กฎหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะมนุษย์

ผู้แต่ง

  • มาโนช สุขสังข์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

บริจาคอวัยวะ, การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ, การซื้อขายอวัยวะมนุษย์

บทคัดย่อ

               บทความวิชาการนี้ศึกษาถึงการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะของมนุษย์นั้น พบว่า มีแนวคิดพื้นฐานดั้งเดิมมาจากเรื่องของการบริจาค หรือการให้โดยไม่มีค่าตอบแทนเป็นสำคัญ เป็นเรื่องของการแสดงออกทางจริยธรรมของผู้บริจาคต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ดังนั้น กฎหมายในแต่ละประเทศที่ออกมาใช้บังคับจึงมีเจตนารมณ์จัดการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะของมนุษย์โดยไม่มุ่งหวังผลกำไร แต่ด้วยจำนวนอวัยวะที่ได้รับบริจาคมีน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้รอรับการเปลี่ยนถ่าย จึงเกิดการลักลอบซื้อขายและเปลี่ยนถ่ายอวัยวะโดยผิดกฎหมาย

            ประเทศไทยนับจากมีการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะสำเร็จเป็นครั้งแรก จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 50 ปี แต่ยังไม่มีกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริจาคและเปลี่ยนถ่ายอวัยวะที่แน่นอนชัดเจนใช้บังคับ ทำให้ขาดแคลนอวัยวะที่จะนำมาเปลี่ยนถ่าย ขณะเดียวกันการลักลอบซื้อขายและเปลี่ยนถ่ายอวัยวะกันเองก็ไม่มีกฎหมายเฉพาะที่จะลงโทษบุคคลเหล่านี้

            ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้มีการบริจาคอวัยวะเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นที่ประเทศไทยต้องตรากฎหมายเกี่ยวกับการบริจาคและเปลี่ยนถ่ายอวัยวะขึ้นใช้บังคับควบคู่กันกับการเอาผิดและลงโทษผู้ที่ได้อวัยวะมาโดยวิธีการอื่นฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าว เช่น การซื้อขายอวัยวะ เป็นต้น

References

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. คำอธิบายกฎหมายอาญาภาค ๑. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: พล สยาม พริ้นติ้ง (ประเทศไทย), 2551.

วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์. “การปลูกถ่ายอวัยวะกับกฎหมาย.” วารสารนิติศาสตร์ 19, ฉ.4 (2532): 29.

วินัย ล้ำเลิศ.“การซื้อขายอวัยวะมนุษย์เพื่อการปลูกถ่ายกับผลในทางกฎหมาย.” วารสาร รามคำแหง 25, ฉ.3 (2551): 97-98.

สหรัฐ กิติ ศุภการ. หลักและคำพิพากษา กฎหมายอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 8.กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2561.

แสวง บุญเฉลิมภาส. “การนำอวัยวะออกจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่ การซื้อขายอวัยวะ และความผิดฐานทำร้ายร่างกาย.” วารสารนิติศาสตร์ 19, ฉ.4 (2532): 8.

Akabayashi A. Nakazawa E. Pub Med,Twenty Years After Enactment of the Organ Transplant Law in Japan: Why Are There Still So Few Deceased Donors?, 10.03.2018.

Anthony Rivière: Le don d’organes facilité au Japon. (Memento vom 24. April 2012 im Internet Archive) In: Aujourd’hui le Japon, 20. Juli 2010. (französisch).

Bernhard Albrecht. Darf man Organe verkaufen?. Stern, 29. Januar 2015.

Carol J. Williams. Pay ban on donor organs doesn’t include bone marrow, court says. Los Angeles Times, 2. Dezember 2011.

Gilles Campion: Pas d’espoir de greffe pour les enfants cardiaques au Japon. (Memento vom 3.Dezember 2013 im Internet Archive) In: Aujourd’hui le Japon. 12. Juni 2009-06-12.

Gwen Mayes. Buying and Selling Organs for Transplantation in the United States. Medscape Education 4. No. 2. 2003.

J. Lavee, T. Ashkenazi, G. Gurman, D. Steinberg. A new law for allocation of donor organs in Israel [archive]. In: Lancet. 375. 2010.

Ulrich H.J. Körtner ,OrgantransplantationenausethischerSicht , InstitutsfürEthik und Recht in der Medizin, Universität Wien, Alser Str. 2-4, Hof 1, A-1090 Wien.

Victoria Turk.Vice. Auf Facebook floriert ein Schwarzmarkt für menschliche Organe, 12 März 2014.

Zelt Zeitung. FlüchtlingeverkaufenihreOrganefürReiseübersMittelmeer, 15.11.2017.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/22/2020