ปัญหาผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550: ศึกษากรณีการรับโทษตามกฎหมายอื่น*

Main Article Content

วุฒิไชย ทองเสภี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผู้กระทำความรุนแรงแก่บุคคลในครอบครัวที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดไม่เกินหกเดือน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ให้ดำเนินคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัวที่มีเขตอำนาจ แต่ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ไม่มีความผิดตามกฎหมายอื่นร่วมด้วย ถ้าการกระทำดังกล่าวมีความผิดตามกฎหมายอื่นและมีอัตราโทษจำคุกเกินกว่าหกเดือน จะต้องดำเนินคดีต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาความผิดตามกฎหมายอื่น        ซึ่งมีศาลจังหวัด ศาลอาญา เป็นอาทิ


การค้นคว้าครั้งนี้ ได้ทำวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสาร ผลจากการศึกษาพบว่า เมื่อผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว ต้องถูกดำเนินคดีต่อศาลอื่น    ที่มีคดีคั่งค้างอยู่จำนวนมาก ระบบวิธีพิจารณาคดีมีขั้นตอนยุ่งยาก มีแนวคิดตัดสินผู้กระทำผิดเชิงลงโทษเพื่อให้หลาบจำ ยิ่งกว่าหวังฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้กลับไปเริ่มชีวิตในครอบครัวได้อีกครั้ง จึงเป็นการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ถูกต้องตรงประเด็น


            ปัญหาดังกล่าว จึงควรแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับนี้โดยการเพิ่มอัตราโทษจำคุกสูงสุดไม่เกินสามปี ให้ดำเนินคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัวที่มีเขตอำนาจ     ถ้าการกระทำผิดมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี และเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย ให้พิจารณาคดีความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัวกับความผิดตามกฎหมายอื่น ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ซึ่งมีผู้พิพากษาเป็นผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเหมาะสมยิ่งกว่าศาลอื่น หากในทางพิจารณาถ้าอัตราโทษจำคุกเกินกว่าสามปี ซึ่งน่าจะกระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง         ยากแก่การฟื้นฟู จึงควรเป็นหน้าที่ของศาลอื่นจะนำไปพิจารณา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัว LAW 304. “กฎหมายครอบครัวไทย” หน้า 2. เข้าถึงได้จาก http://e-book.ram.edu/e-book/l/LsfjkW304tre (48)/L W304(48) 1.pdf. สืบค้นเมื่อ18 มิถุนายน 2560.

กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ “ประวัติองค์การสหประชาชาติ”. เข้าถึงได้จาก http://www.mfa.go.th/thiintero rg/th /organ ize /72195 -UN.html. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2560.

. “สนธิสัญญาด้านหลักสิทธิมนูษยชน”. เข้าถึงได้จาก http://hmnright s.mfa.go.th/thhumanrights/obligation/international-human-righ mechanism/. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2560.

กรุงเทพธุรกิจ “เผยความรุนแรงเด็ก-สตรี พุ่งสูงขึ้นทุกปี” เข้าถึงได้จาก http://ww w.bang kokbiznews.com/news/detail/4771. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2560.

กลุ่มงานบริการประชาชนและประชาสัมพันธ์ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพิษณุโลก “ความรุนแรงในครอบครัว”. เข้าถึงได้จาก http://www.psljc .co j.go .th/doc /data/psljc/psljcfgd1469093734.pdf. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2560.

เกษม ศิริสัมพันธ์. “ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย”. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539. (อัดสำเนา).

ประมวลกฎหมายอาญา.

ประสพสุข บุญเดช. (2541). “ คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว”. กรุงเทพฯ: นิติบรรณาการ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550.

พลประสิทธิ์ ฤทธิ์รักษา. “ข้อคิดเกี่ยวกับสตรีไทย เมื่อสามีจดทะเบียนสมรสซ้อน,” วารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช. (4 มิถุนายน 2535).

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ องค์การมหาชน “ปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย”.เข้าถึงได้จาก http://www.mwit.ac.th/~jat/contents/301655 58702/ 303 01.htm สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2560.

วิมลศิริ ชำนาญเวช. “การสมรสกับคนต่างด้าว” วารสารนิติศาสตร์ธรรมศาสตร์, 26 ฉบับที่ 2 มิถุนายน 3539.

สารานุกรมไทยฉบับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “สาเหตุของการชำระกฎหมายตราสามดวง”. เข้าถึงได้จาก http:// kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=30&chap= 4&page =t30-4-infodetail03.htm. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2560.

สุภัทร แสงประดับ. (2559). “การดำเนินคดีความรุนแรงในครอบครัวตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550: ศึกษาเฉพาะกรณี ปัญหาการดำเนินการในชั้น พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานกิจการสตรีและ สถาบันครอบครัว”วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ (ฉบับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ 1 ฉบับที่ 1. หน้า 116 - 117.

แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2551). หลักกฎหมายอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, เปิดสถิติความรุนแรงภัยร้ายฆ่า ครอบครัว. เข้าถึงได้จาก http://www.thaihealth.or.th/Content /38964-เปิดสถิติความรุนแรงภัยร้าย %20ฆ่า%20ครอบครัว.html. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2560.

อุมามน พวงทอง พญ.“ความรุนแรงในครอบครัวกับผลกระทบทางด้านจิตเวช” มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว. เข้าถึงได้จาก http://www.fa milyne twork .or.th/newn ode/15717. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2560.