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของตนเอง
2. บรรณาธิการต้องพิจารณาคัดเลือกบทความที่มีเนื้อหาทันสมัยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เพื่อเข้าสู่กระบวนการประเมินบทความ
3. บรรณาธิการต้องไม่นำข้อมูลของผู้เขียนและผู้ประเมินบทความไปเปิดเผยต่อบุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
4. บรรณาธิการต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยได้รับการเผยแพร่หรือตีพิมพ์มาก่อน
5. บรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนและผู้ประเมินบทความ
6. บรรณาธิการจะตอบรับการตีพิมพ์เผยแพร่ให้แก่ผู้เขียนบทความเมื่อผ่านกระบวนการประเมินบทความและแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยตามระยะเวลาที่สมควรและเหมาะสมเท่านั้น

สำหรับผู้ประเมินบทความ (For Reviewer)

1. ผู้ประเมินบทความมีหน้าที่ในการพิจารณาคุณภาพของบทความ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่อาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างเต็มศักยภาพ
2. ผู้ประเมินบทความต้องไม่นำข้อมูลของผู้เขียนหรือเนื้อหาของบทความไปเปิดเผยต่อบุคคลอื่น
3. ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบหากพบว่าส่วนใดของบทความเป็นการคัดลอกคล้ายกับผลงานของบุคคลอื่น
4. ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนบทความ

สำหรับผู้เขียน (For Author)

1.ผู้เขียนต้องเขียนบทความตามรูปแบบของวารสารที่กำหนดไว้
2. ผู้เขียนต้องรับรองว่าบทความที่ส่งมาเป็นผลงานของตนเองตามที่ระบุไว้จริง
3. ผู้เขียนต้องรับรองว่าบทความที่ส่งมาเป็นผลงานที่ไม่เคยเผยแพร่หรือตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
4. ผู้เขียนขอรับรองว่าบทความที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ได้ส่งมายังวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นเพียงแห่งเดียวเท่านั้น
5. หากทางวารสารได้พิจารณาบทความและผ่านการประเมินบทความจากผู้ประเมินบทความเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากผู้เขียนไม่แก้ไขตามข้อเสนอแนะจากผู้ประเมินบทความภายในเวลาที่กำหนดจนเกิดความล่าช้าเสียหายหรือผู้เขียนมีความประสงค์จะถอนบทความจากการรับพิจารณาตีพิมพ์ ผู้เขียนจะตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดกับวารสารเป็นจำนวนเงินเท่ากับเงินสมนาคุณที่ทางวารสารได้มอบให้แก่ผู้ประเมินบทความ