มาตรการทางกฎหมายในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงศกร ถิ่นเขาต่อ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญาภัส ทองมุสิทธิ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

มาตรการทางกฎหมาย, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวคิด มาตรการทางกฎหมาย จัดทำมาตรการทางกฎหมายในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย

 ผลการวิจัยพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจาย พ.ศ. 2542 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังประสบปัญหาในการจัดการกล่าวคือ ปัญหาการใช้กฎหมายหลายฉบับในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบขาดความชัดเจนในเรื่องของอำนาจหน้าที่ในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ปัญหาในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ปัญหางบประมาณในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศไม่เพียงพอ และปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า (โควิด-19)

ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ1) จัดทำกฎหมายเฉพาะให้อำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและทำความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน 2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้มีผลบังคับใช้กับผู้กระทำความผิด 3) ควรได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานหลาย ๆ ภาคส่วนอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้คงอยู่ต่อไป 4) หน่วยงานทุกภาคส่วนในพื้นที่รับผิดชอบควรหามาตรการในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวรูปแบบใหม่จากสถานการณ์โควิด-19 และสร้างการรับรู้โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น

References

Determining Plans and Process of Decentralization to Local Government Organization Act B.E. 2542 (1999)

Sub-district Council and Sub-district Administrative Organization Act, B.E. 2537 (1994)

Faphilai Thavisinsopha and Kittisak Thavisinsopha. Guidelines for Restoration of Cultural Heritage, Old Town Legend to Develop Historical Tourism of Young Star Village, Trang Province. Trang: The College of Tourism and Hotel Management, Rajamangala University of Technology Srivijaya Trang Campus, 2018.

Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2560 (2017).

Suthathip Phosri. “Legal Measures in Ecotourism Management.” Master of Laws Thesis, Thammasat University, 2006.

Leeled Sub-District Administrative, Phunphin District, Surat Thani Province, https:// www.LEELED.go.th (Retrieved on 20 August 2021).

Uthit Sangkharat and Thanet Thaweeburut. Ecotourism Management Based on Identity and Community Methods in the Southern Ecotourism Area. Songkhla: Prince of Songkhla University, 2015.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/07/2022