ปัญหาทางกฎหมายของความผิดมูลฐานเกี่ยวกับยาเสพติด ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

Main Article Content

วิทยา นีติธรรม

บทคัดย่อ

                บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ที่มีมาตรการริบทรัพย์สินทางแพ่ง โดยกระบวนการร้องขอให้ศาล   มีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งเริ่มต้นอาศัยเพียงเหตุอันควรเชื่อได้ว่า ทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐาน และมีมาตรการทางอาญาที่ใช้ลงโทษบุคคลที่ได้กระทำต่อตัวทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐาน โดยการกำหนดความผิดฐานฟอกเงิน ดังนั้น การจะกำหนด ให้ความผิดอาญาฐานใดเป็นความผิดมูลฐานจึงเป็นหลักการสำคัญของกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน


              เมื่อได้ศึกษาจึงพบว่า การกำหนดกรอบลักษณะของความผิดมูลฐานเกี่ยวกับยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในปัจจุบันครอบคลุมถึงความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดบางลักษณะที่เป็นความผิดเล็กน้อย หรือไม่มีทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดดังกล่าว ซึ่งไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ในการตรากฎหมายที่ต้องการตัดวงจรการประกอบอาชญากรรมตามความผิดมูลฐาน และอาจเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนเกินความจำเป็นในการตรากฎหมาย ไม่สอดคล้องกับมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด อีกทั้งยังส่งผลกระทบถึงความคุ้มค่า ด้านงบประมาณ และอัตรากำลังที่ใช้ในการบังคับใช้กฎหมายของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน


              ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงสมควรที่จะเสนอให้ปรับปรุงกรอบความผิดมูลฐานเกี่ยวกับยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การฟอกเงินให้ครอบคลุมเฉพาะลักษณะของความผิดที่มีความสำคัญ เช่น การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่าย เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. มุมมองใหม่ในกฎหมายอาญา, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วิญญูชน. 2556.

ทัศน์วรรณ ทารีมุกข์. "การกำหนดให้ความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน. วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2558

สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน. รายงานประจำปี 2561 สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอกพิมพ์ไท จำกัด, 2561.

สำนักงาน ป.ป.ส. “การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด.” จดหมายข่าวกฎหมายยาเสพติด 2, 4 (กรกฎาคม-กันยายน 2545): 2-8.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย

พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 .


พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533.

พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534.

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542.

พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545.

พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547.

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา.

ประมวลกฎหมายอาญา.