มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการโฆษณาของผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อสังคมออนไลน์: ศึกษากรณีการใช้รูปภาพหรือวีดิทัศน์ที่มีการปรับแต่ง
คำสำคัญ:
การควบคุมการโฆษณา, ผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อสังคมออนไลน์, อินฟลูเอนเซอร์, รูปภาพ, วีดิทัศน์, การคุ้มครองผู้บริโภคบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายของประเทศไทยและกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการควบคุมการโฆษณาของผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อสังคมออนไลน์ วิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายของประเทศไทยและกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการควบคุมการโฆษณาของผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อสังคมออนไลน์ และหาแนวทางในการพัฒนากฎหมายของประเทศไทยให้มีความครอบคลุมและเหมาะสมในการคุ้มครองผู้บริโภคสำหรับการเข้าถึงการโฆษณาของผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อสังคมออนไลน์ โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารจากหนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัยพบว่าประเทศไทยไม่มีกฎหมายเฉพาะที่บัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดมาตรการในการควบคุมการโฆษณาของผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อสังคมออนไลน์ในการนำรูปภาพหรือวีดิทัศน์ที่มีการปรับแต่งมาใช้ในการโฆษณา ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการนำกฎหมายหลายฉบับมาปรับใช้ และมาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่ไม่ครอบคลุมเพียงพอที่จะนำมาใช้คุ้มครองผู้บริโภคในกรณีดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม ในขณะที่ประเทศนอร์เวย์ และสาธารณรัฐฝรั่งเศสมีมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เพื่อให้ผู้บริโภคทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรูปภาพหรือวีดิทัศน์ที่นำมาใช้ในการโฆษณาอย่างถูกต้อง
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยพบว่า ควรบัญญัติกฎหมายเพื่อควบคุมการโฆษณาของผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อสังคมออนไลน์ไว้เป็นการเฉพาะ ในการแสดงเครื่องหมายหรือข้อความกำกับรูปภาพหรือวีดิทัศน์ที่มีการปรับแต่งมาใช้ในการโฆษณา เพื่อแสดงถึงความโปร่งใสในการโฆษณา ตลอดจนควรให้ความรู้และสร้างทัศนคติเกี่ยวกับมาตรฐานความงามที่ถูกต้อง รวมทั้งหน่วยงานของรัฐควรดำเนินการเชิงรุก เพื่อกำกับดูแลและตรวจสอบการโฆษณาของผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อสังคมออนไลน์ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม
References
Act on amendments to the Marketing Control Act etc. (marking of retouched advertising)
Bouvier, C. (2023). Influencers: France just brought in new law to prevenabuse. Retrieved June 27, 2023 from http://blog.galalaw. com/post/102igfw/influencers-france-just-brought-in-new-law-to-prevent-abuse
Chanisara Buakong. (2018). The Relationship of Attitude towards Social Media Influencers with Intention to Visit Restaurant after Viewing Reviews. Master of Business Administration Thesis, Srinakharinwirot University.
Chothip Sunthornwipat. (2014). Legal Measures to Protect Consumers: A Case Study of Sunglasses. Master of Laws Thesis, National Institute of Development Administration.
Chutinun Sanguanprasit. (2018). Learn about influencer, the new online profession followed by teens until advertising firms need to hire for reviews. Retrieved 20 September 2022, from https:// brandinside.asia/influencer-online-marketing- replacement/
Computer Crime Act, B.E 2550 (2007)
Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2560 (2017).
Consumer Protection Act, B.E. 2522 (1979)
Cosmetics Act, B.E. 2558 (2015).
Drug Act, B.E. 2510 (1967).
Food Act, B.E 2522 (1979).
Gray, J. (2021). Norway passes law requiring influencers to label retouched photos on social media. Retrieved June 16, 2023, from https://www.dpreview.com/news/1157704583/norway-passes-law-requiring-influencers-to-label-retouched-photos-on-social-media
Kamonwan Yuwattana and Natasorn Auekarn. (2022). Defining Legal Relations in Advertising Products and Services through Social Media Influencers. Journal of Innovation and Management, 7(1), 30-42.
Kitiya Suriwan, Pichamon Puangsuwan and Urapee Chulimasart. (2016). The Relationship between Influencers of Consumer Opinion and Brand. Journal of Communication and Management NIDA, 2(3), 79-96.
Krungthep Turakij. (2022). Who are influencers? Understand influencers on social media, dream career of Gen Z young people. Retrieved on 19 September 2022, from https://www.bangkok biznews.com/lifestyle/989803
Kullanard Worraratkrittikorn. (2021). Attributes of Power Influencers that affect consumer decision to visit cafe in Thailand. Master of Business Administration Thesis, Silpakorn University.
Nattapon Muangtum. (2022). Summary of 52 key insights from Thailand Digital Stat 2022 by We Are Social. Retrieved 20 September 2022, from https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/in sight-thailand-digital-stat- 2022-we-are-social/
Nattapon Muangtum. (2565). summarize 52 Insight Important from Thailand Digital Stat 2022 ของ We Are Social. Retrieved on 20 September 2022, from https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/insight-thailand-digital-stat-2022-we-are-social/
Nitchanan Kuptanon. (2021). Laws Controlling the Posting of Photos. Retrieved on 19 September 2022, from https://www.Bangkok biznews.com/blogs/columnist/965916
Orapim Prasong. (2023). French Law on Influencer Control. State Agents, 18(5), 11-18.
Patthamon Srison. (2017). Selecting Influencers in Planning Advertising Media on Social Media (Facebook). Independent Study, Master of Journalism, Thammasat University.
Phattharida Sukhunnee. (n.d.). Constitutional Analysis on Consumer Rights. Retrieved on 25 September 2022 from https://www. parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=152
Suphat Saengpradab. (2008). Legal Problems on Consumer Protection Cases in Thailand. Master of Laws Thesis, Sripatum University.
The Consumer Authority. (2023). The Norwegian consumer authority’s guideline on labelling retouched advertising. Retrieved June 16,2023, from https://www.forbrukertilsynet.no/english/guide lines/the-norwegian-consumer-authoritys-guideline-on-labelling-retouched-advertising#chapter-3
Thidamnu Yaibuathong. (2019). Legal Problems on Safety Standards in Cosmetic Products. Master of Laws thesis, Sripatum University.
Thitinan Wannawet. (2015). Legal Measures to Control Hidden Advertising in Dietary Supplement Products. Master of Laws Thesis, Krirk University.
Thopphon Noipanya. (2017). Social Media Influencers. Retrieved 26 September 2022, from https://thaipublica.org/2017/11/toppol7/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น