บทบาทของอัยการในการใช้มาตรการทางเลือกแทนการฟ้องคดีที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน: ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสาธารณรัฐฝรั่งเศสและราชอาณาจักรไทย

ผู้แต่ง

  • นางสาวปวีณา เอี่ยมศิริกุลมิตร นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

พนักงานอัยการ, ดุลพินิจ, คดีไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน, มาตรการเบี่ยงเบนคดีอาญา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาถึงโครงสร้างองค์กรอัยการ ทฤษฎี หลักการฟ้องคดีอาญา และการใช้มาตรการทางเลือกแทนการฟ้องคดีอาญาที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนเปรียบเทียบระหว่างสาธารณรัฐฝรั่งเศส และราชอาณาจักรไทย ตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 และระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดที่เกี่ยวข้อง

เมื่อทำการศึกษาพบว่า ประเทศไทยได้ใช้หลักการใช้ดุลพินิจเช่นเดียวกับฝรั่งเศส คือ อัยการไม่ต้องฟ้องคดีอาญาทุกคดี หากเห็นว่าการฟ้องคดีใดจะไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ย่อมมีอำนาจไม่ฟ้องคดีอาญาได้ แต่อัยการฝรั่งเศสมีอำนาจใช้ดุลพินิจได้อย่างกว้างขวางโดยยึดประโยชน์ของสาธารณะเป็นหลัก และใช้มาตรการทางเลือกอื่นที่เหมาะสมกว่าการฟ้องคดีอาญาได้ ในขณะที่อัยการไทยทั่วไปไม่มีอำนาจสั่งไม่ฟ้องคดีที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน โดยจะต้องเสนอความเห็นตามลำดับชั้นต่ออัยการสูงสุดเพื่อสั่งไม่ฟ้อง ทั้งในกรณีที่อัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้องคดีที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนยังไม่อาจกำหนดเงื่อนไขหรือใช้มาตรการทางเลือกอื่นใดแทนการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญา ทำให้อัยการไทยเลือกไม่พิจารณาหลักเกณฑ์ประโยชน์ต่อสาธารณชนก่อนการฟ้องคดีอาญา

ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 ให้อำนาจอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการที่ได้รับมอบหมายให้สั่งไม่ฟ้องคดีไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนให้มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขหรือใช้มาตรการทางเลือกแทนการไม่ฟ้องคดีอาญาที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน เพื่อสนับสนุนให้อัยการต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ประโยชน์ต่อสาธารณะก่อนฟ้องคดีอาญาอันเป็นบทบาทสำคัญอันหนึ่งในการเป็นผู้ดูแลประโยชน์สาธารณะ

References

Act No. 2016-1547

Act No. 2019-964

Brian A. Garner (ed.). Black’s Law Dictionary. 7th ed., St. Paul, Minn: West Publishing Co.,1979.

Criminal Procedure Code

Dispute Mediation Act, B.E. 2562

Doris Jonas Freed. “Aspects of French Criminal Procedure.” Louisiana Law Review 17, (1957).

Edwin Rekosh. who defines the public interest? Public Interest Law Strategies in Central and Eastern Europe. International Journal on human rights, issue 2, 2005.

French Authorities Release New Guidelines for Settlement Agreements in Corporate Prosecutions, FCPA Professor (2019).

French Criminal Procedure Code, 1958.

Gwladys Gillieron, Public Prosecutors in the United States and Europe: A Comparative Analysis with Special Focus on Switzerland, France, and.Germany, Springer: Swizerland (2014).P.318.

Hodgson, Jacqueline and Soubise. Laurène. Prosecution in France. (United Kingdom: University of Warwick, 2017.

Jean Pradel. Procedure Pénale. (CUJAS (September 1, 2006) Cujas, 13 édition, 2006.

Juvenile and Family Court and Juvenile and Family Case Procedure, Act B.E. 2553 (2010)

Kanin Boonsuwan. A Dictionary of Parliament and Thai Politics: The Complete Edition. Bangkok: Sukkhapabjai Publishing, 2005.

Nantawat Boramanan. “Public Interest.” https://www.gotoknow.org/posts /521175. (Retrieved on 19 March 2021).

Office of the Attorney General, Letter No. Aor Sor 0033 (Aor Kor)/Special dated 15 February 2021, Non Public Interest Criminal Case Table, Year 2012 - 2020 (Offenses Categories).

Peter J.P. Tak. “methods of diversion used by the prosecution services in the netherlands and other western european countries” https:// www.unafei.or.jp/publications/pdf/RSNo74/No74_07VE_Tak.pdf. (สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564).

Phurichaya Watanarung. Principles of Public Law, “Legal Philosophy and Public Law Handout,” Faculty of Law, Ramkhamhaeng University.

Prosecution Organization and Public Prosecutors Act, B.E. 2553 (2010)

Rada Smedovska and Francois Fallettti. Report on the Prosecution Service in France. Article in Promoting Prosecutorial Accountability Indepen dence and Effec tiveness, Open Society Institutute Sofia (2008).

Robert Vouin. “The Role of the Prosecutor in French Criminal Trials.” Oxford University Press.

Roger Burlingame. Karen Coppens, Laurent Martinet and Jacques Sivignon, Dechert. “How the New French Guidance on Deferred Prosecution Eligibility Affects Settlement Negotiations”, https://info.dechert.co m/10/13166/uploads/acr-how-the-new-french-guidance-ondeferre d-prosecution-eligibility.pdf. (Accessed April 15,2021).

Suriya Panpan and Anuwat Bunnan. Principles of Law on Prosecution Organization and Public Prosecutors. 7th Edition, Bangkok: Winyuchon, 2020.

The Court of cassation. The Role Of The Court Of Cassation. Available athttps://www.courdecassation.fr/about_the_court_9256.html. Acc essdate 16 January 2021.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/07/2022