การคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวจากมาตรการควบคุมโรคติดต่อ โควิด 19 : ศึกษาความชอบด้วยกฎหมายในการอ้างฐานประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลชนิดพิเศษตามข้อตกลง “Line Application “หมอพร้อม”

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิชา สมสอาด อาจารย์ประจำหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
  • รองศาสตราจารย์คณาธิป ทองรวีวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันกฎหมายสื่อดิจิทัล, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
  • ศาสตราจารย์ (พิเศษ) จรัญ ภักดีธนากุล ผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

คำสำคัญ:

หมอพร้อม, พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562, ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวหรือละเอียดอ่อน, แอปพลิเคชั่นไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนทั่วไปที่ใช้งาน “Line application หมอพร้อม”  ศึกษาวิเคราะห์ ฐานทางกฎหมายอันเป็นข้อยกเว้นของความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลชนิดพิเศษของผู้ใช้งานตามที่ระบุในข้อตกลงการใช้งาน “Line application หมอพร้อม” และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อให้การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามข้อตกลง “Line application หมอพร้อม” สอดคล้องกับเงื่อนไขของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและให้ทางเลือกในการคุ้มครองสิทธิประชาชน งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการตีความข้อตกลงการใช้งานโดยวิเคราะห์การตีความกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายสหภาพยุโรป 

ผลการศึกษาพบว่า  “Line application หมอพร้อม”  เก็บรวบรวมใช้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลชนิดพิเศษตามมาตรา 26 แต่ข้อตกลงการใช้บริการ LINE Application “หมอพร้อม” ข้อ 3.2  ไม่ขอความยินยอมแต่ระบุข้อยกเว้นของความยินยอม 3 ฐาน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 คือ มาตรา 24 (3) มาตรา 26 (5) (ก) และ 26 (5) (ค)  ซึ่งผลการวิเคราะห์ฐานทางกฎหมายชี้ให้เห็นว่า การอ้างอิงฐานดังกล่าวไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขและหลักการตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กล่าวคือ ฐานมาตรา 24 (3) ไม่สามารถอ้างในกรณีที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลตามมาตรา 26 สำหรับการอ้างฐานมาตรา 26 (5) (ก) และ 26 (5) (ค)  ต้องเชื่อมโยงกับกฎหมายที่ให้เก็บรวบรวมข้อมูล แต่แพลตฟอร์มหมอพร้อมเกิดจากประกาศที่อาศัยอำนาจตามข้อกำหนดแห่งพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งมาตรา 9 ไม่ได้ให้อำนาจออกข้อกำหนดในการเก็บรวบรวมข้อมูลในลักษณะบูรณาการ

ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้แก้ไขข้อตกลงการใช้บริการและปรับเปลี่ยนการอ้างฐานทางกฎหมายโดยอาศัยความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล

References

Arendt, Hannah. The Human Condition, Chicago: University of Chicago Press. 1973.

Fromholz, J. M. “The European Union data privacy directive.” Berkeley technology law journal, 15(1) : 2000. p 460 - 484.

Jack Donnelly. “Human Rights and Human Dignity.” The American Law Review, 76(2) : 1982.

Jed Rubenfield. “The Right of Privacy”. Harvard Law Review, 102(4) : 737 - 807. Journal of Communication & Strategy, No.97, 1st quarter, 1989.

Solove, Daniel. “A Taxonomy of Privacy.” University of Pennsylvania Law Review. 154(3) : 2006.

Warren D Samuel Brandies D. “The Right to Privacy.” Harvard Law Review, 4(5) : 1890.

Kanathip Thongraweewong. “Legal Measures to Protect the Right to Privacy: A Case Study of the Disruption of the Right to Private by Direct Selling Businesses.” Bot Bundit Journal No. 66, (4) (2010): 46-80.

Kanathip Thongraweewong. Reforming the Personal Data Protection Law of Thailand to Enter the ASEAN Community. Bangkok: Office of the Secretariat of the House of Representatives, 2016.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/07/2022