สิทธิในคดีอาญาของพระสงฆ์ไทย
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่องสิทธิในคดีอาญาของพระสงฆ์ไทยนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ถึงสิทธิและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับรัฐของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และเอกสารที่เกี่ยวข้อง และเพื่อศึกษาสิทธิในคดีอาญาของพระสงฆ์ไทยที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการคุ้มครองสิทธิของพระสงฆ์ไทยในคดีอาญา
ผลการวิจัยพบว่า สิทธิและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับรัฐของพระสงฆ์ในพระพุทธ ศาสนา พระสงฆ์มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะบรรพชิตที่จะศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติตนตามหลัก ไตรสิกขาและพระธรรมวินัย ให้บรรลุถึงเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา ทั้งสิทธิและหน้าที่ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองของรัฐที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย และร่วมพัฒนาพลเมืองในรัฐให้พึงประสงค์ด้วย กรณีสิทธิในคดีอาญาของพระสงฆ์ไทย พบว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของพลเมืองในรัฐรวมถึงพระสงฆ์ด้วย
ข้อเสนอแนะแนวทางการคุ้มครองสิทธิของพระสงฆ์ไทยในคดีอาญา ผู้วิจัยเสนอให้ยกเลิกอำนาจของพนักงานสอบสวนในการให้พระสงฆ์ที่ถูกกล่าวหาสละสมณเพศ แต่ให้อำนาจนั้นเป็นของเจ้าคณะปกครองฝ่ายสงฆ์เป็นผู้พิจารณา และให้มีสถานที่เฉพาะสำหรับคุมขังพระสงฆ์ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญาที่พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการมีดุลยพินิจไม่อนุญาตให้ประกันตัว กรณีให้พระสงฆ์สละสมณเพศ โดยไม่ผิดอาบัติปาราชิก ต้องเกิดจากความสมัครใจของพระสงฆ์เองที่จะเปล่งวาจาสละสมณเพศตาม พระวินัย
References
Kiatkajorn Watjanasawad. Description of Criminal Laws, Part 1. 9th Edition, Bangkok: Jirawat Printing, 2006.
Committee on the Study of the Constitutional Amendment Guidelines Office of the Secretariat of the House of Representatives. Guidelines for Amending the Constitution on Rights, Liberties and Duties of Thai People. Bangkok: Office of the Secretariat of the House of Representatives, 2006.
Daraphorn Thirawat. Contract Law : New Status of Current Contracts and Problems of Unfair Contract Terms. Bangkok : Thammasat University Printing House, 1999.
Banjerd Singkaneti. Fundamentals of Rights and Liberties and Human Dignity according to the Constitution, B.E. 2540 (1997), 2nd Edition. Bangkok: Winyuchon, (2004).
Banjerd Singkaneti. Fundamentals of Rights and Liberties and Human Dignity. (Bangkok: Winyuchon, 2005.
Criminal Procedure Code
Criminal Procedure Code, B.E. 2478 (1935), as amended (No. 34), B.E. 2562 (2019)
Sangha Act, B.E. 2505 (1962)
Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2560 (2017)
Sangha Act (No. 2), B.E. 2535 (1992)
Somchai Boonkongmak and Phuphanat Rattanachai. “The Problem of Leaving the Monkhood under the Sangha Act, B.E. 2505 (1962): A Case Study of the Exercise of Discretion of Government Officials in the Judicial Process.” Journal of Humanities and Society Science, Royal Air Force 6, (2018): 53.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น