ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาการแช่แข็งร่างเพื่อรอรับการรักษาด้วยวิทยาการและเทคโนโลยีในอนาคต

Main Article Content

นางสาวแคทรีน สหชัยยันต์

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาการแช่แข็งร่างเพื่อรอรับการรักษาด้วยวิทยาการและเทคโนโลยีในอนาคต โดยการวิเคราะห์หลักการทั่วไปทางสัญญาเกี่ยวกับความเป็นผู้ทรงสิทธิตามสัญญาการแช่แข็งร่าง (Cryopreservation Contract) ความสามารถของผู้ทรงสิทธิกรณีของผู้เยาว์ แบบของสัญญาการแช่แข็งร่าง วัตถุประสงค์ของสัญญาการแช่แข็งร่าง เป็นต้น หน่วยงานกำกับดูแล และการพัฒนากลไกในระบบกฎหมาย เพื่อให้ได้มาตรการในการทำสัญญาการแช่แข็งร่างและการควบคุมการประกอบธุรกิจการแช่แข็งร่างหากมีการจัดตั้งองค์กรการแช่แข็งร่างขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่จึงยังไม่มีกฎหมายเฉพาะบังคับใช้เรื่องเหล่านี้ในประเทศไทย โดยผู้เขียนจะศึกษาแนวทางขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization WHO) ที่มีความใกล้เคียงเรื่องดังกล่าว และศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบแนวคิด การรับรอง และแนวปฏิบัติของรัฐต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ และประเทศแคนาดากับประเทศไทย


จากการศึกษาวิเคราะห์ในทางสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ พบว่ากฎหมายไทยยังขาดหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่กำหนดความเป็นผู้ทรงสิทธิ ขาดรูปแบบหลักเกณฑ์ขั้นตอนการทำสัญญาการแช่แข็งร่าง ผลทางกฎหมายกรณีการชําระหนี้เป็นพ้นวิสัย การเลิกสัญญา หน่วยงานกำกับดูแล และกฎเกณฑ์ข้อบังคับในการควบคุมการประกอบธุรกิจแช่แข็งร่างด้วยเทคโนโลยีไครโอนิกส์ ซึ่งหลักกฎหมายบางหลัก เช่น หลักอิสระในทางแพ่ง หลักเสรีภาพในการทำสัญญา หลักความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนา หลักเสรีนิยม หลักความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สามารถนำมาปรับใช้ได้


ดังนั้น เมื่อยังไม่มีกฎหมายเฉพาะในเรื่องดังกล่าว ผู้เขียนจึงได้เสนอให้มีการบัญญัติกฎหมายเฉพาะเป็นร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการแช่แข็งร่างเพื่อรอรับการรักษาด้วยวิทยาการและเทคโนโลยีในอนาคต ทั้งนี้ ผู้เขียนได้เสนอทางเลือกในการบริหารจัดการทรัพย์สินในรูปแบบของกองทรัสต์และการจัดหาเงินทุนในรูปแบบของประกันชีวิตเพื่อการแช่แข็งร่างอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

หนังสือ

นิรมัย พิศแข มั่นจิตร, กฎหมายว่าด้วยสิทธิของผู้ป่วยและการจัดทำบริการทางด้านสุขภาพ, (กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563)

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: มรดก, (กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม, 2537)

พินัย ณ นคร, คำอธิบายกฎหมายลักษณะมรดก, (กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2558), พิมพ์ครั้งที่ 4

พรชัย สุนทรพันธุ์, คำอธิบายกฎหมายลักษณะมรดก, (กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2564), พิมพ์ครั้งที่ 12

เสนีย์ ปราโมช, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้ เล่ม 1 (ภาค 1-2), (กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2561), พิมพ์ครั้งที่ 4 ปรับปรุงแก้ไขโดย มุนินทร์ พงศาปาน

เสนีย์ ปราโมช, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้ เล่ม 2 (ภาคจบบริบูรณ์), (กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2562), พิมพ์ครั้งที่ 4 ปรับปรุงแก้ไขโดย มุนินทร์ พงศาปาน

ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, คำอธิบายนิติกรรมสัญญา, วิญญูชน: กรุงเทพมหานคร, พิมพ์ครั้งที่ 23, กันยายน 2563

วิทยานิพนธ์

ณัฐณิชา ขัมมะรัตน์. “ปัญหาการแสดงเจตนาเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะเพื่อการปลูกถ่าย”. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561.

ณัฐวีร์ อสิพงษ์. “ปัญหาทางกฎหมายเรื่องความยินยอมของผู้บริจาคอวัยวะที่เสียชีวิตจากสมองตายและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง”. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561.

อธิพร สุขเนตร. “การแสดงเจตนาทำนิติกรรมที่กฎหมายกำหนด: ศึกษาวิธีการและผล”. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.

David M Shaw, Cryoethics: Seeking life after death, University of Basel, 2009.

Tiffany Romain, Freezing life, buying time: Consuming cryopreservation services in the United States, Stanford University, United States – California, Dissertation, https://pqdtopen.proquest.com/doc/851706290.html?FMT=ABS

บทความ

แคทรีน สหชัยยันต์, การพัฒนากฎหมายทรัสต์ในประเทศไทย, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, วารสารนิติศาสตร์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2561, http://www.assumptionjournal.au.edu/index.php/LawJournal/article/view/3419

จิรนันท์ ไชยบุปผา, ทรัสต์ในมุมมองซีวิลลอว์: แนวทางการพัฒนากฎหมายทรัสต์ในประเทศไทย (Trust in Perspective Civil Law: The Development of Trust Legal In Thailand), คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2561.

