สิทธิชุมชน ในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Main Article Content

อรทัย อินต๊ะไชยวงศ์

บทคัดย่อ

งานศึกษานี้จะศึกษาถึงสิทธิชุมชน ในการจัดการ การบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบการจัดการ บำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลและยั่งยืนในประเทศไทย และวิเคราะห์การนำแนวคิดของ Eilinor Ostrom ในการจัดการทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาปรับใช้สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญวิธีการศึกษาวิจัยโดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Documentary Research) ซึ่งจะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสาร


ผลการศึกษา แนวความคิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยในปัจจุบันซึ่งแยกออกเป็น 3 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 เป็นรูปแบบที่การให้รัฐเข้าไปบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยตรง รูปแบบที่ 2 การที่รัฐให้เอกชนสัมปทาน ให้สิทธิ์แก่เอกชนบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และรูปแบบที่ 3 เป็นการจัดการทรัพยากรโดยชุมชน แต่การจัดการทรัพยากรธรรมชาติในรูปแบบที่ 1 และรูปแบบที่ 2 เป็นที่ประจักษ์ได้ว่าไม่ประสบความสำเร็จ ปัจจุบันรูปแบบที่ 3 เป็นที่ยอมรับและมีการรับรองไว้ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดกติกาการจัดการทรัพยากรร่วมตามแนวความคิดของ EilinorOstrom  สามารถใช้เป็นฐานแนวความคิดการจัดการทรัพยากรร่วมของประเทศไทย ในการจัดการทรัพยากรร่วมมีลักษณะกติกา 3 ระดับ ได้แก่ 1)กติการะดับปฏิบัติการ (Operational Rules) ที่เกิดจากผู้จากใช้ประโยชน์จากทรัพยากรกำหนด 2) กติกากำกับทางเลือกร่วม(Collective Choice Rules) เป็นการให้ผู้ใช้ทรัพยากร ผู้มีอำนาจภายนอก หรือเจ้าหน้าที่ กำหนดนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากร 3) กติการะดับธรรมนูญ(Constitutional Rules)เป็นการให้ผู้มีสิทธิ์ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดกติกา โดยมีกรอบหรือหลักเกณฑ์ในการกำหนดกติกาในการจัดการทรัพยากรร่วม อยู่ 8 ประการ การที่ให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดกติกาย่อมทำให้กติกาที่กำหนดโดยชุมชนนั้นสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนได้อย่างแท้จริง ซึ่งนำไปสู่การจัดการ การบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลและยั่งยืน      


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชล บุญนาค. แนวคิดว่าด้วยการจัดการทรัพยากรร่วม: ประสบการณ์จากต่างประเทศและแนวคิดในประเทศไทย. ชุดหนังสือการสำรวจองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (นนทบุรี : สำนัก งานปฏิรูป (สปร.), ม.ป.ป.). 2555.

อานันท์ กาญจนพันธุ์, มิติชุมชน วิธีคิดท้องถิ่น ว่าด้วย สิทธิ อำนาจ และการจัดการ
ทรัพยากร. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. 2544.

Elinor Ostrom,Governing the commons: The Evolution of Institutions
for Collective Action(Combridge. UK: Combridge University). 1990.

Garrett Hardin. “The Tragedy of the Commons,” Science New Series
:Vol.162. No.3859. (Dec.13 1968) . 1968.

เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนจาก จาก http://www.naksit.org/ เข้าถึงข้อมูล 10 มิถุนายน
2560.