ความรับรู้ของเยาวชนในจังหวัดเชียงรายที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
คำสำคัญ:
ความรับรู้ของเยาวชน, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, จังหวัดเชียงรายบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรับรู้ของเยาวชนในจังหวัดเชียงรายที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยการสำรวจกลุ่มตัวอย่างเยาวชนที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 400 ตัวอย่าง ในพื้นที่18 อำเภอของจังหวัดเชียงราย ด้วยแบบสอบถามที่กำหนดประเด็นคำถาม 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ความรับรู้ของเยาวชนต่อกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อการบังคับใช้กฎหมาย
จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรับรู้เกี่ยวกับกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นอย่างดี และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มคนรอบข้าง ได้แก่ กลุ่มบุคคลในครอบครัว กลุ่มญาติ กลุ่มเพื่อน กลุ่มคนรักหรือแฟน ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่ละกลุ่มไม่ถึงร้อยละ 32.0 ซึ่งมีผลต่อการไม่ดื่มของเยาวชนอย่างมีนัยสำคัญ โดยส่วนใหญ่เคยพบเห็นพฤติกรรมการกระทำผิดกฎหมายของผู้บริโภค และผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสัดส่วนที่สูง ทั้งพบเห็นการจับกุมหรือการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เพียงร้อยละ 50.5 เท่านั้น การบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จึงยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
ผลการศึกษาในครั้งนี้จึงนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า ควรมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความชัดเจนในการกำหนดลักษณะการกระทำผิดซึ่งมีโทษทางอาญา และกำหนดมาตรการในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
References
2. Alcoholic Beverage Control Act B.E. 2551 (2008)
3. Jiratchaya Bunpanya and Nath Bhanthumnavin. (2014). “Self-protection Mechanisms against Alcoholic Consumption among Students of Chandrakasem Rajabhat University” Journal of Social Sciences and Humanities. 40(1): 128-146 (2014).
4. National Statistical Office. (2018). Administrative Conclusion: Smoking and alcohol drinking behavior survey, 2017. Bangkok: National Statistical Office.
5. Nuarpear Lekfuangfu and Others. (2015). Drinking of alcoholic beverage situation in Northern region, 2015 (Research Report). Bangkok:Center for Alcohol Studies.
6. Office of the Royal Society. (2018). Royal Institute Dictionary 2011. [Online]. Available from: https://www.royin.go.th/dictionary/. Retrieve 13 November 2018.
7. Order of the Head of the National Council for Peace and Order No.22/2558 dated 22 July B.E. 2558 (2015)
8. Orratai Waleewong and Others. (2010). Influence of parental norms and behaviours on youth drinking in Thailand (Research Report).Bangkok: Center for Alcohol Studies.
9. Pokpong Junvith. (2011). Economics Analysis of laws: Concepts and Review Articles (Research Report). Bangkok: The Thailand Research Fund.
10. Surasak Chaiyasong and Others. (2013). Provincial Alcohol Report 2011 (Research Report). 1st edition. Bangkok: Center for Alcohol Studies.
11. Thanapat Boonserm and Nathapornpan Uttama. (2014). Tendency of Chiang Rai province’s economic growth and border trade [Online]. Available from: https://rs.mfu.ac.th/obels/?p=705. Retrieved 13 June 2018.
12. The Thai penal code.
13. Udomsak Saengow and Others. (2016). Facts and Figures: Alcohol in Thailand. Songkhla: Center for Alcohol Studies.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น