ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 44/1 ศึกษากรณีเปรียบเทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5419/2554 กับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2560 (ประชุมใหญ่)

ผู้แต่ง

  • สมชาย บุญคงมาก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ผู้เสียหาย, ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอเรียกค่าสินไหมทดแทน, คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา, คำพิพากษาศาลฎีกา

บทคัดย่อ

             บทความวิชาการนี้ ได้ศึกษาเปรียบเทียบคำพิพากษาศาลฎีกา กรณีผู้มีสิทธิยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลบังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งโดยทั่วไปบุคคลดังกล่าว จะต้องเป็นผู้เสียหายเท่านั้น แต่เกิดปัญหาว่า ผู้เสียหายที่มีส่วนกระทำความผิดในเหตุที่เกิดขึ้น ควรจะมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากคู่กรณีอีกฝ่ายในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ได้หรือไม่

            เมื่อศึกษาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5419/2554 จึงพบว่า บุคคลที่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน จะต้องเป็นผู้เสียหายที่ไม่มีส่วนกระทำความผิดในเหตุการณ์นั้น ต่อมาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2560 (ประชุมใหญ่) มีคำวินิจฉัยว่า ถึงแม้ผู้เสียหายจะเป็นบุคคลผู้มีส่วนกระทำความผิดในเหตุที่เกิดขึ้น ก็มีสิทธิยื่นคำร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ ซึ่งคำพิพากษาศาลฎีกานี้ เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 ที่กำหนดให้ผู้เสียหายในคดีอาญามีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ จึงเป็นคุณแก่ผู้เสียหายที่ไม่ต้องนำคดีไปฟ้องศาลเป็นคดีแพ่ง เพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทนอีกครั้ง

            ผู้เขียนเห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2560 (ประชุมใหญ่) แต่คำพิพากษาของศาลย่อมไม่ใช่กฎหมาย ต่อไปอาจมีการตัดสินคดีเป็นอย่างอื่นได้ จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยกำหนดว่า “ให้ผู้เสียหายและผู้เสียหายซึ่งมีส่วนร่วมกระทำความผิดหรือมีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์” เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายต่อไป

 

References

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. คำอธิบายหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการดำเนินคดีในขั้นตอนก่อนพิจารณา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จิรรัชการพิมพ์, 2550.

คณิต ณ นคร. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2546.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1666/2514

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4005/2551

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2552

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5612/2556

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2560 (ประชุมใหญ่)

จุลสิงห์ วสันตสิงห์. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 1 (มาตรา 1 – มาตรา 119) พร้อมตัวอย่างคำถาม – คำตอบ จนถึงปี พ.ศ. 2552. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2559.

ณรงค์ ใจหาญ. หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2552.

ธานิศ เกศวพิทักษ์. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 1-2 (มาตรา 1-156) เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: กรุงสยาม พับลิชชิ่ง, 2555.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

เพ็ง เพ็งนิติ. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด. พิมพ์ครั้งที่ 8 [แก้ไขและเพิ่มเติม] กรุงเทพฯ: จิรรัชการพิมพ์, 2550.

ไพโรจน์ วายุภาพ. คำอธิบายกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 1. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: พลสยาม พริ้นติ้ง (ประเทศไทย), 2560.

ศักดิ์ สนองชาติ, คำอธิบายโดยย่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิดและความรับผิดโดยละเมิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539, พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: นิติบรรณาการ, 2551.

หยุด แสงอุทัย. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาศึกษาทางคำพิพากษาฎีกา. กรุงเทพฯ: แม่บ้านการเรือน, 2507.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/28/2019