ปริทัศน์หนังสือทางสู้ในชีวิต
บทคัดย่อ
นักอ่านรุ่นเก่าน้อยคนนักที่ไม่รู้จัก พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ ทั้งในฐานะนักคิด นักเขียน นักการทูต และรัฐมนตรีอีกหลายกระทรวง ท่านเป็นผู้ที่ไต่เต้าชีวิตขึ้นมาด้วยลำแข้งของตนเอง โดยใช้ความอุตสาหวิริยะ ขยันหมั่นเพียรอย่างยิ่ง
“...ข้าพเจ้ามีความจำเป็นต้องต่อสู้กับความยากจนในชีวิต...ของทุกสิ่งทุกอย่างที่จำเป็นในชีวิตของข้าพเจ้าเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าต้องจัดหาเอง ไม่มีใครมาหยิบยกให้ แต่โดยความพยายาม ซึ่งข้าพเจ้ามีอยู่ไม่แพ้มนุษย์ใด ๆ ประกอบกับความจำเป็นบังคับให้ข้าพเจ้าต้องพยายาม ข้าพเจ้าจึงสามารถทำความเจริญให้แก่ตัวได้บ้าง”
ถ้อยคำจากประวัติของท่านดังกล่าวให้ภาพว่า ในบรรดาผู้ที่ประสบความสำเร็จแถวหน้า ไม่มีใครได้มาง่าย ๆ หรือได้มาแบบโชคดีโดยบังเอิญ เพราะนั่นไม่ใช่ความสำเร็จที่แท้จริง คนที่ได้อะไรมาง่าย ๆ มักจะไม่รู้จักรักษาสิ่งเหล่านั้นให้อยู่กับตนอย่างยาวนาน คนที่ฝ่าฟันอุปสรรคมาอย่างยากลำบาก จะเห็นคุณค่า และภาคภูมิใจในความสำเร็จของตน คนเหล่านี้รู้จักที่จะรักษาความสำเร็จนั้นให้อยู่กับตนตลอดไป คุณลักษณะของผู้ที่ประสบความสำเร็จจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ สภาพครอบครัว สภาพสังคม รวมถึงสภาพแวดล้อมทุกอย่างที่ตนกำลังเผชิญกรณีของหนังสือ “ทางสู้ในชีวิต” เล่มนี้ เมื่อได้อ่านแล้ว เห็นได้ว่า เป็นบทเรียนอย่างยอดเยี่ยม เป็นตัวอย่างแห่งการต่อสู้ การสร้างอนาคต นับเป็นบันได แห่งความสำเร็จรุ่งโรจน์ในชีวิตโดยแท้ และ“ทางสู้ในชีวิต” เป็นการเรียนเรื่องชีวิต และการเรียนเรื่องชีวิตนั้น เป็นบทเรียนที่ดีที่สุด ก็คือชีวิตของมนุษย์ที่มีตัวจริง
ในบรรดาผลงานเขียนของ หลวงวิจิตรวาทการ อันเป็นที่รู้จักและเป็น ที่ยอมรับ ชื่นชมยินดี จากนักอ่านจำนวนมหาศาล นอกจากงานเขียนเชิงประวัติศาสตร์ นวนิยาย และบทละครแล้ว ยังมีงานอีกแนวหนึ่งซึ่งโดดเด่นเป็น ที่กล่าวขวัญถึงอย่างกว้างขวาง เห็นได้จากแต่ละเรื่องต้องพิมพ์ซ้ำหลายครั้งเรื่อยมา ถึงปัจจุบันนับว่างานก็ยังคงทรงคุณค่า เป็นอมตะงานดังกล่าว ได้แก่ มันสมอง กุศโลบาย มหาบุรษพุทธานุภาพกับจิตตานุภาพ วิชชาแปดประการ ความฝัน วิธีทำงานและสร้างอนาคต กำลังใจ กำลังความคิด กุศโลบายสร้างความยิ่งใหญ่ และ “ทางสู้ในชีวิต” ก็รวมอยู่ในงานเขียนกลุ่มนี้
References
สมประสงค์ บุญยะชัย. (2554). รู้คิดชีวิตสร้างสรรค์ได้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:
แปลนพริ้นติ้ง จำกัด.
ฮอนดะเคน. (2017). คิดแบบยิวทำแบบญี่ปุ่น. (บรรเจิด ชวลิตเรืองฤทธิ์, ผู้แปล).
กรุงเทพฯ: วีเลิร์น ในเครือบริษัทวีเลิร์น จำกัด.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น