การสืบทอดอำนาจทางการเมืองโดยมิชอบ
คำสำคัญ:
การสืบทอดอำนาจ, รัฐประหาร, ยึดอำนาจบทคัดย่อ
การสืบทอดอำนาจทางการเมืองของประเทศไทย เริ่มตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ. 2475 คณะเปลี่ยนแปลงการปกครองได้สืบทอดอำนาจยาวนาน 25 ปี จนกระทั่งถูกรัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์ เมื่อ พ.ศ. 2500 ต่อจากนั้น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพลถนอม กิตติขจร สืบทอดอำนาจต่อมาอีก 16 ปี จนเกิดเหตุการณ์วันมหาวิปโยคเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2517 ดูเหมือนจะเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ แต่เกิดเหตุการณ์รุนแรง เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ทหารทำรัฐประหารจัดตั้งรัฐบาลพลเรือน โดยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี มีแผนจะสืบทอดอำนาจนานถึง 12 ปี แต่บริหารราชการได้เพียง 1 ปี ก็ถูกยึดอำนาจและมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2521 ทำให้นักการเมืองเข้ามามีอำนาจเกิดทุจริตอย่างกว้างขวางทหารจึงเข้ามาทำรัฐประหารอีกครั้งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 จากนั้นจึงได้มีการเลือกตั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 โดยพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี และมีการประท้วง ว่าเป็นการสืบทอดอำนาจจนเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 นำไปสู่เรียกร้องให้ ปฏิรูปการเมือง กระทั่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 นักการเมืองได้ใช้ช่องว่างของรัฐธรรมนูญ เพื่อสืบทอดอำนาจจนเป็นเหตุให้เกิดรัฐประหาร ใน พ.ศ. 2549 ต่อมา พ.ศ. 2557 คณะที่ทำการรัฐประหารจัดตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ นำมาประกาศใช้เมื่อ วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 ดูเหมือนรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเอื้ออำนวยให้เกิดการสืบทอดอำนาจของคณะทหารโดยผ่านกระบวนการทางการเมืองในที่สุดประเทศไทยจะเกิดปัญหาทางการเมืองเหมือนที่ผ่านมาอีกต่อไป
References
2. Administrative Charter of the Kingdom. (1972). the government gazette. 89 (Special Issue 192 Kor).
3. Administrative Charter of the Kingdom. (1991). the government gazette. 108 (Special Issue 40 Kor).
4. Constitution of the Kingdom of Thailand (interim). (2006). the government gazette. 123 (Issue 102Kor).
5. Constitution of the Kingdom of Thailand (interim). (2014). the government gazette.131 (Special Issue 55Kor).
6. Constitution of the Kingdom of Thailand. (1991). the government gazette.108 (Special Issue 216Kor).
7. Constitution of the Kingdom of Thailand. (2007). the government gazette. 124 (Issue 47Kor).
8. Constitution of the Kingdom of Thailand. (2017). the government gazette. 134 (Issue 40Kor).
9. Kanok Wongtrangan. (1984). Politics in Thailand Democracy(Research No. 6).Bangkok: Chulalongkorn University.
10. Mark and F. Enqels. (1967). Communist Manifesto.A.J.P.Taylor (editor). Harmonds worth. Middlesex. Penguin
11. Nakhorn Phannarong. (1983). History of Thonburi and Rattanakosin. Bangkok: Ganesh.
12. Parliament Dissolution Royal Decree.(1983). the government gazette. 100 (Special Issue 30 Kor).
13. Parliament Dissolution Royal Decree.(1984). the government gazette. 103 (Special Issue 73Kor).
14. Sawang Lanleau. (1972). 37 Years of Bangkok’s Coup D’état. Bangkok: Ramkhamhaeng University.
15. Siri Premjit. US History from Ancient to Modern Era. Bangkok: PraePittaya.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น