ณัฐ ตันศรีสวัสดิ์ และธีรโชติ จองสกุล, สมองตาย, วารสารนิติเวชศาสตร์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 1, มีนาคม-มิถุนายน 2553, http://www.forensicchula.net/FMJ/journal/topic/0607.pdf

ดวงใจ บุญกุศล, การแช่แข็งโอโอไซต์เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์, วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1: มกราคม – มิถุนายน 2008, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/4949

ธัญลักษณ์ นามจักร, บทความวิจัย: สถานะทางกฎหมายและการคุ้มครองตัวอ่อนที่เกิดจากเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์, จุลนิติ, พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556, http://web.senate.go.th/lawdatacenter/includes/FCKeditor/upload/Image/b/k113%20Jun_10_6.pdf

บรรเจิด สิงคะเนติ, ปัญหาการเป็นผู้ทรงสทธิตามรัฐธรรมนญไทย, เอกสารวิชาการส่วนบคคล, หลักสูตรนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย, วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ, สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ,

ศศิวิมล เสมอใจ, ปัญหาเกี่ยวกับการจำกัดความสามารถของผู้เยาว์, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2563, file:///C:/Users/ACER/Downloads/lawjournal,+%7B$userGroup%7D,+7.Sasiwimon+141-168.pdf

อวิการัตน์ นิยมไทย, การตายทางการแพทย์หรือสมองตาย (Brain Death) กับข้อควรพิจารณาทางกฎหมาย, จุลนิติ, ฉบับ ก.ค. - ส.ค. ๒๕๕๖, https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/272/files/S%E0%B9%88ub_Jun/10reform/reform31.pdf

Alexandra Topping and Hannah Devlin, Top UK scientist calls for restrictions on marketing cryonics, https://www.theguardian.com/science/2016/nov/18/top-uk-scientist-calls-for-restrictions-on-marketing-cryonics

David Shaw (2009), Cryoethics: Seeking Life After Death, Centre for Applied Ethics and Legal Philosophy, University of Glasgow, http://eprints.gla.ac.uk/18452/1/18452.pdf

David Whaley, Kimia Damyar, Rafal P. Witek, Alan Mendoza, Michael Alexander and Jonathan RT Lakey, Cryopreservation: An Overview of Principles and Cell-Specific Considerations, Sage Journals, https://journals.sagepub.com/doi/full/10.1177/0963689721999617

Erte L.A. and Efimkova K.S., Cryonics: legal and ethical aspects, Kuban State University Vol. 24, No. 2 (2019), https://journals.eco-vector.com/2070-1586/article/view/55364

Gregory M Fahy, Brian Wowk, Principles of cryopreservation by vitrification, https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25428002/

เอกสารอิเล็กทรอนิกส์

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สรุปสาระสำคัญจากเสวนางานวิชาการรำลึก อาจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ครั้งที่ 26 เรื่อง “ไขข้อข้องใจ: ตายที่บ้านต้องชันสูตรพลิกศพด้วยหรือ”, https://www.law.tu.ac.th/seminar-summary-remembrance-professor-chitti-tingsabadh-number-26/

ธรรมนิติ, หลักกฎหมายเกี่ยวกับ “การชันสูตรพลิกศพ” แนวทางและข้อเท็จจริงที่ควรรู้, https://www.dharmniti.co.th/law-autopsy/#:~:text=ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ,ตายโดยประหารชีวิตตามกฎหมาย”

พรณนงค์ โชติวรรณ, คู่มือการบันทึกหนังสือรับรองการตายปรับปรุงปี 2017,กระทรวงสาธารณสุข, http://medinfo2.psu.ac.th/medrec/mediplus-lite/uploads/Death_certificate_2017.pdf

แสวง บุญเฉลิมวิภาส, หลักการมาตรา 12 ของพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติคือ สิทธิที่จะขอตายตามธรรมชาติ, https://infocenter.nationalhealth.or.th/node/26906

โอภาส เศรษฐบุตร, เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted reproductive technology), คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/residents-fellows/1576/

A life insurance policy for Members of the American Cryonics Society, CRYONICS INSURANCE, PAGE https://americancryonics.org/jack-frost/CryonicsInsurance.html

Alor, The Legal Status of Cryonics Patients, https://www.alcor.org/library/the-legal-status-of-cryonics-patients/

Benjamin P. Best, Scientific Justification of Cryonics Practice, Rejuvenation Research, https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4733321/

Peter Wilson, The Cryonics Industry Would Like to Give You the Past Year, and Many More, Back, https://www.nytimes.com/2021/06/26/style/cryonics-freezing-bodies.html

PhD Essay, Capacity Contract Law, https://phdessay.com/law-of-malaysia/

Rashi Mehta, Cryogenics: Icy Existence, Lexis Nexis India, https://lexisnexisindia.wordpress.com/2017/04/12/cryogenics-icy-existence/

Thailandinsidenew, “Cryonics4U” เปิดเวที Life Conference ครั้งแรกในไทย เผยความก้าวหน้าเทคโนโลยีแช่แข็งร่างกาย “Cryonics” ใกล้ความจริง, https://thailandinsidenew.com/2019/11/14/cryonics4u/