การตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการตีความโดยการขยายความ คำว่า ใช้กำลังประทุษร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญาของศาลไทยในปัจจุบัน : ศึกษากรณีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12983/2558

ผู้แต่ง

  • พรอุมา วงศ์เจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การขยายการตีความ, ใช้กำลังประทุษร้าย, ประมวลกฎหมายอาญา, คำพิพากษาศาลฎีกา

บทคัดย่อ

                บทความวิชาการนี้ได้ศึกษาความหมาย คำว่า “ใช้กำลังประทุษร้าย” มาตรา 1 (6) ตามประมวลกฎหมายอาญา เนื่องจากปรากฏคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12983/2558 ได้ตีความแบบขยายความของคำดังกล่าวเอาไว้ เหตุเกิดจากการที่จำเลยแอบติดตั้งกล้องบันทึกภาพไว้ใต้โต๊ะทำงานของโจทก์ ส่อให้เห็นถึงความใคร่และกามารมณ์ โดยที่โจทก์มิได้รู้เห็นหรือยินยอม และตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ถึงแม้ว่า จำเลยจะมิได้สัมผัสต่อเนื้อตัวร่างกายของโจทก์โดยตรงก็ตาม แต่ศาลฎีกาถือว่าเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย

               อนึ่ง คำว่า “ใช้กำลังประทุษร้าย” หมายความว่า ทำการประทุษร้ายแก่กายหรือจิตใจของบุคคล ซึ่งศาลฎีกามองว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการประทุษร้ายแก่จิตใจ อันครบองค์ประกอบความผิดฐานอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญาแล้ว อดีตมีคำพิพากษาศาลฎีกาได้ตีความการใช้กำลังประทุษร้าย จะเป็นความผิดได้ก็ต่อเมื่อ มีการกระทำถึงขนาดแตะเนื้อต้องตัวหรือใช้กำลังกายกระทำต่อผู้เสียหาย ดังนั้น การขยายการตีความของศาลฎีกาในคดีนี้ จึงเป็นการคุ้มครองสิทธิสตรีมิให้บุคคลใดนำเอาเทคโนโลยีไปใช้เป็นเครื่องมือเพื่อกระทำอนาจาร ผลกระทบนี้ได้ปรากฏในประเทศเกาหลีใต้เช่นกัน จนทำให้มีสตรีจำนวนมากออกมาชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลใช้มาตรการคุ้มครอง เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว

               ผู้เขียนเห็นด้วยกับการตีความตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีนี้ ทั้งควรนำไปสู่การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย โดยกำหนดฐานความผิดไว้โดยเฉพาะในกรณีการกระทำอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายด้วยเทคโนโลยี เพื่อคุ้มครองบุคคลมิให้ถูกล่วงละเมิดอีกต่อไป

 

References

กิตติศักดิ์ ปรกติ. “หลักทั่วไปเกี่ยวกับการใช้การตีความกฎหมาย.” ใน การใช้การตีความกฎหมาย: งานวิชาการรำลึกศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ 100 ปี ชาตกาล. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552.

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. กฎหมายอาญา ภาคความผิด เล่ม 4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พลสยามพรินติ้ง (ประเทศไทย), 2551.

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. คำอธิบายกฎหมายอาญา 1. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, 2546.

คณิต ณ นคร. กฎหมายอาญาภาคความผิด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2559.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2501

คำพิพากศาลฏีกาที่ 501/2503

คำพิพากศาลฎีกาที 1279/2506

คำพิพากศาลฏีกาที่ 3953/2539

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4066/2545

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1904/2546

จิตติ ติงศภัทิย์. คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ตอนที่ 2 และภาค 3. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: วัชการพิมพ์, 2553.

“ฉาว โรงแรมเกาหลีใต้ 10 เมืองใหญ่ติดกล้องแอบถ่ายแขกในห้องพัก.” คม ชัด ลึก. 21 มีนาคม 2562 http://www.komchadluek.net/news/hotclip/366431 (สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2562).

ธานินทร์ กรัยวิเชียร และวิชามหาคุณ. การตีความกฎหมาย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร. “การใช้การตีความกฎหมาย.” ใน การใช้การตีความกฎหมาย: งานวิชาการรำลึกศาสตราจารย์ จิตติ ติงศภัทริย์ 100 ปี ชาตกาล, พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร. หลักการตีความกฎหมายตามครรลองของหลักนิติรัฐและนิติธรรม. วารสารจุลนิติ 7. ฉ.4 (2553): 4–13.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ประมวลกฎหมายอาญา

พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์. กฎหมายลักษณะผัวเมีย. กรุงเทพฯ: กอง ลหุโทษ, ร.ศ. 120. อ้างถึงใน ศิวดี เกิดเจริญ. “ผลกระทบจากการบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตามพระราชบัญญัติเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่19) พ.ศ. 2550 ต่อความผิดฐานอนาจาร” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.

พระยาเทพวิฑูร (บุญช่วย) วณิกกุล). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1-2 มาตรา 1-240. กรุงเทพฯ: เนติบัณฑิตสภา, 2476.

ภูภณัช รัตนชัย. การตีความกฎหมายอาญา : คดีดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าโดยการใช้โทรศัพท์, วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8, ฉ.3 (กันยายน-ธันวาคม 2559).

ราชบัณฑิตยสถาน. กฎหมายตราสามดวง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน จัดพิมพ์ตามต้นฉบับหลวง เล่ม ๑ กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2559.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. การใช้และการตีความกฎหมายมหาชน. วารสารจุลนิติ. 7, ฉ.4 (2553): 55.

วิสิฐ ญาณภิรัต. “รายงานการวิจัย เรื่อง บริบทหลักนิติธรรมในต่างประเทศ.” คณะกรรม การอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ สำนักปลัดกระทรวงยุติธรรม, (2557).

ศิวดี เกิดเจริญ. “ผลกระทบจากการบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตามพระราชบัญญัติเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2550 ต่อความผิดฐานอนาจาร.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.

สิทธิกร ศักดิ์แสง. รวมบทความศาสตร์แห่งการตีความ. กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2556.

หยุด แสงอุทัย. กฎหมายอาญา ภาค 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556.

หยุด แสงอุทัย. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก, 2545.

หยุด แสงอุทัย. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552.

หยุด แสงอุทัย. คำอธิบายกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: วิญญูชน จำกัด, 2561.

อักขราทร จุฬารัตน์. หลักการตีความกฎหมายตามครรลองของหลักนิติรัฐและนิติธรรม. วารสารจุลนิติ 7. ฉ.4 (2553): 14–28.

อักขราทร จุฬารัตน์. “การตีความกฎหมาย.” web.krisdika.go.th>wcmclta>wcmicl131 (accessed June 10, 2562).

Vgl. Etwa Hermann Blei, StrafrechtI :AllgemeinerTeil, 16, Auflage, München 1975. S.26 ff.; Eberhard Schmidhäuser, Strafrech :AllgemeinerTeil, 1. Auflage, Tübingen 1970 S. 83; paulBockelmann, Strafrech: Allge meinerTeil, 3. Auflage, München1979,S. 19 ff.; Harro Otto, Grundku rsStrafrech : Allgemei nerStrafrechtslehre, 7. Auflage, Berlin 2004, § 2 randnummer41-53, S. 26 ff.; Heinrich Jescheck, Lehrbuch desStra frech: AllgemeinerTeil, 4. HansAuflage, Berlin 1988 S. 137 ff. อ้างถึงใน คณิต ณ นคร. กฎหมายอาญาภาคความผิด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/28/2019