การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • กรณีผู้เขียนส่งบทความที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว และบทความดังกล่าวได้เข้าสู่กระบวนการจัดส่งให้ผู้ทรงแล้ว เจ้าของบทความต้องรับผิดชอบค่าตอบแทน
  • กรณีมีการขอยกเลิกบทความ / ถอนบทความ โดยที่บทความดังกล่าวส่งให้ผู้ทรงพิจารณาแล้ว เจ้าของบทความต้องรับผิดชอบค่าตอบแทน

คำแนะนำผู้แต่ง

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ  สุราษฎร์ธานี เป็นวารสารวิชาการที่มีมาตรฐานตามเกณฑ์วารสารวิชาการระดับชาติที่เผยแพร่ผลงาน บทความทางวิชาการ (Article) บทความงานวิจัย (ResearchArticle) บทความปริทัศน์ (ReviewArticle) วิจารณ์หนังสือ (BookReview) จดหมายถึงบรรณาธิการ (Letters totheEditor) และงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาตามคุณภาพบัณฑิตศึกษามีกำหนดตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับมกราคม - มิถุนายน และฉบับกรกฎาคม - ธันวาคม บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องจัดเตรียมอย่างถูกต้องสมบูรณ์ ตามมาตรฐานวารสารวิชาการ และผ่านการพิจารณาคุณค่าจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานิติศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยบทความละ 3 ท่านก่อนการตีพิมพ์

เกี่ยวกับผลงานที่จะรับ  

  1. เป็นบทความวิจัยและบทความวิชาการ สาขานิติศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวกับสังคมท้องถิ่นภาคใต้ รวมทั้งในประเทศไทยที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ (ถ้าได้รับการตอบรับที่จะให้ลง) หรือกำลังเสนอตีพิมพ์ในวารสาร รายงาน หรือสิ่งพิมพ์อื่นที่ใดมาก่อน
  2. ต้นฉบับเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ ถ้าเป็นผลงานการวิจัยที่เขียนภาษาไทยต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  3. เนื้อหา บทความหรือข้อคิดเห็นที่พิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
  4. ต้นฉบับต้องได้รับการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อยจำนวน 3 ท่านก่อนการตีพิมพ์
  5. เรื่องที่ได้รับตีพิมพ์จะได้รับค่าตอบแทนจากกองบรรณาธิการ
  6. วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น จะพิจารณารับต้นฉบับของสมาชิกที่ส่งมาลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นเท่านั้น

ประเภทของผลงานที่จะรับ

  1. บทความวิชาการ (Article)
  2. บทความงานวิจัย (Research Article)

การจัดเตรียมต้นฉบับ

  1. ต้นฉบับที่จะส่งต้องพิมพ์บนกระดาษขาวขนาด A5 เว้นระยะขอบ 1.5 x 1.5 เซนติเมตร ใส่เลขหน้ากำกับมุมบนขวาทุกหน้า (ยกเว้นหน้าแรก) ใช้แบบอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 14 ใส่หัวกระดาษขนาดตัวอักษร 11 เว้นว่างไว้ 3 บรรทัด
  2. การจัดต้นฉบับ ชื่อเรื่องให้จัดกึ่งกลาง ขนาดตัวอักษร 16 ตัวหนา ถ้าเป็นผลงานภาษาไทยต้องมีชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ
  3. ชื่อผู้เขียน จัดชิดขอบขวา ขนาดตัวอักษร 14 อยู่ถัดลงมาจากชื่อเรื่อง และใช้การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ (footnote) กำกับเหนือตัวอักษรสุดท้ายของนามสกุลสำหรับผู้เขียนเพื่อติดต่อ (Corresponding Author) และใส่ตำแหน่ง สถานที่ทำงาน ด้านล่างหน้ากระดาษ
  4. บทคัดย่อ (บทสรุป สำหรับบทความปริทัศน์) หากเป็นผลงานภาษาไทยต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 300 คำ ผู้เขียนควรกำหนด คำสำคัญ (Keywords) ของเรื่อง แต่ไม่เกิน 3 - 5 คำ
  5. เนื้อหาในบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความปริทัศน์ ประกอบด้วย ความนำ เนื้อหา และสรุป

            ในส่วนของบทความวิจัย ให้นำเอาเฉพาะประเด็นสำคัญของงานวิจัย โดยไม่ต้องมีหัวข้อที่ปรากฏตามรายงานวิจัย ที่ได้จากการวิเคราะห์กฎหมาย และคำตอบที่ได้มาจากการศึกษางานวิจัย พร้อมกับข้อเสนอแนะ ซึ่งอาจจะมีประเด็นเพิ่มเติมจากการศึกษาวิจัย เพื่อนำไปศึกษาค้นคว้าต่อไปได้อีก       

