ก่อนรัฐประหารครั้งที่ 14

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐดนัย พยัฆพันธ์ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

รัฐประหาร, การเมืองไทย, ประชาธิปไตย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้ มุ่งนำเสนอแนวทางการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมและการเมืองบางประการเพื่อยับยั้งการรัฐประหารครั้งที่ 14 มิให้เกิดขึ้นซ้ำอีกครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย โดยนำแนวคิดวงจรรัฐประหารในการเมืองไทยที่มาจากแนวคิดทางการเมืองของชัยอนันต์ สมุทวณิช มาเป็นฐานคิดสำคัญในการเขียนบทความวิชาการเรื่องนี้

ผลการศึกษา พบว่า นับแต่การปฏิวัติการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน(2567) เกิดรัฐประหารในประเทศไทยถึง 13 ครั้ง โดยคำกล่าวอ้างของคณะผู้ก่อการเพื่อยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน คือ รัฐบาลพลเรือนไม่สามารถแก้ไขวิกฤต เศรษฐกิจ การคอร์รัปชันและความขัดแย้งทางการเมืองจนส่งผลให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงของประชาชนในสังคม สถาบันทหารจึงจำเป็นต้องเข้าแทรกแซงการเมืองการปกครองเพื่อรักษาไว้ซึ่งความสงบสุขและความสามัคคีของคนในชาติ

ผู้เขียนจึงเสนอว่า การยับยั้งวงจรรัฐประหารไม่ให้เกิดซ้ำเป็นครั้งที่ 14 สามารถทำได้โดยปฏิรูปกองทัพแยกทหารออกจากการเมือง ยกระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนและการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น กำหนดให้ปวงชนชาวไทยมีสิทธิและหน้าที่ในการต่อต้านและยับยั้งการรัฐประหาร บรรจุหลักสูตรพลเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยในสถานศึกษาเพื่อให้เยาวชนความตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาระบอบประชาธิปไตย

References

Angkarat Dechwattanayothin. (2022). Conditions leading to the Thai coup. Interdisciplinary Journal Research and Academic, 2(3), 335-356.

Chanchai Chitlaoarporn, (2014). The Political Institution of Thai Parliament. Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Studies, 3(1), 33-44.

Likit Thiravekin. (2005). Ideal Thai people. Bangkok: Mac.

Narongkorn Manochanphen. (2021). Countries with the most successful coups. Since the 20th century (1901 to the present). Retrieved August 3, 2023, from https://thestandard.co/most-coup-detat-country-since-1901/

Natdanai Payakpun. (2023). Thai politics after the 2014 military coup and the concept of conquered free States, with their own laws and orders of Machiavelli. Journal of Humanities and Social Sciences Suratthani Rajabhat University, 15(1), 163-173

Nithi Eawsriwong. (2006). Thai politics during the Narai era. Bangkok: Matichon.

Posttoday. (2014, 16 July). NCPO orders local elections to be canceled – recruiting instead. Retrieved 1 July 2023, 2023, from https://www. posttoday.com/politic/news/306853

Royal Academy. (2011). Royal institute dictionary, 1999. Bangkok: Nanmee Bookshelf Publications.

Suchit Boonbongkan. (2019). The military and the development of Thailand. Bangkok: Foundation for Democracy and Development Studies Torch Printing Project.

Surachat Bamrungsuk. (2008). Trisonakhom, military coup, and Thai politics. Bangkok: Pridi Banomyong Institute.

Surachart Bumrungsorkhor. (2015). Senathipatai: Coup and Thai politics. Bangkok: Matichon.

Teeraphat Sereerangsan (2021). Breaking the coup cycle. Journal of Modern Learning Development, 6(6), 104-117.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/28/2024