มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสัตว์ กรณีการฆ่าสัตว์เพื่อการบริโภค
คำสำคัญ:
การคุ้มครองสัตว์, ปฏิญญาสากลว่าด้วยสวัสดิภาพสัตว์, การฆ่าสัตว์เพื่อการบริโภคบทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการคุ้มครองสัตว์ในกรณีการฆ่าสัตว์เพื่อการบริโภคตามพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 โดยการศึกษาแนวคิดทฤษฎีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อการทบทวนและปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสมตามเจตนารมณ์ที่เกี่ยวกับการดูแลสัตว์ให้มีสวัสดิภาพที่ดีขึ้น
ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 เป็นกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองสัตว์ตามแนวคิดเรื่องสวัสดิภาพสัตว์ และยอมรับสิทธิของมนุษย์ในการใช้ประโยชน์จากสัตว์ แต่ต้องใช้รูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมและปฏิบัติต่อสัตว์อย่างมีมนุษยธรรม การฆ่าสัตว์เพื่อการบริโภคถือเป็นการได้ประโยชน์จากสัตว์ แต่ต้องไม่กระทำอย่างทารุณโหดร้ายและต้องปฏิบัติต่อสัตว์อย่างมีมนุษยธรรม มาตรา 21 (2) ได้กำหนดรูปแบบและวิธีการฆ่าสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์ให้เหมาะสมตามหลักสวัสดิภาพสัตว์และเป็นไปในทางเดียวกันกับกฎหมายในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม รูปแบบและวิธีการดังกล่าวใช้เฉพาะในการฆ่าสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์เท่านั้น และไม่นำมาใช้กับการฆ่าสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร ตามมาตรา 21 (1)
ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะว่า เพื่อคุ้มครองสัตว์และจัดสวัสดิภาพของสัตว์อย่างเหมาะสม การฆ่าสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหารตามมาตรา 21(1) ควรมีหลักเกณฑ์และวิธีการเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง เรื่อง การประกอบกิจการฆ่าสัตว์ พ.ศ. 2564 หรือให้ข้อยกเว้นการฆ่าสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหารดังกล่าว ต้องเป็นการฆ่าอย่างมีมนุษยธรรม ไม่เป็นการทารุณโหดร้าย หรือทำให้สัตว์ได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน
References
Animal Legal and Historical Center. Michigan State University. (2024). Animal Welfare Act. Retrieved September, 12 2024, from https://www.animallaw.info/CollegeofLaw
Cruelty Prevention and Welfare of Animal Act, B.E. 2557.
Control of Animal Slaughter for the Distribution of Meat Act, B.E. 2559 (2016).
Animal Welfare Act of 1998.
Atchara Juntasana. (2020). Animal Welfare: Animal Welfare Principles in Thai land. Retrieved March 26, 2024, from https://psub.psu.ac. th/?p=5303.
Council of Europe. (2024). European Conventions for the Protection of Animals On animals for slaughter (ETS No.102). Retrieved April, 3 2024, from https://www.coe.int/en/web/cdcj/protection-of-animals
Global Animal Law GAL Association. (2022). Universal Declaration on Animal Welfare (UDAW) Modern. Retrieved October, 24 2024, from https://www.globalanimallaw.org/matrix/universal/adoption/modern/
King Prajadhipok's Institute. (2019). Issues Regarding the Enforcement of the Prevention of Cruelty and Animal Welfare Act, B.E. 2557 (2014). Bangkok: King Prajadhipok's Institute.
Natthanun Kongthon (Interviewee), Phichaya Maneenava (Interviewer). At the Faculty of Law, Suratthani Rajabhat University, Khun Thale Sub-district, Mueang District, Suratthani Province. Interviewed on April 27, 2024.
Taweekiat Meenakanit. (2010). Explanation of Criminal Law: Offenses and Petty Offenses (6th ed.). Bangkok: Winyuchon.
The World Society for the Protection of Animals. (2016). Universal Declaration on animal Welfare. WSPA, London.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น