แนวทางการพัฒนาระบบการจัดเก็บภาษีมรดกเฉพาะที่เกี่ยวกับโรงเรือนและที่ดิน ตามร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

Main Article Content

จินตนา อุณหะไวทยะ

บทคัดย่อ

การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า “ปัญหาความเหลื่อมล้ำ” ไม่ว่าจะเป็นในทางเศรษฐกิจ สังคม หรือการเมือง ก็ยังคงดำรงอยู่ควบคู่กับสังคมไทยมาโดยตลอด เครื่องมือทางการคลังเป็นเครื่องมือหนึ่งในการช่วยทำให้เกิดความเท่าเทียมกันของคนในสังคม ซึ่งรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ทั้งนโยบายทางด้านรายรับและนโยบายทางด้าน รายจ่าย การปฏิรูปภาษีด้วยการจัดเก็บ “ภาษีทรัพย์สิน” นับว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งในการลดความ เหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคม และยังสามารถสร้างรายได้ให้กับรัฐอีกด้วย ซึ่งประเทศต่าง ๆ ในโลก ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศกำลังพัฒนา ได้มีการจัดเก็บภาษีประเภทนี้ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินอย่างแท้จริง การนำเสนอการปฏิรูปภาษีของรัฐบาล โดยเฉพาะภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และภาษีมรดก จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจว่า การจัดเก็บภาษีทั้งสองประเภทนี้จะทำให้เกิดผลอย่างไรบ้างต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชน คนกลุ่มไหนจะเป็นผู้ที่ต้องชำระภาษี และคนกลุ่มไหนจะได้ประโยชน์จากภาษีดังกล่าว บทความนี้จะนำเสนอโดยเริ่มจากการให้ภาพการกระจุกตัวของความมั่งคั่งในสังคมไทย เพื่อจะได้ทราบว่าการถือครองทรัพย์สินของคนในประเทศไทยมีลักษณะการกระจุกตัวหรือมีการกระจายตัวอย่างไร ส่วนที่สองว่าด้วยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจะกล่าวถึงหลักการและเหตุผลในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และผลที่จะเกิดขึ้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินฯ ส่วนที่สามว่าด้วยภาษีมรดก โดยกล่าวถึงหลักการในการจัดเก็บภาษีมรดก การจัดเก็บภาษีมรดกในประเทศไทย และผลที่จะ เกิดขึ้นจากการจัดเก็บภาษีมรดก ส่วนสุดท้ายจะกล่าวถึงความเห็นต่อภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและภาษีมรดก

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ศ.การคลังว่าด้วยการจัดสรรและการกระจาย, พิมพ์ครั้งนี้ ๖
(กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,๒๕๔๑) หน้า, ๓๒๒-๓๒๔.

กลุ่มสารนิเทศการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง.(๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๙).๒๐ คำถาม ภาษีที่ดิน
และสิ่งปลูกสร้าง. สืบค้น ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๙ จาก
http:www.thaigov.go.th/index.php/th/news-ministry/๒๐๑๒

ครม.เห็นชอบร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง.(๗ มิถุนายน ๒๕๕๙).กรุงเทพธุรกิจออนไลน์.สืบค้น
๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ จาก http://www.bangkokbiznews.com/com/news/detail/๗๐๑๔๒๑

โครงสร้างภาษีที่ดินใหม่เริ่มใช้ปี ๒๕๖๐ คาดรายได้ท้องถิ่นปีแรก ๖.๔ หมื่นล้าน-ที่ดินรกร้างถ้าไม่ทำ
ประโยชน์ปรับใหม่ทุก ๓ ปี.(๘ มิถุนายน ๒๕๕๙).Thaipublica.สืบค้น ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๐.จาก http://thaipublica.org/๒๐๑๖/๐๖/property-tax-๒/

คลินิกภาษี กระทรวงการคลัง. (๘ มิถุนายน ๒๕๕๙). ร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ....สืบค้น
๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๐ จาก http://taxclinic.mof.go.th/news/detail.php?ID=๑๔๙๔

ชมพูนุท โสลากร เพิ่มพูนวิวัฒน์ และคณะ. (๒๕๕๐). “โครงการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับภาษีมรดก
และผลได้จากทุน” เสนอ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).๒๕๕๐.

ดวงมณี เลาวกุล.(๒๕๕๖).การกระจุกตัวของความมั่งคั่งในสังคมไทย. ในรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ “สู่สังคมไทยเสมอหน้า การศึกษาโครงสร้างความมั่งคั่ง และโครงสร้างอำนาจเพื่อการปฏิรูป” (บทที่ ๒). ศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ความเห็นในรายงานนี้เป็นของผู้วิจัย ผู้ให้ทุนไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป).

ดิเรก ปัทมศิริวัฒน์ และพิชิต ชัยกิ่งพวง. “ภาษีการโอนที่ดินและความเหลื่อมล้ำการคลังท้องถิ่น”. (ยัง
ไม่ได้ตีพิมพ์).

ปรีชา สุวรรณทัต. (๙ สิงหาคม ๒๕๕๗). “ภาษีมรดก”. คอลัมน์ปรีชาทัศน์.หนังสือพิมพ์แนวหน้า.

พิพัฒน์ เหลือนฤมิตรชัย. (๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๗) “ชวนคิดเรื่องภาษีมรดก”. ไทยพับริก้า.

ภาษีมรดก. สืบค้นเมื่อ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๐, จาก www.pattanakit.net.

ปัทมาวดี โพชนุกูล.(๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗). นักวิชาการชี้แก้ “ความเหลื่อมล้ำ” ใช้ระบบภาษี-ออก
กฎหมาย สกัดผูกขาด. สืบค้น ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๐ จาก http://tdri.or.th/tdri-
insight/bangkokbiz-๒๐๑๔-๑๑-๑๒/

วิโรจน์ สุขพิศาล.(๒๕๕๗). ภาษีมรดกกับการสร้างความเป็นธรรมในสังคม. โครงการสำรวจองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (๒๕๕๖) การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน.

Cargetti, M. and M. De Nardi. (๒๐๐๙). “Estate Taxation, Entre[reneurship, and Wealth.”
American Economic Review, Vol.๙๙,No.๑,pp.๘๕-๑๑๑.

Durst, R., Monde, J. and D. Maxwell. (๒๐๐๒). “ How will the Phase out of Federal Estate Taxes Affect Farmeet?.” Agriculture Information Bulletin No.๗๕๑-๐๒.

Jesse Dukerninier and Stanley M. Johanson, Wille, Trusts and Estates, Third Edition, (Boston
and Toronto:Little, Brown and Company, ๑๙๘๔) p.๙๕๓. ดุลพาห , กรกฎาคม-ธันวาคม
๒๕๔๒. หน้า๑๑๗.