องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ: ศึกษากรณี คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
คำสำคัญ:
องค์กรอิสระ, การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ, การทุจริตคอร์รัปชัน, คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาท หน้าที่ อำนาจ และสถานะของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (2) วิเคราะห์ปัญหาการใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 และ (3) นำเสนอแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัย พบว่า การกำหนดให้มีองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ อาจมีความ ไม่มั่นคง เนื่องจากมีกลุ่มที่เสียประโยชน์ต้องการจำกัดอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และพบว่ากฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มีปัญหาบางประการที่อาจเป็นอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดประสิทธิภาพ เช่น การกำหนดระยะเวลาในการไต่สวนที่ยาวนาน การไม่เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตุลาการศาลยุติธรรม ตุลาการศาลปกครอง และข้าราชการอัยการให้ประชาชนทราบ
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยกำหนดหลักการเรื่ององค์กรอิสระไว้อย่างกว้าง ๆ การจะกำหนดให้องค์กรใดเป็นองค์กรอิสระ ให้จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ และแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 เกี่ยวกับการไต่สวน การดำเนินการต่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกกล่าวหา การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน การเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน และการให้เจ้าหน้าที่ที่ถูกดำเนินคดีร่วมกับผู้บังคับบัญชาสามารถอ้างพยานบุคคลในการไต่สวนได้ รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการตรวจสอบและไต่สวน พ.ศ. 2561 ให้ผู้ถูกร้องสามารถนำบุคคลอื่นหรือทนายความอยู่ด้วยในการให้ปากคำกับพนักงานเจ้าหน้าที่ได้
References
Banjerd Singhaneti. (2004). Controlling and Inspecting the Use of State Power, Public Law Net. Retrieved on 25 July 2023, from http:// publiclaw.net/publaw
BBC NEWS Thailand. (2018). Prawit won the NACC case 5 to 3; the lavish watches issue resolved. Retrieved on 4 December 2023, from https://www.bbc.com/thai/thailand
Breger, M. J., & Edles, G J. (2000). Established by practice: The theory and operation of independent federal agencies. Administrative Law Review, 52(4), 1111-1294.
Chaichai Sawangsak. (2018). Independent Agencies: Public Law Considera tions. Bangkok: Winyuchon.
Civil Service Act, B.E. 2551. (2008). Royal Gazette, 125, 22 Kor, 1.
Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2560. (2017). Royal Gazette, 134, 40 Kor, 1.
Criminal Procedure Code, B.E. 2477 (1934). Office of the Council of State. Retrieved on 25 July 2023, from https://www.krisdika.go.th/
Gentot, M. (1994). Les autorités sdministratives indépendantes (2e éd). Paris: Montchrestien Coll.
Noppadon Hengcharoen. (2005). Independent Agencies: The Value of Reforming the Political System and Civil Service. Constitutional Court Journal, 7(21), 43-75.
Office of the Secretariat of the Senate. (2021). Parliamentary System of the Kingdom of Thailand. Bangkok: Press Office of the Secretariat of the Senate.
Organic Act on Anti-Corruption, B.E. 2561. (2018). Royal Gazette, 35, 52 Kor, 1.
Prosecutor Organization and Public Prosecutors Act, B.E. 2553. (2010). Royal Gazette, 127, 75 Kor, 38.
Regulations of the National Anti-Corruption Commission on Human Resource Management of the NACC Office, B.E. 2561. (2018). Royal Gazette, 135, 86 Kor, 1.
Regulations of the National Anti-Corruption Commission on Inspections and Investigations, B.E. 2561. (2018). Royal Gazette, 135, 61 Kor, 4.
Thanachai Meechok. (2005). The Securities and Exchange Commission in accordance with the Concept of an Independent Administrative Organization. Master of Laws Thesis, Chulalongkorn University.
Wichit Jarassuksawas. (2001). French Autonomous Administrative Organiza tion. Journal of Law Thammasat University, 31(3), 485-511.
Wissanu Waranyu. (1995). Independent State Organizations. Bangkok: The Thailand Research Fund (TRF).
Yuthaphon Isarachai. (n.d.). Examining the Use of State Power. Bangkok: King Prajadhipok’s Institute.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น