การลดความผิดทางอาญาของยาเสพติด และการลดอันตรายจากการเสพยาเสพติด

ผู้แต่ง

  • ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ

บทคัดย่อ

สารเสพติด ถูกใช้ในวงการแพทย์เพื่อการรักษามาอย่างยาวนาน ในขณะเดียวกันก็ถูกใช้ในการแสวงประโยชน์ทางการเงินจากผู้เสพติดด้วย อันนำมาซึ่งอาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับทรัพย์ จนท้ายที่สุด องค์การสหประชาชาติได้มีมติที่จะต้องกำจัดยาเสพติดให้สิ้นไปจากมวลมนุษยชาติ หรือ the zero-tolerance approach โดยกำหนดเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศ เช่น Single Convention on Narcotic Drugs of 1961, Amended in 1972[1] (ซึ่งจะเรียกว่า อนุสัญญา 1961), The Convention on Psychotropic Substances, 1971 (ซึ่งจะเรียกว่า อนุสัญญา 1971)1[2] และ United Nations Convention Against Illicit Traffic in Narcotic Drugs and Psychotropic Substances of 1988 (ซึ่งจะเรียกว่า อนุสัญญา 1988)[3] ให้ประเทศภาคีสมาชิกร่วมกันดำเนินการกำจัดยาเสพติดและขจัดความทุกข์ทรมานของผู้ติดยาเสพติดให้สิ้นไป   

          อนุสัญญาดังกล่าวได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกจะต้องออกกฎหมายกำหนดฐานความผิดและโทษอาญารุนแรงที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติดมาเป็นเวลายาวนาน แต่การบังคับใช้กฎหมายกลับไม่ได้ผลตามเป้าหมาย zero-tolerance approach แต่ประการใด ในทางตรงกันข้ามกลุ่มประเทศยุโรปโดยเฉพาะโปรตุเกสได้ใช้นโยบายลดความผิดทางอาญาของยาเสพติดลง (Decriminalization) ควบคู่กับนโยบายรักษาผู้ติดยา       ภาคสมัครใจและเป็นความลับ (Harm reduction process) โดยไม่มีกระบวนการทางคดีอาญาด้วยแต่ประการใด แต่ทำให้จำนวนผู้ติดยาเสพติดและผู้ติดเชื้อ HIV ลดลงด้วย แต่ในประเทศที่ประกาศสงครามกับ  ยาเสพติดอย่างรุนแรงจะมีแต่การเสียงบประมาณพร้อมกับชีวิตประชาชนจำนวนมาก ดังที่เกิดในประเทศ Mexico ในช่วงปี ค.ศ. 2006 - 2010 ที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 30,000 ราย สำหรับประเทศไทย ได้ยึดถือทั้งสองแนวทาง ตั้งแต่การเพิ่มโทษเกี่ยวกับยาเสพติดให้รุนแรงยิ่งขึ้น และบังคับให้ผู้เสพและผู้จำหน่ายรายย่อยเข้ารับการบำบัด[4] แต่ดูเหมือนไม่มีสัญญาณบ่งชี้ถึงความสำเร็จแต่ประการใด ผู้เขียนเห็นว่า การรักษาภาคสมัครใจโดยไม่มีกระบวนการทางอาญาเข้าไปเกี่ยวข้องจะลดปัญหายาเสพติดในสังคมไทยได้ การนำแนวคิดว่าด้วย Decriminalization and harm reduction มาใช้ในสังคมไทย จึงจำเป็นสำหรับสังคมไทย บทความนี้ ได้นำแนวคิดในการลดการเป็นความผิดมากล่าวไว้พอสังเขป ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดได้ในรายงานวิจัยที่เสนอต่อสำนักงาน ป.ป.ส. ต่อไป

References

Cindy Fazey, THE UN DRUG POLICIES AND THE PROSPECT FOR CHANGE, [Online]. Available at: http://www.fuoriluogo.it/arretrati/2003/apr_17_en.htm

Decriminalization in Europe? ใน http:///eldd.emcdda.org

International – Drug Control Policies Around the World, [Online]. Available at: http://drugwarfacts.org/cms/?q=node/1112

International – Drug Control Policies Around the World, pp.413-422 [Online]. Available at: http://drugwarfacts.org/cms/?q=node/1112

International Harm Reduction Association, The Global State of Harm Reduction 2010, Harm Reduction in Latin America , p.44 [Online]. Available at: http://www.ihra.net/print/245

Gleen Greenwald, DRUG DECRIMINALIZATION IN PORTUGAL: LESSONS FOR CRATING FAIR AND SUCCESSFUL DRUG POLICIES, (WASHINGTON, D.C., 2009)

Mike Trace, et al, Reclassification of Cannabis in the United Kingdom, The Beckley Foundation Drug Policy Program, A Drugscope Briefing Paper, No.1 (May 2004)

Transnational Institute, Drug and Democracy, Drug Law Reform in Latin America. [Online]. Available at:http://www.druglawreform.info/index.php?option=com_flexicontent&view=category&cid= 105&Itemid =18&lang=en

United States, House of Representative, Legislation, Available at: http://uscode.house.gov/download/pls/21C13.txt [21 U.S.C.§§ 801 et seq. ]

United States, Ministry of Justice, Drug Schedule, Available at: http://www.justice.gov/dea/pubs/scheduling.html

United States Department of State, Bureau for International Narcotics and Law Enforcement Affairs, International Narcotics Control Strategy Report: Volume I Drug and Chemical Control, March 2011, [Online]. Available at: http://www.state.gov/documents/organization/156575.pdf, (last visited May 31, 2011)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/20/2017