กระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนในประเทศสิงคโปร์ : ข้อสังเกตเปรียบเทียบกับประเทศไทย (ตอนที่ 3)

ผู้แต่ง

  • ปพนธีร์ ธีระพันธ์ คณนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

กระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชน, สิงคโปร์, ไทย

บทคัดย่อ

              กระบวนพิจารณาในศาลเยาวชน คำสั่งและคำพิพากษา และการเบี่ยงเบนคดีออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนในประเทศสิงคโปร์เป็นประเด็นที่น่าสนใจและถูกหยิบยกมาเปรียบเทียบพร้อมตั้งข้อสังเกตกับกระบวนพิจารณาของศาลเยาวชนและครอบครัวของประเทศไทย โดยผู้เขียนได้อธิบาย พร้อมทั้งวิเคราะห์สภาพปัญหาในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนของประเทศไทยโดยเฉพาะในประเด็นที่ไม่ได้กำหนดไว้หากบุคคลผู้ใกล้ชิดเด็กและเยาวชนไม่อาจเข้าร่วมในกระบวนการในศาลได้ รวมถึงวิเคราะห์ข้อจำกัดของการมีส่วนร่วมจากชุมชนและพนักงานอัยการในกระบวนการแก้ไขพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน

            ผลการศึกษาพบว่า ในประเทศสิงคโปร์ หากบุคคลผู้ใกล้ชิดเด็กหรือเยาวชน   ไม่สามารถเข้าร่วมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนได้ ศาลเยาวชนจะทำหน้าที่ในการช่วยต่อสู้ภายใต้ผลประโยชน์สูงสุดของเด็กและเยาวชนแทน นอกจากนี้กฎหมายของประเทศสิงคโปร์ยังได้กำหนดให้เชิญพนักงานผู้ฟ้องคดีและตัวแทนจากโรงเรียนที่ผู้กระทำความผิดศึกษาอยู่มาประชุมกลุ่มเพื่อเบี่ยงเบนคดี อันจะทำให้การแก้ไขฟื้นฟูพฤติกรรมเป็นไปโดยมีมุมมองจากผู้เกี่ยวข้องที่หลากหลาย ทั้งยังส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย

             บทความนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า ประเทศไทยควรกำหนดให้ศาลเข้ามาทำหน้าที่ช่วยเหลือเด็กหรือเยาวชนผู้กระทำความผิดหากเด็กหรือเยาวชนนั้นไม่มีบุคคลผู้ใกล้ชิด รวมถึงควรกำหนดให้ชุมชนและพนักงานอัยการเข้ามามีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อจัดทำแผนแก้ไขฟื้นฟูเพื่อเบี่ยงเบนคดีอีกด้วย

References

คณิต ณ นคร. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2546.

ปพนธีร์ ธีระพันธ์. แนวคิดที่ปรากฏอยู่ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2561.

ปพนธีร์ ธีระพันธ์. “กระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนในประเทศสิงคโปร์: ข้อสังเกตเปรียบเทียบกับประเทศไทย (ตอนที่ 1).” วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น 3, ฉ 1 (2562): 180 - 181.

พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553.

มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล, หลักการคุ้มครองสิทธิเด็กภายใต้แนวคิดเกี่ยวกับประโยชน์สูงสุดของเด็ก, (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์) (กรุงเทพฯ: บริษัท โรงพิมพ์เดือนตุลา จำกัด, 2562).

วัชรินทร์ ปัจเจกวิญญูสกุล. “มาตรฐานการปฏิบัติต่อเด็กที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก.” ดุลพาห 41, ฉ 5 (2537): 19.

Children and Young Persons Act (Chapter 38).

Children and Young Persons (Juvenile Case Conference) Regulations 2001.

Convention on the Rights of the Child.

Criminal Procedure Code (Chapter 68).

Research and Advocacy Standing Committee. “Protection of Children in Singapore: An Overview.” https://www.childrensociety.org.sg/resour ces/ck/files/child_protection.pdf (accessed May 18, 2020).

State Courts Act (Chapter 321).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/22/2020