กระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนในประเทศสิงคโปร์: ข้อสังเกตเปรียบเทียบกับประเทศไทย (ตอนที่ 1)

ผู้แต่ง

  • ปพนธีร์ ธีระพันธ์ คณนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

กระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชน, สิงคโปร์, ไทย

บทคัดย่อ

              สิงคโปร์ ได้รับการยอมรับว่า เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม นานาประเทศได้นำรูปแบบที่สิงค์โปร์ใช้ไปปรับเปลี่ยนและพัฒนา  ให้เหมาะสมกับประเทศตน สำหรับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศสิงคโปร์  ที่ประสบความสำเร็จก็ได้เคยถูกนำไปเป็นต้นแบบในการทำวิจัยในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย เรื่องดังกล่าวจึงควรค่าแก่การศึกษา โดยเฉพาะประเด็นที่ประเทศไทยประสบปัญหาว่า อายุของเด็กและเยาวชนในขณะเวลาใด ควรถูกใช้เป็นเกณฑ์ในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนซึ่งศาลเยาวชนและครอบครัวของประเทศไทยก็มีดุลยพินิจที่ไม่เหมือนกัน

            ปัญหาการใช้ดุลยพินิจของศาลเยาวชนและครอบครัวของประเทศไทย  ได้ถูกนำมาเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ทางกฎหมายของประเทศสิงคโปร์ อาจทำให้การปฏิบัติที่แตกต่างกัน ตามดุลยพินิจของศาลแต่ละแห่ง หมดไปหากประเทศไทยได้ปรับปรุงกฎหมายโดยไม่เปิดโอกาสให้ศาลใช้ดุลยพินิจได้ดังประเทศสิงค์โปร์

            บทความนี้ เป็นตอนที่ 1 ที่ผู้เขียนประสงค์จะอธิบายที่มาและวัตถุประสงค์   ของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชน เกณฑ์อายุของเด็กและเยาวชน และศาลที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา สำหรับเด็กและเยาวชนของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า ประเทศไทยควรแก้ไขกฎหมาย โดยกำหนดเกณฑ์อายุของเด็กและเยาวชนในวันที่มีการพิจารณาคดีในศาลครั้งแรก เมื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม    ทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชน อันจะทำให้มาตรการต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดเป็นพิเศษนั้นจะเป็นไปเพื่อเด็กและเยาวชน และยังเป็นการกำหนดแนวปฏิบัติของศาลชัดเจนแน่นอนได้อย่างแท้จริง

References

ปพนธีร์ ธีระพันธ์. เอกสารประกอบการสอนคดีเยาวชนและครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: หาดใหญ่ ดิจิตอล พริ้นท์, 2560.

พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. “ระบบกฎหมายสิงคโปร์.” http://www.aseanthai.net/mobile_detail.php?cid=54&nid=38 (accessed October 22, 2016).

Children and Young Persons Act

Convention on the Rights of the Child

Family Justice Bill

Family Justice Courts Singapore. “Youth Court Matters.” https://www.familyjus ticecourts.gov.sg/

Common/Pages/YouthMatters.aspx#programmes (accessed October 22, 2017).

Family Justice Courts, (n.d.). “Youth Courts.” https://www.Familyjusticecourts. gov.sg/QuickLink/

Documents/Youth%20Courts%20(E)_6.pdf (accessed October 22, 2016).

Menon. S.. “Harnessing the law to benefit our youth.” http://www.supremecourt.gov.sg/Data/Editor

/Documents/Achieving_Connecting_and_Thriving_031115.pdf (accessed December 22, 2016).

Ministry of Social and Family Development. “Obligations under the UN Con vention on the Rights of the Child.” https://www.msf.gov.sg/policies/Children-and-Youth/Pages/Obligations-under-the-UN-Convention-on-the-Rights-of-the-Child.aspx (accessed October 22, 2017).

Supreme Court. “Jurisdiction of the Supreme Court.” http://www.supreme court.gov.sg/about-us/the-supreme-court/supreme-court-jurisdiction (accessed January 15, 2018).

State Courts Act (CHAPTER 321) Section 51. and State Courts Singapore. “Overview of CivilJustice Process.” https://www.Statecourts.gov.sg/CivilCase/Pages/Overview-of-civiljus-tice-process.aspx (accessed October 22, 2017).

State Courts Singapore. “Magistrates’ Court.” https://www.statecourts.gov.sg/CriminalCase/Pages/Magistrate's-Court.aspx (accessed October 22, 2017).

Tan, E. and Chan, G.. “The Singapore Legal System.” Singapore Academy of

Law. https://web.archive.org/web/20110123145140/http://www.singaporelaw.sg/content/LegalSyst.html (accessed January 12, 2018).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/28/2019