ปัญหาความรับผิดทางวินัยและความรับผิดทางละเมิดของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • นายพีระพงศ์ ธราเดชสุวรรณ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

คำสำคัญ:

สถานศึกษา, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ความผิดวินัย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับความรับผิดทางวินัยและความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

ผลการศึกษาพบว่าการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือการใช้ดุลพินิจที่ไม่เป็นไปตามหลักกฎหมาย ย่อมมีโอกาสที่จะเกิดการกระทำความผิดทั้งวินัยข้าราชการและกระทำผิดทางละเมิดได้ และอาจต้องรับผิดจากการกระทำโดยประมาทและหากเกิดเสียหายแก่ราชการร้ายแรงย่อมมีความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงด้วยแม้การกระทำนั้นจะกระทำโดยขาดเจตนา หรือประมาทแต่ไม่ถึงขั้นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และไม่ถึงกับก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรงก็ตาม แต่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 บัญญัติให้การกระทำนั้นเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงแม้จะกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งมิใช่เป็นการเฉพาะตัว ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำต้องรับโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงเช่นเดียวกัน ซึ่งแตกต่างกับกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ ซึ่งจะต้องรับผิดเป็นการเฉพาะตัวก็ต่อเมื่อกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น

ข้อเสนอแนะการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาจมีความผิดวินัยและความรับผิดทางละเมิดได้ หากแต่ผลแห่งความรับผิดของกฎหมายทั้งสองฉบับแตกต่างกัน ส่งผลให้ระดับการลงโทษไม่สอดคล้องกัน ดังนั้น กฎหมายเกี่ยวกับความผิดทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาฯ ควรวางหลักความรับผิดของผู้บริหารสถานศึกษาให้มีความเหมาะสม เป็นธรรม และเช่นเดียวกับเจตนารมณ์แห่งกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

References

Chet Satawornsilphon. (2006, May - August). Civil Service Institutions and The Disciplinary System and Disciplinary Punishment: Experiences of The French Republic. Administrative Court Academic Journal, 6(2), 62-93.

Chanudom Charoonphak. (2023). How to Carry Out Official Tasks without Disciplinary and Tort Violations. Initiative to Improve Performance Principle for Government Employees and The General Public’s Understanding of Good Governance from Administrative Court Rulings. Fiscal year 2023, No. 3, (pp. 1-49). Phitsanulok: Phitsanulok Administrative Court.

Announcement of the Central Committee of Municipal Employees on General Standards Regarding Discipline and Maintaining Discipline and Disciplinary Actions, B.E. 2558 (2015). (26 November 2015).

Announcement of the Local Personnel Administration Standards Committee (2001). (2 July 2001). Royal Gazette, Volume 118, Special Section 62 Ngor, page 1.

Teacher Civil Service and Educational Personnel Regulations Act, B.E. 2547 (2004). (23 December 2004). Royal Gazette, Volume 121, Section 79 Kor, pages 52-56.

Official Tort Liability Act, B.E. 2539 (1996). (14 November 1996). Royal Gazette, Volume 113, Section 60 Kor, Page 29.

Act on Establishment of Administrative Courts and Administrative Court Procedure, B.E. 2542 (2021) (10 October 1999). Royal Gazette, Volume 116, Section 94 Kor, Page 4.

Phuritchaya Wattanarung. (2024, 12 August). Principles of Legality of Administrative Actions. Retrieved on 16 March 2024, from http://www.archanpoo.net

Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2560 (2017). (6 April 2017). Royal Gazette, Volume 134, Section 40 Kor, Page 14.

Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2560 (2017). (6 April 2017). Royal Gazette, Volume 134, Section 40 Kor, Page 74.

Worachet Pakeerut. (2006). Introduction to Administrative Law: Basic Principles of Administrative Law and Administrative Acts, (3rd Edition), Bangkok: Winyuchon Publication House.

Worachet Pakeerut. (2012). Comparative Administrative Law: State Liability in the German, French and English Legal System (1st Edition). Bangkok: Thammasat University Press.

Worapoj Wisarutpit. (1998, June). Law on Tort Liability of Government Officials. Journal of Law Thammasat University, 28(2), 366-387.

Thammasat University Research and Consultancy Institute. (2009). Research Report on Analysis of Administrative Judgments of Foreign Administrative Courts. Bangkok: Thammasat University Research and Consultancy Institute.

Sumalee Wongwitit. (2005). Law of Tort, Management of Affairs Without Mandate, Undue Enrichment (5th Edition). Bangkok: Ramkhamhaeng University Press.

Suraphan Aranyarth. (1994). Unfair Disciplinary Action Against Civil Servants in The Pre-Decision Making Process. Master of Laws Thesis (Jurisprudence). Bangkok: Ramkhamhaeng University.

Susama Suphanit. (2000). Explanation of the Civil and Commercial Code: Tort. Bangkok: Nitibannakan Publisher.

Udom Rathamarit, Somchai Srisutthiyakorn, Banjerd Singkhaneti, Aeksak Kongtrakul, Chukiat Rattanachaichan, Khomsan Phokong and Pakorn Nilpaphan. (2002). Reform of the Disciplinary System, Appeals and Complaints against Government Officials. Volume 1. (Research Report). Bangkok: Thammasat University Research and Consultancy Institute.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/28/2024