การนำหลักสุจริตมาใช้กับการให้ความเห็นทางกฎหมายภาษีอากรของเจ้าหน้าที่รัฐ

ผู้แต่ง

  • สัจจวัตน์ เรืองกาญจน์กุล รักษาการหัวหน้าสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

หลักสุจริต, กฎหมายภาษีอากร, เจ้าหน้าที่รัฐ

บทคัดย่อ

              การให้ความเห็นของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีต่อผู้เสียภาษีอากร หรือการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเสียภาษีอากรมีความสำคัญอย่างยิ่ง ถึงแม้มิใช่เป็นการสั่งการให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดต้องเสียภาษีอากรหรือได้รับสิทธิไม่ต้องเสียภาษีก็ตาม แต่เมื่อประชาชนผู้เสียภาษีอากรได้ขอความเห็น หรือหารือว่าตนเอง หรือกิจการของตนเองต้องเสียภาษีอากรหรือไม่ เจ้าหน้าที่รัฐอาจตอบ หรือให้ความเห็นที่ไม่ถูกต้องชัดเจนจนทำให้ผู้เสียภาษีอากรต้องแบกรับภาระภาษีมากเกินไปเช่นนี้ ผู้เสียภาษีอากรสามารถนำหลักสุจริตมาอ้าง หรือโต้แย้งความเห็น หรือเหตุผลในการประเมินจัดเก็บภาษีอากรของเจ้าหน้าที่รัฐ หรือปฏิเสธที่จะไม่เสียภาษีอากรได้ หรือไม่โดยการศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการนำเอาหลักสุจริตมาใช้ในทางกฎหมายภาษีอากรของไทยเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศและวิเคราะห์ผลรวมถึงการเสนอแนะแนวทาง หลักเกณฑ์ของการนำหลักสุจริตมาใช้ในการให้ความเห็นทางกฎหมายภาษีอากรของเจ้าหน้าที่รัฐที่เหมาะสม

            จากการศึกษาพบว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมันและฝรั่งเศส โดยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทยพบว่ามีความแตกต่างในหลายบางประการ ซึ่งหลักสุจริตในบริบทประเทศไทยก็ได้ปรากฏในกฎหมายแพ่งเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น การนำหลักสุจริตมาใช้กับการให้ความเห็นของเจ้าหน้าที่ในทางกฎหมายภาษีอากรนั้นจึงสามารถนำมาปรับใช้ได้โดยอาจนำเอากฎหมายว่าด้วยการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐมาบังคับใช้ แต่ก็มีอุปสรรคหลายประการ ซึ่งงานวิจัยเล่มนี้ได้เสนอแนวทางและวิธีการที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย และเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษีอากรและเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐต่อไป

References

คำวินิจฉัยคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ 48/2548 ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2548 [Online], เข้าถึงได้จาก http://www.supr esd mecourt.or. th. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2560.

นารีมาน รักธรรม. (2549). การนำหลักสุจริตมาใช้ในกฎหมายภาษีอากร. วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พงษ์อาจ ตรีกิจวัฒนกุล. (2525). กฎหมายปิดปาก. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรีดี เกษมทรัพย์. (2526). หลักสุจริตคือหลักความซื่อสัตย์และความไว้วางใจ. ใน หนังสือรวบรวมบทความอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ รศ.ดร.สมศักดิ์ สิงหพันธ์. ม.ป.ท..

สมยศ เชื้อไทย. (2530, มิถุนายน). การกระทำทางปกครอง. วารสารนิติศาสตร์, ปีที่ 17 (ฉบับที่3), หน้า 61 - 62.

สรรพากรสาส์น. (2550). สถานะทางกฎหมายของหนังสือตอบข้อหารือกรม สรรพากร [Online]. เข้าถึงได้จาก http://www.pattanakit.net/. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2560

โสภณ บำเทิงเวชช์. (2548). ปัญหาการจัดทำข้อตกลงการกำหนดราคาเป็นการล่วงหน้าตามประมวลรัษฎากร. สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิตมหา วิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Bryan A. Garner. (2004). Black,s Law Dictionary. 8th ed. (St.Paulminn: West Publishing,).

Friedrich K. Juenger. (Apri 1995). “Listening to Law Professor Talk about Good Faith: Some after Thought.” Tulane Law Review.

J.F. O’ Connor. (1991). Good Faith in International Law. England: Dartmouth Publishing Company Limited.

LAW.COM. ค้นหาข้อกำหนดและคำจำกัดความทางกฎหมาย. [Online]. เข้าถึงได้จาก http://dictionary.law.com/. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11/15/2018