  1. เอกสารอ้างอิง เอกสารที่นำมาอ้างอิงควรได้มาจากแหล่งที่มีการตีพิมพ์ชัดเจน อาจเป็นวารสาร หนังสือหรือแหล่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตก็ได้ ทั้งนี้ผู้เขียนเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมดในการตีพิมพ์บทความเนื่องจากบทความที่มีการอ้างอิงไม่ถูกต้องจะไม่ได้รับการส่งต่อเพื่อพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จนกว่าการอ้างอิงเอกสารจะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง รูปแบบของการอ้างอิงเอกสารอยู่ในส่วนถัดไป ทั้งนี้ให้คัดสรรเฉพาะเอกสารอ้างอิงเท่านั้น (ไม่ใช่บรรณานุกรม)
  2. ถ้ามีภาพประกอบ กราฟ หรือตาราง ให้ใส่ประกอบไว้ในเนื้อเรื่อง ต้องมีชื่อ ที่มาของภาพ และเลขกำกับภาพ กราฟ ตาราง ตัวอักษรที่ปรากฏในภาพ กราฟ ตารางต้องเป็นตัวอักษรชนิดเดียวกับที่ใช้ในบทความ
  3. ความยาวของเรื่อง รวมภาพ ตาราง และเอกสารอ้างอิง ไม่ควรเกิน 25 หน้า สำหรับบทความขนาดยาวให้จัดเป็นตอนโดยมีรูปแบบดังที่กล่าวแล้ว
  4. ผู้เขียนต้องส่งต้นฉบับที่เป็นเอกสารจำนวน 1 ชุด และส่งผ่านระบบออนไลน์ ในรูปแบบ Word และ PDF มายัง https://www.tci-thaijo.org/index.php/llsj/index

 เอกสารอื่นที่ต้องแนบมาพร้อมต้นฉบับ

  1. แบบเสนอผลงานเพื่อลงพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งผู้เขียนทุกท่านต้องลงนามยืนยัน
  2. ไฟล์ต้นฉบับบทความ ขนาด A5

จัดส่งมายัง

            สำนักกองบรรณาธิการวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น

            อาคารคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

            272 หมู่ 9 ต.ขุนทะเล อ.เมืองสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี 84100

            โทร 077-913378 ต่อ 1615, 0943549708

            E-mail : [email protected]

 

บทความวิชาการ

บทความวิชาการ เป็นบทความที่เขียนขึ้นในลักษณะวิเคราะห์วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่ จากพื้นฐานทางวิชาการที่ได้เรียบเรียงจากผลงานทางวิชาการของตนเองหรือของผู้อื่น หรือเป็นบทความทางวิชาการที่เขียนขึ้น เพื่อเป็นความรู้ที่มีประโยชน์แก่วงวิชาการและบุคคลทั่วไป

บทความวิจัย

บทความวิจัย เป็นบทความที่มีการศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบ และมีความมุ่งหมายชัดเจน เพื่อให้ได้ข้อมูลหรือหลักการบางอย่างที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือการนำวิชาการมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ บทความวิจัย มีรูปแบบของการวิจัยตามหลักวิชาการ เช่น มีการตั้งสมมติฐาน หรือมีการกำหนดปัญหาที่ชัดเจนสมเหตุผล โดยจะต้องระบุวัตถุประสงค์ที่เด่นชัดแน่นอน มีการรวบรวมข้อมูล พิจารณาวิเคราะห์ ตีความและสรุปผลการวิจัย ที่สามารถให้คำตอบหรือบรรลุวัตถุประสงค์

บทความปริทรรศน์

บทความปริทรรศน์ เป็นบทความที่รวบรวมความรู้จากจากตำรา หนังสือ และวารสารใหม่ หรือจากประสบการณ์จากผู้นิพนธ์ มาเรียบเรียงขึ้น

บทบรรณาธิการ

 ข้อเขียนที่บรรณาธิการเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นอันเป็นแนวของวารสารเล่มนั้น ๆ

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและอีเมล์ผู้แต่งที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้ จะใช้เฉพาะวัตถุประสงค์การตีพิมพ์ในวารสารนี้เท่านั้น และจะไม่เผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์อื่น หรือเผยแพร่แก่บุคคลอื่น