แนวทางการออกแบบองค์กรและกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อการปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบองค์กรและวิธีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งองค์กรจัดทำร่างรัฐธรรมนูญและวิธีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย
ผลการศึกษาพบว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ไม่สามารถนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองได้ดังที่ตั้งเจตนารมณ์ไว้ เกิดสภาพการณ์ “เผด็จการทางรัฐสภา” นำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมือง และการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 ก็ไม่สามารถป้องกันและยุติความขัดแย้งทางการเมืองได้ จึงเกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ซึ่งต้องใช้เวลาถึง 3 ปี กว่าจะได้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2560 แต่ก็ไม่ใช่กุญแจสู่ประชาธิปไตยซึ่งเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและพฤติการณ์ที่ปรากฏของสมาชิกรัฐสภาเสียงข้างมากในการลงมติต่อร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แสดงให้เห็นถึง “อุปสรรคเชิงโครงสร้าง” ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2560 โดยเฉพาะหากเป็นการแก้ไขทั้งฉบับเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ย่อมเกิดแรงต้านภายในระบบการเมืองสูงมาก ส่งผลให้ท้ายที่สุดการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่อาจเกิดขึ้นได้
ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะว่า สมาชิกองค์กรยกร่างรัฐธรรมนูญควรมีที่มาจากสมัชชาแห่งชาติโดยสมาชิกแต่ละจังหวัดเลือกกันเองให้เหลือจังหวัดละ 10 คนและให้สมาชิกรัฐสภาเลือกจังหวัดละ 1 คน รวมกับบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน รัฐศาสตร์และการร่างรัฐธรรมนูญอีก 22 คน รวมเป็น 99 คน และมีกระบวนการจัดทำที่เน้นการมีส่วนร่วมรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในทุกขั้นตอน ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาและมีการออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบก่อนใช้บังคับ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น