อำนาจชอบธรรมของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในเมืองสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

กฤษณะ ทองแก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอำนาจชอบธรรมของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในเมืองสุราษฎร์ธานี ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสาร   และสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 9 กรณีศึกษา สัมภาษณ์กลุ่ม 1 ครั้ง ภายใต้ข้อถกเถียงที่ว่า  แม้สุราษฎร์ธานีจะเป็นเมืองใหม่ และไกลจากริมแม่น้ำโขง ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามก็มีศักยภาพในการสถาปนาอำนาจชอบธรรมได้


การวิจัยพบว่า ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามได้สถาปนาอำนาจชอบธรรมขึ้นในเมืองสุราษฎร์ธานี ผ่านสิทธิอำนาจ 3 รูปแบบ อันได้แก่ รูปแบบแรก คือ สิทธิอำนาจบุญบารมีที่มีการประกอบอาชีพด้วยความขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน จนได้รับการยอมรับ  ในการประกอบอาชีพเครื่องทำความเย็นกว่า 40 ปี ร้านตัดเย็บเสื้อผ้ากว่า 20 ปี และการรักษาผู้คนจนได้รับความไว้วางใจในฐานะหมอญวน รูปแบบที่สอง คือ สิทธิอำนาจประเพณีที่นำเอาอาหารซึ่งเป็นวัฒนธรรมและประเพณีของชาวเวียดนามมาเผยแพร่ ในเมืองสุราษฎร์ธานี จนได้รับการยอมรับและมีผู้ทำหน้าที่สืบสานภาษาเวียดนามในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในเมืองสุราษฎร์ธานีที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จากรัฐบาลสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และรูปแบบสุดท้าย คือ สิทธิอำนาจตามกฎหมายที่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลไทยในฐานะผู้แทนชาวเวียดนาม เพื่อทำหน้าที่ประสานงานระหว่างหน่วยงานราชการกับชาวเวียดนาม การได้รับการยอมรับจากโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีในการเข้าไปทำประโยชน์ให้สังคมในบทบาทของจิตอาสา และได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่อาสาสมัครคุมประพฤติในจังหวัดสุราษฎร์ธานี


กรณีดังกล่าว อำนาจชอบธรรม จึงเปรียบเสมือนแบบอย่างในการพัฒนาเยาวชน และบุคคลในสังคมให้ก้าวเดินไปได้อย่างถูกต้องดีงาม เกิดความชอบธรรมต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Chairith, W. (2010). The Socio-economic and political relationship between Vietnamese immigrants and the local Thais in Phatthalung. Master Thesis, Graduate School. Chaing Mai: Chiang Mai University.

2. Coser, L. A.. (2004). Masters of Sociological Thoughts. Bangkok: Vithitath Publisher.

3. Donsom, J. (2008).The ethnic identity construction of the Vietnamese Thai in BanNaJok. KhonKaen: KhonKaen University.

4. Khuntalay Self-help Community Office. Khuntalay Self-help Community. Document. Suratthani.

5. Poole. (1970). The Vietnamese in Thailand A Historical Perspective. Inthaca and London: Cornell University.

6. Sripana Trinh Dieu Thin. (2005). Viet Kieu in ThailandinThai-Vietnamese relationship. Bangkok: Chulalongkorn University.

7. Thongkaew, K and Others. (2014, July). Viet kieu : Family mobility based on the motherland shrine. Journal of Humanities and Social SciencesSuratthani Rajabhat University, 6(2).

8. Thongkaew, K and Others. (2014, September). Legitimate Power and Authority in Social Mobility of Vietnamese Thai. Journal of Mekong Societies, 10(3).

9. Thongkaew. K and Others. (2016, November) Conditions Affecting Social Mobility of the Vietnamese Family in Thai Society. TheSocial Sciences. 11(3).

10. Thongrungroj, J. (2017). English-Thai Dictionary of Sociology. Bangkok: Saengdown.

11. Tosakul R. (2005). Concept of Power. Bangkok: National Research Council of Thailand.

List of interviewees

1. Interview Ting Dung Kwuang. 1 May 2017.

2. Interview Eian NguyenThi. 6 May 2016.

3. Interview Eian NguyenThi, Kanitta Janekamthorn, jae Weewan. 7 May 2016.

4. Interview Uthai Tokong. 6 May 2017.

5. Interview Kanitta Janekamthorn. 6 May 2017.

6. Interview Payon Lewan. 6 May 2017.

7. Interview Kawee Panwan. 29 April 2017.

8. Interview Tham Leviet. 1 May 2017.