การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความเป็นมาของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ของประเทศจีน เนื่องด้วยปัจจุบันนิติกรรมซื้อขายแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์ในหลายประเทศเพิ่มจำนวนมากขึ้น ดังนั้นการจัดทำทะเบียนอสังหาริมทรัพย์จึงมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อให้การทำนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เป็นไปอย่างถูกต้องและสามารถคุ้มครองสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างเหมาะสม
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันหลายประเทศได้จัดทำทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ขึ้น เพื่อสะดวกต่อคู่สัญญาในการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์รวมถึงสิทธิทับซ้อนในอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแต่ละประเทศมีสภาพเศรษฐกิจ สังคม ระเบียบและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ทำให้รูปแบบและขอบเขตเนื้อหาของสมุดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์แต่ละประเทศนั้นแตกต่างกัน ประเทศจีนในช่วงแรกได้จัดทำสมุดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ตามประเภทของอสังหาริมทรัพย์ ต่อมาประเทศจีนได้แก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้สะดวกต่อการดำเนินการจดทะเบียนและง่ายต่อการตรวจสอบ กฎหมายใหม่ที่ใช้บังคับกำหนดให้การจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ประเภทต่าง ๆ รวมอยู่ในสมุดทะเบียนเดียว ดั่งกรณี การจดทะเบียนที่ดินและบ้านจะดำเนินการจดทะเบียนแยกกัน โดยที่ดินจะแยกจดทะเบียนไว้ในสมุดทะเบียนหนึ่ง และบ้านจะแยกจดทะเบียนไว้อีกสมุดทะเบียนหนึ่ง ต่อมากฎหมายใหม่ได้รวมการจดทะเบียนที่ดินและบ้านไว้ในทะเบียนเดียวกันรวมเรียกว่าทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งสะดวกทั้งต่อคู่สัญญาที่ต้องการจดทะเบียนและเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่รับจดทะเบียน
ผู้เขียนจึงขอเสนอแนะว่า ประเทศไทยสามารถนำรูปแบบและขอบเขตเนื้อหาของทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ของประเทศจีนมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทะเบียนที่ดินของประเทศไทยได้
References
Chang Pengao. “System construction of real estate register.” Journal of North west University of Political Science and law 5, (2009): 135.
Chang Pengao. Real Estate Registration Law. Beijing: Social Science Literature Press, 2011.
Cheng Xiao. “Error of Rights in the Real Estate Register and Good Faith Acquisition of Real Estate.” Journal of Jurist 2, (2017): 44-45.
Cheng Xiao. “On the Distinction between Credibility of Real Estate Register and Good Faith Acquisition of Movables Property.” Journal of Chinese and Foreign Law, 4 (2010): 524.
Cheng Xiao. “Research on Real Estate Register.” Journal of Tsinghua law 4, (2007): 64-81.
Cheng Xiao. Research on Real Estate Registration Law (Second Edition) Beijing: Law Press, 2018.
Hu Zhigang. “The Current Situation and Defects of China's Real Estate Registra tion System.” Journal of China Real Estate, 2 (2006): 65-70.
Liu Yan. “Study on the Anglo-American Legal System of Real Estate Registra tion.” Doctor of Laws Thesis, In Law School Shandong University China, 2014.
People's Daily. “People's Daily on Unified Real Estate Registration: It is Difficult to Lift the Beam of Reducing House Prices.” People's Daily, December 6, 2013, http://house.jrj. com.cn/2013/12/06060716283600.shtml. (accessed October 10, 2021).
Wang Xiaoxian. “Research on China’s Real Estate Registration System.” https:// wenku.baidu.com/view/fbec6cf0bc1e650e52ea5518 10a6f524cdbfcbce.html. (accessed October 2, 2021).
Xu Xi. “Research on legal issues of real estate register.” Master of Laws Thesis, In law School Heilongjiang University China, 2016.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น