ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560

Main Article Content

พัฒนะ เรือนใจดี
มารุตพงศ์ มาสิงห์

บทคัดย่อ

พรรคการเมือง ถือว่ามีบทบาทอย่างมากในประเทศที่มีรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ถือได้ว่าพรรคการเมืองนั้นเป็นสถาบันทางการเมือง ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในฐานะที่เป็นพาหนะ ในการทำหน้าที่ขับเคลื่อน วิถีทางการเมืองของประเทศ นอกจากนั้นพรรคการเมืองยังทำหน้าที่ สำคัญในการเปลี่ยนตำแหน่ง   ในการเข้ามาบริหารประเทศอย่างสันติ โดยเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นต้องการที่จะให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองได้โดยง่าย


            หากกฎหมายรัฐธรรมนูญดีก็จะทำให้กฎหมายพรรคการเมืองดี แต่กฎหมายพรรคการเมืองปัจจุบันมีบทบัญญัติว่าด้วยการยุบพรรคการเมืองมากซึ่งไม่เป็นผลดีต่อระบบรัฐสภา เพราะการเมืองระบบรัฐสภาเป็นระบบการเมืองที่ให้ความสำคัญ      กับพรรคการเมือง เพราะพรรคการเมืองเป็นหัวใจของระบบรัฐสภา หากพบว่ามีบทบัญญัติที่ให้ยุบพรรคการเมืองมาก ๆ นั่นคือ ระบบที่ทำลายพรรคการเมืองทำลายระบบรัฐสภา


ดังนั้น จึงต้องมีข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 จะต้องปรับปรุงในมาตราที่ไม่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าวข้างต้น


พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 85, มาตรา 85 ประกอบ มาตรา 33 (1), มาตรา 85 ประกอบ มาตรา 33 (2), มาตรา 85 (4), มาตรา 85 (5), มาตรา 85 (6), มาตรา 85 (7), มาตรา 86 (1), มาตรา 86 (2), มาตรา 20 วรรค 2, มาตรา 28, มาตรา 30, มาตรา 36, มาตรา 44, มาตรา 45, มาตรา 46, มาตรา 66, มาตรา 68, มาตรา 86 (4) ประกอบ หมวด 5 ว่าด้วย  การควบรวมพรรคการเมือง


จึงเป็นข้อสังเกตที่สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปรับปรุงในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 เพื่อให้สอดคล้องกับระบบรัฐสภาต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กนก วงษ์ตระหง่าน. (2536). พรรคการเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

โกเมศ ขวัญเมือง. (2543). กฎหมายว่าด้วยระบบพรรคการเมือง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปรีชา หงส์ไกรเลิศ. (2522). พรรคการเมืองและปัญหาพรรคการเมือง. กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพาณิช จำกัด.

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541.

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550.

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560.

พัฒนะ เรือนใจดี. (2552). กฎหมายพรรคการเมือง (LW 412). โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิสุทธ์ โพธิ์แท่น. (2526). พรรคการเมือง: ทารกที่ไม่มีโอกาสเติบโต. วารสารนิติศาสตร์, ปีที่ 13 (3).

สนิท จรอนันต์. 2546. การเลิกหรือยุบพรรคการเมือง: ศึกษากรณีคำร้องที่มาสู่ศาลรัฐธรรมนูญ”. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

สมยศ เชื้อไทย และ วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. 2517. แนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย. เอกสารสรุปผลการสัมมนา การสัมมนาวิชาการระดับประเทศในวาระครบรอบ 50 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง ปัญหารัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองในสภาวะ การณ์ ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: มิตรนราการพิมพ์.

สิทธิพันธ์ พุทธหุน. 2519. Party Identification กับ การพัฒนาทางการเมือง.กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.

สุขุม นวลสกุล และวิศิษฐ์ ทวีเศรษฐ์. 2535. การเมืองและการปกครองไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.